ข้าพเจ้านายจิรวัฒน์  อิ่มบุญสุ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร: AG02 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

หลักสูตร AG 02(02) ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เฝ้าระวัง ติดตาม ข่าวสารเกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ภายในและต่างประเทศ และได้ลงพื้นที่ในการทำกิจกรรมส่งเสริมอาชีพใหม่ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า บ้านขมิ้น หมู่ที่4 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม 2564

เห็ดฟาง (Paddy Straw mushroom) เป็นเห็ดรับประทานได้ชนิดหนึ่ง มีการเพาะปลูกในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย ชื่อเรียกของมันแม้แตกต่างกันไปในหลายประเทศ แต่ก็ยังมีความหมายว่า เห็ดฟาง เหมือนกัน เห็ดฟางมักพบได้ในรูปแบบสด แต่ก็สามารถพบรูปแบบบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย เห็ดฟางเป็นพืชที่เลี้ยงโดยไม่ต้องใช้สารกำจัดแมลง เติบโตได้โดยระบบอินทรีย์ โดยที่มาของเห็ดชนิดนี้ ถูกค้นพบบนกองฟาง,ขอนไม้และกองปุ๋ยคอก เรียกได้ว่าเกิดและเติบโตได้เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว  โดยมักจะงอกได้ดีในพื้นที่ที่มีลักษณะร้อนมากกว่า 40 เซลเซียส มีสปอร์บริเวณรัศมีหมวกเห็ดเป็นเชื้อในการขยายพันธุ์เมื่อเห็ดแก่เต็มที่ อาศัยการแพร่กระจายโดยลอยไปตามลม ตกลงที่ไหนก็เติบโตกลายเป็น ดอกเห็ด ในที่นั้น ดังนั้นเห็ดฟางจึงสามารถให้ผลผลิตได้ทุกพื้นที่และทุกฤดู

เห็ดฟาง

ตลาดการส่งออก ในต่างประเทศที่ถือเป็นตลาดหลักของเห็ดชนิดนี้คือประเทศในโซนยุโรป ทำให้เกิดโอกาสแก่เกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ทำการเกษตรแนวใหม่ หันมาสนใจการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง โดยผลิตออกมาเป็นเห็ดฟางสด-แห้ง และเป็นเห็ดฟางบรรจุกระป๋อง เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ และยังสามารถขายส่งเห็ดให้แก่พ่อค้าคนกลาง และยังขายเชื้อเห็ดได้อีกต่างหาก

หัวใจของการทำธุรกิจเพาะเห็ดฟาง คืออุณหภูมิของพื้นที่ปลูกเพาะซึ่งควรจะปลูกในช่วงอุณหภูมิ 35 องศา ในภาคเหนือหรืออีสาน อาจจะปลูกไม่ได้ผลดีนักในช่วงหน้าหนาว ส่วนภาคใต้ของไทยเรานั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี นอกจากเรื่องสภาพอากาศแล้วยังมีเรื่องของความชื้น เพราะความชื้นจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของดอกเห็ด มากไปดอกจะฝ่อและตาย น้อยไปก็จะไม่เจริญเติบโต ดังนั้นเรื่องของการให้น้ำจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และสุดท้ายเลยคือเรื่องของแสงนะครับ ต้องใช้แสงรำไรจึงจะดีนะครับ เพื่อให้ดอกเห็ดมีสีขาวสวยนั่นเอง

จากการลงพื้นที่ในการทำกิจกรรมส่งเสริมอาชีพใหม่ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า บ้านขมิ้น หมู่ที่4 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

โดยมีนายปฐมพงษ์ โนนไธสง เกษตรอำเภอนาโพธิ์เป็นวิทยากรให้ความรู้การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติก

1.หัวเชื้อเห็ด

2.วัสดุเพาะเห็ดฟาง ได้แก่ ตะกร้า ฟางแช่น้ำ

3.อาหารเสริม เช่น  มูลวัว/ควายแห้ง รำ  เป็นต้น

4.อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้า พลาสติก บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง

วิธีการ เพาะ เห็ดฟาง

  1. ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน
  2. หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า
  3. ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ
  4. อาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า
  5. โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1
  6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1
  7. ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง

การดูแลรักษาสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า

  • สถานที่ควรเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท
  • ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว
  • รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน
  • คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือแสลน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน
  • ครบ 3 คืน เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วันเก็บผลผลิตได้
  • ผลผลิต 1 ตะกร้า 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอาหารเสริม ยิ่งใส่มาก ผลผลิตยิ่งสูงตาม
  • อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายๆอย่างก็ได้

ที่มา: sites.google.com/site/hedchoothai/-hed/-hed-kin-di-edible-mushrooms/-hed-fang-straw-mushroom

blog.arda.or.th/เห็ดฟาง/

อื่นๆ

เมนู