ข้าพเจ้านางสาวนิภาวรรณ ตรีเหรา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ AG 02(2) ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
หลักสูตร: AG02-(2)โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพระเจ้า ทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ปฏิบัติกิจกรรมฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการทำลูกประคบสมุนไพรและวิธีการนวดลูกประคบสมุนไพร ณ โอฬารนวดไทย สาขาวัดเขาป่าน้อย อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
การนวดไทยเป็นศาสตร์และศิลป์แห่งภูมิปัญญาไทยกับการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นมรดกไทยและมรดกโลก อัตลักษณ์การนวดไทยในรูปแบบธรรมชาติเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพ คือ การนวดปรับสมดุลร่างกาย
ประโยชน์ลูกประคบสมุนไพร
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ถ้าเสียสมดุลจะทำให้ป่วย การนวดเป็นการปรับสมดุลร่างกายโดยวิถีธรรมชาติ การนวดคือการสัมผัสอย่างเป็นกระบวนการ กระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของเลือด ลม น้ำเหลืองผลจากการนวดทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดและลมแรงกดทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นคลายตัวกระตุ้นเซลล์ผิวหนังขับของเสีย เพื่อปรับสมดุลร่างกายให้สมบูรณ์
การทำลูกประคบสมุนไพร
- ส่วนประกอบ
- ไพร
- ขมิ้น
- ตะไคร้หอม
- ผิวมะกรูด
- ใบกัญชา
- ลำต้นกัญชา
- การบูร
- เกลือ
- อุปกรณ์
- ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ
- เชือก หรือด้ายดิบ
- สาก เขียง
- วิธีการทำลูกประคบ
- นำส่วนประกอบรวมกันทั้งหมดประมาณ 1 ถ้วยตวงเทลงในผ้าดิบ
- นำอุปกรณ์จากข้อ 1 มาทุบพอหยาบ ๆ
- มัดด้วยเชือกให้แน่น แล้วทำการพันผ้าตรงหัวลูกประคบให้พอดีกับมือจับ
การนวดลูกประคบสมุนไพร
ลูกประคบจุ่มน้ำ นำไปนึ่ง จากนั้นปล่อยให้อุ่นพอเหมาะ นำมาประคบหรือกดตามที่ต้องการให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างเบา ๆ กดทาบแล้วคลึง หลังจากการใช้งานลูกประคบปล่อยให้ลูกประคบเย็นและแห้งเองตามธรรมชาติ จากนั้นนำใส่ในถุงพลาสติก นำไปแช่เย็น ใช้ได้ 4-10 ครั้ง
ข้อห้าม
- กรณีมีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส หรือโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
- บริเวณที่มีกระดูกแตกหัก ปริ ร้าวที่ยังไม่ติดดี
- โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ที่ยังควบคุมอาการให้เป็นปกติไม่ได้ ความดันโลหิตสูงที่มีค่า systolic pressure (บนตัว) สูงกว่าหรือเท่ากับ 160 mmHg และ diastolic pressure (ด้านล่าง) สูงกว่าหรือเท่ากับ 100 mmHg ที่มีอาการหน้ามืดใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- บริเวณที่เป็นแผลเปิด หรือแผลเรื้อรัง หรือบริเวณที่มีรอยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้
- โรคติดต่อในระยะที่มีการแพร่เชื้อ
- บริเวณที่มีการบาดเจ็บภายใน 48 ชั่วโมง
- บริเวณที่เป็นมะเร็ง
- บริเวณที่ผ่าตัดภายในระยะเวลา 1 เดือน
- บริเวณหลอดเลือดดำอักเสบ (Deep Vein Thrombosis (DVT))
- กระดูกพรุนรุนแรง
ข้อควรระวัง
- ผู้หญิงมีครรภ์
- ผู้สูงอายุและเด็ก
- กรณีโรคหลอดเลือด เช่น หลอกเลือดโป่ง หลอดเลือดดำอักเสบ หลอดเลือดแข็งตัว เป็นต้น
- ความดันโลหิตสูง ที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 160/100 mmHg ที่ไม่มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- เบาหวาน
- กระดูกพรุน
- มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด หรืออยู่ระหว่างการได้รับยาละลายลิ่มเลือด
- บริเวณที่มีการผ่าตัด ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม
- บริเวณแผลที่ยังไม่หายดี
- ผิวที่แตกง่าย
- บริเวณที่ปลูกถ่ายผิวหนัง