ข้าพเจ้านางสาวนุชจิรา ลุ่มนอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ AG 02(2) ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
หลักสูตร : AG02(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
สำหรับกิจกรรมการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้านซึ่งมีจำนวนสมาชิกประมาณ 40 คน ซึ่งกิจกรรมการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย เป็นกิจกรรมที่ท่านผู้นำหมู่บ้านได้ติดต่อกับกลุ่ม U2T ประจำตำบลนาโพธิ์ ว่าต้องการจัดกิจกรรมนี้ เพื่อให้สมาชิกเกษตรกรได้มีอาชีพและรายได้เสริมร่วมกัน ซึ่งทางกลุ่ม U2T ได้มีการจัดอบรมการเพาะเห็ดฟางให้กับกลุ่มเกษตรกรบ้านหนองหว้า ม.11
จากการเขาร่วมกิจกรรมการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยช่่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มเกษตรกรจำนวน 20 คน เข้าร่วมกิจกรรมการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย โดยมีนายปฐมพงศ์ โนนไธสง เกษตรอำเภอนาโพธิ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยในครั้งนี้
ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
1. เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ปลายฟางแช่น้ำข้ามคืนพออ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ นำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะใช้ได้ดี
3. หลังจากแช่ฟางข้ามคืนที่เปียกชุ่มแล้วทิ้งไว้ เตรียมบริเวรที่จะทำการเพาะเห็ดให้เรียบร้อย
4. นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้งสี่ด้านหนาประมาณ 1 นิ้ว
5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กันจากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้านก็เป็นการเสร็จชั้นที่ 1
6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง
7. นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อ ๆ ไป
8. ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกบกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
9. ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนช่องว่างระหว่างกอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น
10. คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อยโดยคลุมเป็นแถว ๆ ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย
11. นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี