ข้าพเจ้านางสาวมุกดามาศ มุติโคตร์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ AG02(2) ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : AG02(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในวันอังคารที่ 26 เดือนตุลาคม พ.ศ 2564 ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการอบรมวิธีการทำลูกประคบเพื่อนำความรู้ไปนำเสนอประยุกต์ และพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ณ โอฬารนวดไทย โดยมี อาจารย์โอฬาร ชูเกียรติสกุล เป็นวิทยากร
การประคบสมุนไพร
การประคบสมุนไพรเป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนไทยอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กับการนวดไทย โดยมากมักใช้วิธีการประคบสมุนไพรหลังจากทำการนวดเสร็จเรียบร้อย ผลของการรักษาด้วยการประคบสมุนไพรเกิดจากผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ และผลจากการที่ตัวยาสมุนไพรซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย
ผลของความร้อนจากการประคบที่มีต่อการรักษานั้น มีดังต่อไปนี้ คือ
- ช่วยทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก
- ลดการติดขัดของข้อต่อ
- ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- ลดปวด
- ช่วยลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อหลัง 24-48 ชั่วโมง
- ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
ผลของสมุนไพร สมุนไพรที่ใช้ในตำรับยาลูกประคบอาจแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วๆ ไปตัวยาหลักหรือตัวยาสำคัญจะคล้ายๆ กัน ตัวยาสมุนไพรที่ใช้ส่วนใหญ่มีตัวยาที่มีสรรพคุณในการแก้เคล็ดขัดยอกฟกช้ำ ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ซึ่งเมื่อผสานกับความร้อนจากลูกประคบแล้วก็เท่ากับเป็นการเสริมฤทธิ์ในการรักษาซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม สมุนไพรที่ใช้ตามตำรับนี้ควรเป็นยาสด เพราะจะมีสรรพคุณได้ดีกว่ายาแห้ง สมุนไพรเช่น หัวไพร ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหยเป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ ถ้าเป็นยาแห้งน้ำมันหอมระเหยจะระเหยออกไปมากแล้ว จะมีผลในการรักษาได้น้อย
ลูกประคบ คือสิ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ที่ใช้พืชสมุนไพรมีอยู่ในท้องถิ่นนำมาใช้ในการรักษาหรือเพื่อช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ต่อมาก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาลูกประคบเรื่อยมา เพื่อประโยชน์ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การทำลูกประคบสมุนไพร
- เตรียมสมุนไพรที่มีสรรพคุณลดอาการฟกช้ำหรือลดอาการปวด และสมุนไพรที่มีกลิ่นเพื่อตกแต่งกลิ่นที่มีในท้องถิ่น 7-8 ชนิด
- น้ำสมุนไพรทั้งหมดมาตวงตามขนาดที่พอเหมาะ เติมดอกเกลือ และการบูร
- เทส่วนผสมลงในผ้าดิบขาว จากนั้นจับผ้าให้มีลักษณะกลมและทุบด้วสากหรือไม้ให้มีกลิ่นสมุนไพรออก
วิธีห่อลูกประคบสมุนไพร
- นำผ้าที่ห่อสมุนไพรและได้ทำการทุบแล้วมามัดเชือกให้แน่น
- เริ่มต้นจับชายผ้าขึ้นมาทบกัน โดยให้ด้านใหญ่เป็นหลัก
- รวบมุมผ้าเข้าหาฝั่งด้านใหญ่ที่สุด จับแต่งให้สวยงามและพับลงประมาณ 1-2 ทบ ให้มีระดับความสูงประมาณ 1 กำมือ
- นำเชือกที่เหลือมัดให้แน่นและตกแต่งให้เรียบร้อย
ตัวอย่างการทำลูกประคบสมุนไพร ตำรับโอฬารนวดไทย : https://fb.watch/90M3kw6Lc-/
วิดีโอเผยแพร่บทความ
AG02(2) ความเป็นมาผ้าไหมร้านกนกศิลป์ไหมไทย ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ – YouTube