ข้าพเจ้านายจิรวัฒน์ อิ่มบุญสุ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร: AG02 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
หลักสูตร AG 02(02) ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เฝ้าระวังและติดตามเกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำเดือนกรกฎาคม2564
โควิด-19 (12กรกฎาคม64)
นับตั้งแต่มีการระบาดระลอก 3 ในประเทศไทย(1 เมษายน – 12 กรกฎาคม 64) มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมมากกว่า 3แสนคน และเสียชีวิตสะสมมากกว่า 2,700คน
ในขณะที่มียอดการฉีดวัคซีนจำนวน 12,569,213โดส มีผู้ได้รับวัคซีนครบแล้ว 3,276,806คน หรือคิดเป็น 4.9% จากประชากรทั้งหมด ซึ่งการที่จะทำให้ทั่วโลกหรือประเทศไทยรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ได้คือการมีภูมิคุ้มกันหมู่ซึ่งหมายถึงทั่วโลกจะต้องได้รับวัคซีน60-70% หรือจำนวนประชากรในประเทศไทยจ้องได้รับวัคซีนราว ๆ 50 ล้านคนอธิบายได้ว่าการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชากรทั่วโลกราว 7,000 ล้านคน ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ได้อย่างน้อย 5,000 ล้านคน หรือประมาณ 10,000 ล้านโดส ในขณะที่ประเทศไทยเป้าหมายการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ อยู่ที่ 100 ล้านโดส ดังนั้นประชาชนควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไม่ต่ำกว่า 3 แสนโดส/วัน ภายในสิ้นปีนี้ จะทันหรือไม่ เพราะในตอนนี้ประเทศไทยยังขาดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพจำนวนมากที่จะฉีดให้กับประชากรในประเทศ
อย่างไรก็ตามจากปัจจุบัน(12 ก.ค.)ที่มีมาตรการล็อคดาวน์ 10 จังหวัด (กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา) เป็นเวลา 14วัน ซึ่งอาจจะช่วยแค่ชะลอผู้ติดเชื้อได้บ้าง ในส่วนของสภาพจิตใจของประชาชนต้องยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาว่ามีความวิตกกังวลกันเป็นอย่างมาก กลับกลายเป็นว่าภูมิคุ้มกันหมู่ที่เราพยายามจะทำให้มันเกิดขึ้นนั้นแต่ด้วยในความล้าช้าหรือความบกพร่องของการบริหารจัดการอะไรก็แล้วแต่ ตอนนี้มันกำลังส่งผลสะท้อนของด้านลบให้กับจิตใจประชาชนอย่างชัดเจน
อาการของคนที่ติดเชื้อโควิด-19
ที่มา: https://chulalongkornhospital.go.th/
https://www.moicovid.com/
https://www.who.int/
Our World in Data