Course : AG02(02) Farmer Potential Development Project in the 4.0 Era and Upgrading OTOP Product Standards Project to upgrade the economy and society by integrated sub-district university to sub-district to create a glass root for the country Buriram Rajabhat University Activities for November 2021

On October 26, 2021, Na Pho sub-district workers In the project to enhance the economy and society by integrated sub-district (1 sub-district, 1 university), Buriram Rajabhat University
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การลงทองผ้าไหม คือ การเพิ่มมูลค่าผ้าไหมมัดหมี่ธรรมดาทำให้ลายมีความโดดเด่น ซึ่งใช้ทองคำเปลวบดละเอียดผสมกาวยางพาราเคมีแบบดี ซึ่งราคาทองอยู่ที่กิโลละ1,000บาท และการลงทองแต่ละครั้งนั้น ใช้เวลา 1 ผืน ต่อ 1 วัน ราคาผืนละ 700 บาท
ผ้ามัดหมี่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
– มัดหมี่ตีนแดง หรือชาวบ้านเรียกว่า ซิ่นตีนแดง หรือ ซิ่นหมี่รวด เป็นผ้าเอกลักษณ์ท้องถิ่นของชาวนาโพธิ์ พุทไธสง (อำเภอนาโพธิ์เดิมขึ้นกับอำเภอพุทไธสง) ไม่มีในท้องถิ่นอื่น หัวซิ่นและตีนซิ่นจะย้อมเป็นสีแดง ตรงกลางเป็นพื้นดำ มัดหมี่เล่นสีเหลือง แดง ขาว มีเขียวปนบ้าง ลายที่ทอส่วนใหญ่เป็นลายเก่าดั้งเดิม การทำซิ่นตีนแดงมีความยุ่งยากกว่ามัดหมี่ชนิดอื่นจึงไม่ค่อยนิยมทำกันและเกือบจะสูญหายไป แต่ได้มีการนำซิ่นชนิดนี้ไปแสดงในงานนิทรรศการสมบัติอีสานใต้ ครั้งที่ 2 และทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ใช้ซิ่นชนิดนี้สำหรับนักแสดงนาฏศิลป์ตั้งแต่นั้นมา และมีการร่วมรณรงค์ให้หันมาผลิตและใช้แต่งกายในงานประเพณีสำคัญ เช่น บุญบั้งไฟ และลอยกระทง อีกครั้ง จึงทำให้ซิ่นตีนแดงกลับมาเป็นที่นิยมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนนาโพธิ์อย่างงดงาม
– มัดหมี่คั่นข้อ ชาวบ้านเรียก ซิ่นคั่น เป็นการทอมัดหมี่ลายเล็ก ๆ สลับกับไหมสี หรือ ไหมควบ นิยมทำลายนกน้อย นาคน้อย กีบบักบก ลายโคมต่าง ๆ นิยมใช้ในหมู่ผู้หญิงสูงอายุ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 215-218)
ลายและต้นแบบต่าง ๆ ของมัดหมี่มีดังนี้
ลายบักจับ (กระจับ) ต้นแบบมาจากฝักของกระจับที่ขึ้นในน้ำ
ลายโคมห้า ลายโคมเจ็ด ลายโคมเก้า ลายโคมสิบเอ็ด ลายโคมสิบสาม ลายโคมสิบเก้า ลายโคมต่าง ๆ เหล่านี้ ต้นแบบมาจากโคมที่ชาวอีสานนิยมปล่อย หรือจุดเวลาออกพรรษา เช่น มัดหมี่ห้าลำ เรียกว่า มัดหมี่เจ็ดลำ เรียกว่า โคมเจ็ด เป็นการเรียกตามมัดหมี่ที่มัด
นอกจากนี้ยังมีลายดอกแก้วหรือลายหน้าเสือ มีต้นแบบมาจากต้นดอกแก้วหรือส่วนหน้าของเสือ ลายแมงสีเสียด เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยในน้ำ ตัวเล็ก มีปีก ชาวบ้านนิยมจับไปทำอาหาร ลายขอก่องข้าว ต้นแบบมาจากขอที่ใช้แขวนก่องข้าวในสมัยโบราณ ด้านบนใช้เชือกผูกแขวนไว้กับหลังคาห้องครัว ด้านล่างใช้แขวนก่องข้าว
ลายแมงมุม ลายกอตะไคร้ ลายขาเปีย ต้นแบบมาจากขาเปียซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกรอฝ้ายออกจากไนที่ใช้ในสมัยโบราณ
ลายงูเหลือม ลายขอแคม้า ต้นแบบมาจากแคม้า แคม้า เป็นคำภาษาถิ่นอีสาน ใช้เรียก บังเหียนม้า ลายกีบบักบก ต้นแบบมาจากเมล็ดต้นจบกเวลาผ่าซีก
ลายเอี้ยเยี่ยวควายหรือลายง่องแง่งเยี่ยวควาย ต้นแบบมีที่มาจากรอยควายตัวผู้เดินเยี่ยว เป็นลายทางขวางนิยมทอเป็นหมี่ซิ่นคั่นข้อ โดยใช้ลายกีบบักบกประกอบ
ลายนาคเกี้ยว ต้นแบบมาจากบันไดโบสถ์หรือบันได้วัดในสมัยโบราณ ซึ่งมักประดิษฐ์เป็นรูปตัวนาค โดยหางนาคจะทอดลงมาจากตัวโบสถ์ หัวนาคจะอยู่บันไดขั้นสุดท้ายของวัดหรือโบสถ์ เป็นต้น
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การตีเหล็ก ศูนย์หัตถกรรมเรียนรู้การตีเหล็ก ตำบลนาโพธิ์
ประโยชน์ของการตีเหล็ก
1. เพื่อทำเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการทำไร่ ทำสวน
2. เพื่อทำการซ่อมเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการทำไร่ทำสวน เมื่อชำรุด เสียหาย
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตีเหล็ก
1. เหล็ก 2. ที่เป่าลม 3. คีมจับเหล็ก 4. ค้อนตีเหล็ก 5. ที่เจียเหล็ก 6. ฐานตีเหล็ก 7. อ่างใส่น้ำ 8. มีดสำหรับผ่าเหล็ก 9. ถ่าน
วิธีการตีเหล็ก
1. ติดไฟให้ร้อนโดยการดึงเครื่องเป่าลม
2. นำเหล็กเผาไฟให้ร้อนจนแดง เพื่อให้เหล็กอ่อนตัว
3. ถ้าเหล็กใหญ่มากก็ผ่าให้มีขนาดตามต้องการ
4. นำไปเผาไฟอีกครั้งจนเหล็กแดง
5. นำเหล็กที่เผาจนแดงได้ที่มาตีเป็นเครื่องมือต่างๆ
6. เมื่อได้เป็นเครื่องมือแล้วเอามีดขัดให้บาง
7. Bring it to the fire to make it red again, moistened with water to increase its sharpness.
(In blacksmithing, there must be at least 3 assistants , but if it is the main job or important tasks Li will do it herself, for example. water plating process, forging steel)

![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |