จุดประกายคนรุ่นใหม่ ส่งต่อความสำเร็จสู่ชุมชน
กิจกรรมประจำเดือนธันวาคม 2564 : โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP
โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ได้แก่
- บันทึกข้อมูล CBD โดยเป้าหมายการบันทึกรายตำบล วิเคราะห์ข้อมูล CBD และ Area Business Citizen Centric Model (ABC Model)
- กิจกรรมการผลิตลูกประคบสมุนไพร น้ำมันไพร ยาดมสมุนไพร และการใช้สมุนไพรไทย ตามตำรับสมุนไพรแพทย์แผนไทย
- เข้าอบรมความรู้เรื่อง ความสำคัญของการใช้สมุนไพรไทยภูมิปัญญาไทยกับการดูแลสุขภาพ แนวทางการผลิตสินค้าจากผลิตภัณฑ์สมุนไพร การนวดแผนไทย และการทำลูกประคบจากสมุนไพรไทย ณ แหล่งการเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์แห่งภูมิปัญญาไทยกับการดูแลสุขภาพ
![]() |
พัฒนาอาชีพ และสร้างอาชีพใหม่ ในตำบลนาโพธิ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านสินค้าประจำตำบล (OTOP) หรือในด้านการท่องเที่ยวก็ได้รับการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ ยังได้นำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้กับประชาชนในชุมชนตำบลนาโพธิ์ เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน และที่สำคัญเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัยและระหว่างสังคม ให้เกิดการร่วมมือกัน เพื่อพัฒนาชุมชนของตนเองอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างรากแก้วที่สำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
![]()
|
โดยมีการสร้างแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีรูปแบบทันสมัยเหมาะกับสังคมยุคใหม่ เป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำอีกด้วย และนอกจากการดำเนินการแบบรูปธรรมในแต่ละชุมชน
![]()
|
หลักการพื้นฐาน
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local yet Global) ผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
2. พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self – Reliance – Creativity) สร้างกิจกรรมที่อาศัยศักยภาพของท้องถิ่น คิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนไม่ซ้ำแบบกันและเป็นที่ยอมรับทั่วไป
3. การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) สร้างบุคลากรที่มีความคิดกว้างไกลมีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการผลิตและบริการมีจิตวิญญาณแห่งการสร้างสรรค์
กิจกรรมหลักที่สำคัญ
1. ขยายสินค้าท้องถิ่นไปยังตลาด โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพเพื่อขยายออกสู่ตลาดทุกระดับ
2. ผลิตและคิดค้นขึ้นเองโดยคนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นผู้ให้การสนับสนุน ในด้านความรู้ เทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นและการวิจัยที่ครบวงจร
3. สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของท้องถิ่น มีความรู้ความสามารถความคิดกว้างไกล มีการบริหารจัดการที่ดี มุ่งเน้นการผลิตและบริการโดยคำนึกถึงผู้บริโภคเป็นหลัก
![]()
|
![]()
|
แหล่งท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์
ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
“เหนือสุดบุรีรัมย์ วัฒนธรรมล้ำค่า
ตระการตาบุญบั้งไฟ ผ้าไหมสวยนาโพธิ์”
THE BEST CHOICE OF YOU
![]() ![]() |
วิดีโอแสดงกิจกรรมประจำเดือนธันวาคม ของตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ AG02(2)