หลักสูตร : AG02(02) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กิจกรรมประจำเดือนตุลาคม 2564 : ทีมนาโพธิ์ ประชุมออนไลน์ เพื่อความพร้อมการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SIA/SROI ) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย , ลงพื้นที่ประชาสัมพันท์ให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน , สร้างสรรค์สื่อแหล่งเที่ยวท่องโบราณสถานให้ชุมชน ร้านค้า ร้านอาหาร ส่งเสริมการกระตุ้นรายได้ในชุมชน , กิจกรรมส่งเสริมอาชีพใหม่การเพาะเห็ดฟางในตระกร้าบ้านขมิ้น ฯลฯ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้จัดทำโครงการด้านการเกษตรสมัยใหม่ ด้านการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP การท่องเที่ยวชุมชน การส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ในพื้นที่นาโพธิ์ ซึ่งโครงการต่างๆ อย่างเป็นระบบ สร้างผลกระทบ (Impact) ได้อย่างมีนัยสำคัญ เขียนโดย นายอาทิตย์ กมุลทะรา ผู้ปฏิบัติงาน กพร. คณะเทคโนโลยีการเกษตร |
U2T อีสานตอนล่าง รวบรวมข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุด (กันยายน 2564) ของผู้ปฏิบัติงาน พร้อมอัพเดตข้อมูลการรับวัคซีนของผู้ปฏิบัติงานลงในแบบฟอร์มดังกล่าว shorturl.at/cdkqP ผู้ปฏิบัติงานๆด้มีการออกประชาสัมพันธ์ และรับวัคซีนเป็นตัวอย่างของการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 แก่ประชาชน ในพื้นที่ ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ได้อย่างน้อย 5,000 ล้านคน หรือประมาณ 10,000 ล้านโดส ซึ่งขณะนี้ประชากรทั่วโลกได้รับวัคซีนประมาณ 1,600 ล้านโดส หรือร้อยละ 16 ของประชากรเป้าหมายทั้งหมด ถือว่าเป้าหมายยังอีกยาวไกล อัตราเฉลี่ยการฉีดวัคซีนประเทศไทย ปัจจุบันประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 2.86 ล้านโดส หรือประมาณร้อยละ 2.2 ซึ่งเป้าหมายการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ อยู่ที่ 100 ล้านโดส ดังนั้นประชาชนควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไม่ต่ำกว่า 3 แสนโดส/วัน ภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นได้ประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ใน วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. โดยวาระการประชุมมีดังนี้ 1. งานเก็บข้อมูล SROI http://u2t.bru.ac.th/u2t-news/research-u2t-sroi/ 2. งานเรื่องการลงพื้นที่ ทำผลิตภัณฑ์ ยาหม่องสมุนไพร ในช่วงกลางเดือนตุลาคม 3. แผนพับเส้นทางท่องเที่ยว ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ 4. วิดีโอท่องเที่ยว 5. รวบรวมข้อมูลต่างๆ และ 6. เรื่องอื่นๆ และดำเนินการเก็บข้อมูลแบบสอบถามตามที่ได้รับมอบหมาย การดำเนินการต่อไปตามแผนงานที่ได้รับมอบหมายนั้น ต้องเป็นไปตามสถานการณ์ของโควิด-19 และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของคนภายในชุมชน แผนงานต่อไป คือ การลงพื้นที่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตำบลนาโพธิ์ เพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน และมีแผน เพื่อการพัฒนาสัมมาชีพยกระดับผลผลิตภัณฑ์ OTOP หรืออาชีพอื่นๆ ให้ตําบลมีรายได้เพิ่ม ในช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ผลลัพธ์ทางสังคม ไม่ได้เป็นตัวเลขทางการเงินเสมอไป จึงมีความพยายามในการแปลงผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นหน่วยเงิน หรือคำนวณผลได้นั้นให้เป็นตัวเลขทางการเงิน โดยเทียบกับทรัพยากรที่ใช้ไป ในรูปของผลตอบแทนทางสังคม (Social Return) ต่อหน่วยของเงินลงทุน (Investment) และเป็นที่มาของเครื่องมือ Social Return on Investment (SROI) สำหรับผู้ที่กำลังจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง การประเมินค่า (Evaluation) กับการวัดผล (Measurement) ก่อนเป็นเบื้องต้น การประเมินค่า (Evaluation) เป็นการให้ค่าหรือการกะประมาณค่าของสิ่งที่สนใจ ตามที่ควรจะเป็นด้วยเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ซึ่งต้องอาศัยดุลพินิจ (Judgment) ของผู้ที่ทำการประเมิน นอกเหนือจากข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ใช้ในการประเมิน การวัดผล (Measurement) เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผล ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ โดยปราศจากการใช้ดุลพินิจ ต่อสิ่งที่สนใจ ซึ่งค่าหรือตัวเลขที่ได้จากการวัด มักจะไม่ผันแปร แม้จะเปลี่ยนผู้ที่ทำการวัดผล SROI จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องมือประเมินค่า ที่อาศัยตัวแทนค่า (Proxies) ทางการเงิน เพื่อแปลงผลลัพธ์จากโครงการเพื่อสังคม (ซึ่งเป็น CSR-after-process ในมุมขององค์กรธุรกิจ) ให้เป็นตัวเลข โดยตัวแทนค่าทางการเงินที่เลือกมาคำนวณ จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจผู้ประเมิน ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในการประเมินโครงการเดียวกัน เครื่องมือ SROI ยังใช้ตัวแปรอีก 3 ตัวในการระบุผลกระทบ (Impact) ที่เกิดจากโครงการที่ดำเนินการ ได้แก่ Deadweight (ไม่ทำก็เกิด) , Attribution (เกิดโดยผู้อื่น) , Drop-off (เลือนหายตามเวลา) เพื่อปรับสัดส่วนบนค่าผลลัพธ์ ก่อนที่จะนำไปคำนวณผลตอบแทนทางสังคมในขั้นตอนสุดท้าย ด้วยเหตุนี้ การใช้เครื่องมือ SROI ในการประเมินโครงการเดียวกัน มีความเป็นไปได้ที่จะให้ผลตอบแทนทางสังคมที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเลือกตัวแทนค่าทางการเงิน และค่าของตัวแปรที่ใช้ในการระบุผลกระทบนั่นเอง งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายUpload วิดีโอการลงพื้นที่ภายในชุมชน
|
Upload ภาพการลงพื้นที่ภายในชุมชน |
![]() ![]() |
วิดีโอแสดงกิจกรรมของตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ AG02(2) กิจกรรมส่งเสริมอาชีพใหม่การเพาะเห็ดฟางในตระกร้าบ้านขมิ้น ม.4 ต.นาโพธิ์ |
เขียนโดย นายอาทิตย์ กมุลทะรา