ข้าพเจ้านายจิรวัฒน์ อิ่มบุญสุ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร: AG02 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
หลักสูตร AG 02(02) ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เฝ้าระวัง ติดตาม ข่าวสารเกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ภายในและต่างประเทศ และได้ลงพื้นที่ในการทำกิจกรรมส่งเสริมอาชีพใน ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนธันวาคม 2564 จากการลงพื้นที่ทำน้ำมันนวดสมุนไพร ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านผักหวาน ตำบลถนนหัก อำเภอนารอง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับสมาชิกและการควบคุมดูแลจากอาจารย์ประจำตำบล โดยการอบรมการทำน้ำมันนวดทั้งหมด 3 สูตร ได้แก่ น้ำมันนวดไพล น้ำมันนวดเสลดพังพอนและยาดมสมุนไพร
เสลดพังพอน เป็นชื่อพ้องของพรรณไม้ 2 ชนิด คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย ซึ่งจะแตกต่างกันตรงที่เสลดพังพอนตัวผู้ลำต้นจะมีหนามและมีดอกเป็นสีเหลือง ส่วนเสลดพังพอนตัวเมียลำต้นจะไม่มีหนามและมีดอกเป็นสีแดงส้ม เพื่อไม่ให้เป็นการสับสนหลาย ๆ ตำราจึงนิยมเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า “พญายอ” หรือ “พญาปล้องทอง” โดยเสลดพังพอนตัวผู้นั้นจะมีสรรพคุณทางยาอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย และตำรายาไทยนิยมนำมาใช้ทำยากันมาก
ประโยชน์ของเสลดพังพอนตัวเมีย
- ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาใช้บริโภคได้ โดยนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงแค
- ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมได้มีการผลิตครีมจากสมุนไพรชนิดนี้สำหรับรักษาและบรรเทาโรคเริมและงูสวัดใช้กันแล้ว โดยแบบครีมจะมีสารสกัดอยู่ร้อยละ 4-5 แบบโลชั่นจะมีสารสกัดอยู่ร้อยละ 1.25 ส่วนแบบสารละลายสำหรับป้ายปากจะมีสารสกัดเสลดพังพอนตัวเมียในกลีเซอรีน ร้อยละ 2.5-4
สรรพคุณน้ำมันเสลดพังพอน
บรรเทาปวด ทั้งต้นของเสลดพังพอนตัวเมียและตัวผู้ใช้เป็นยาสมุนไพรบรรเทาอาการปวดบวม แก้ฟกช้ำจากการถูกกระแทก แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอกตามร่างกาย
ไพล พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ปลูกกันมากในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว ลักษณะไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่ง หรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก
ประโยชน์ของไพล
- ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น ด้วยการใช้เหง้าสด 1 แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด)
- ประโยชน์ไพลช่วยไล่แมลง ฆ่าแมลง (เหง้า)
- ช่วยกันยุงและไล่ยุง น้ำมันจากหัวไพลผสมกับแอลกอฮอล์นำมาใช้ทาผิวสามารถช่วยกันยุงและไล่ยุงได้ (หัวไพล)
- สามารถนำมาทำเป็น ครีมไพล, น้ำมันไพล, ไพลผง, ไพลขัดผิว, ไพลทาหน้าได้
สรรพคุณน้ำมันไพล
1. แก้แผลช้ำ ให้ทาน้ำมันเพียงบางๆ วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น (ก่อนทาน้ำมันควรทำความสะอาดแผลทุกครั้ง)
2. แก้เคล็ด – บวมช้ำ ทาน้ำมันให้ทั่วบริเวณที่มีอาการ ใช้ฝ่ามือนวดเบาๆ ควรทาน้ำมันสัก 3 – 4 ครั้งต่อวัน
3. แก้ข้อบวมและเหน็บชา ควรทาน้ำมันให้โชก แล้วใช้ขวดใส่น้ำร้อนห่อด้วยผ้า ประคบบริเวณที่มีอาการวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น หรือเวลาที่มีอาการปวดชา
https://medthai.com/เสลดพังพอนตัวเมีย/
https://medthai.com/ไพล/
https://xn--12cgi8d9atj3mva5fc.com/index.php?route=product/product&product_id=537