ดิฉันนางสาวพัชรากร อุ่นสอน ประเภทนักศึกษา AG02-2 ปฏิบัติงานใน ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ กำลังศึกษาอยู่คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม

บทความในเดือนนี้ดิฉันได้ศึกษาวิธีการต้มน้ำเหล็กการตีเหล็กกว่าจะได้มาแต่ละเล่มทีความยากแค่ไหนสามรถอ่านบทความที่อ้างอิงได้เลยค่ะ

ในขั้นตอนการตีมีดนี้พอจะแบ่งขั้นตอนออกได้ดังนี้
1. การเตรียมเหล็ก
2. การขึ้นบ้อง
3. การตีแผ่ตัวมีด
4. การลับ
5. การชุบ
6. การตกแต่ง
การเตรียมเหล็ก
เหล็กที่จะเอามาตีเป็นมีดนั้นมีหลายชนิด คิอ เหล็กสำเร็จรูปจากโรงงานซึ่งจะเป็นเหล็กเป็นมัดๆ ทางโรงงานตีมีดจะเรียก เหล็กมัด ซึ่งเหล็กชนิดนี้ไม่ต้องเตรียมอะไรเลยเพียงแต่นำเหล็กแต่ละชิ้นมาใช้ได้เลยตามขนาดของมีดที่จะตีเริ่มจากเบอร์ ซึ่งเป็นมีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ถัดมาเป็นเบอร์ เบอร์ เบอร์ เบอร์ และเบอร์ ซึ่งเป็นขนาดเล็กที่สุด
ส่วนเหล็กแหนบคนงานก็จะตัดออกเป็นท่อนๆตามขนาดของมีดที่จะตีเช่นเดียวกัน ปกติเหล็กแหนบ1แผ่นจะผ่าออกเป็น 2ชิ้นหรือเล่ม แต่ถ้าแผ่นใหญ่มากๆก็จะได้มีดถึง 4 – 5 เล่ม
ส่วนเหล็กประเภทอื่น เช่น จานรถไถนา คนงานก็จะตัดออกเป็นชิ้นๆตามต้องการ เหล็กท่อนกลมซึ่งจะตัดใช้ทำบ้องก็จะตัดตามขนาดเช่นเดียวกัน เหล็กแผ่นก็เช่นเดียวกัน คนงานก็จะตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆเป็นรูปสามเหลี่ยมเหล็กบางครั้งอาจจะมีส่วนเกินในการใช้งานจึงจำเป็นต้องตัดออกในขณะที่ขึ้นบ้องและขึ้นรูปตัวมีดนั้นคนงานจะใช้เหล็กผ่าตัดแต่ถ้าเป็นการเตรียมเหล็กตัดเป็นท่อนๆนั้นจะใช้เครื่องตัดเหล็กอัตโนมัติ
การขึ้นบ้อง
ปัจจุบันการขึ้นบ้องจะใช้วิธีการสองแบบคือ
1. ใช้เหล็กแผ่นเดียวทั้งขึ้นบ้องและตีแผ่เป็นตัวมีด
2. ใช้เหล็ก ชิ้นดังได้กล่าวมาแล้วมาเชื่อมต่อกันแล้วตีขึ้นบ้องอีกด้าน
1. ใช้เหล็กแผ่นเดียว
เป็นการขึ้นบ้องแบบสมัยก่อน คือเมื่อคนงานตัดเหล็กเป็นท่อนได้ขนาดตามต้องการก็จะตีด้านใดด้านหนึ่งขึ้นบ้องเลย การตีแผ่และขึ้นบ้องนี้จะใช้เวลาเผาเหล็กราว 4 – 5 ครั้ง
2.ใช้เหล็ก ชิ้น
รูปแบบที่สองจะต่างกับรูปแบบที่สองโดยคนงานจะไม่ใช้เหล็กสำเร็จรูปหรือเหล็กแหนบแต่จะใช้เหล็กกลม เหล็กกลมนี้เป็นท่อเหล็กกลวงเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/2,1นิ้ว ต้ดออกขนาดยาว 10 เซ็นติเมตร คนงานจะเชื่อมเข้าด้วยกัน การขึ้นบ้องวิธีนี้จะสะดวกรวดเร็ว ประหยัดแรงงานและถ่าน แต่วิธีนี้ความทนทานจะน้อยกว่าวิธีแรกเพราะบ้องจะหัก บิ่นง่าย
เมื่อตัดเหล็กเสร็จก็จะส่งส่วนที่ตัดนั้นไปยังคนงานที่ตีเพื่อขึ้นบ้อง โดยจะรีดบ้องออกให้แผ่ขยายออกประมาณ 2.5 ถึง นิ้วเมื่อรีดเ้ป็นแผ่นแล้วก็จะใช้ค้อนและโดะเพื่อให้บ้องนั้นกลม คนงานจะขึ้นบ้องให้ได้หลายๆบ้องเป็น 40 – 50 บ้องจึงจะตีขึ้นรูปมีด
การตีเป็นตัวมีดหรือขึ้นรูป
เมื่อขึ้นบ้องเสร็จแล้วคนงานก็จะนำไปตีเป็นตัวมีดหรือขึ้นรูปต่อไป การตีเป็นตัวมีดนายช่างคนแรกจะเป็นส่วนสำคัญในการตีเพราะสามารถวินิจฉัยว่าจะตีแผ่ออกไปกว้างขนาดไหน ตรงไหนควรตัดออก ตรงควรให้หนา หรือบาง ลูกน้องจะตีตามที่นายช่างตี อุปกรณ์ที่ใช้ตีขึ้นรูปจะใช้ทั้งค้อนเล็ก ค้อนใหญ่ เหล็กผ่า โดะ ตะหมัง ที่โค้งหัวมีดหรือส่วนที่เกี่ยวข้อง เมื่อตีได้ตามต้องการแล้วก็จะส่งให้ฝ่ายลับต่อไป
การลับ
การลับเป็นขั้นตอนต่อไป การลับในสมัยก่อนจะใช้ตะไบจากต่างประเทศ เช่นจากประเทศอังกฤษ เยอรมันนี เท่าที่ผู้เขียนจำได้จะมียี่ห้อ นิโคลสัน ตราตา ตราตะไบไขว้ เป็นต้น ยี่ห้อที่กล่าวมานี้ใช้งานคงทน ใช้ได้นาน คม
เมื่อหมดอายุการใช้งานหรือลับได้ไม่ค่อยคมแล้วสามารถนำมาตีเป็นมีดต่อไปได้อีก การใช้ตะไบลับปัจจุบันเลิกใช้แล้วเพราะกว่าจะได้สักเล่มต้องใช้เวลาหลายนาที ค่าแรงก็แพง
ปัจจุบันใช้เครื่องลับที่เป็นเครื่องยนต์ เครื่องลับมีแบบ คือแบบเคลื่อนที่ใช้มือจับ โดยจะใช้เครื่องจับซึ่งเรียกว่า กรามช้าง” จับไว้กับที่แล้วใช้เครื่องลับลับไปมา อีกแบบหนึ่งเป็นแบบถาวรติดตั้งอยู่กับที่ แบบนี้ผู้ลับจะถือมีดเคลื่อนไหวลับไปลับมา
ทั้ง แบบสรุปได้ว่าต่างกันคือแบบเคลื่อนที่ มีดจะอยู่กับที่ ส่วนอีกแบบตัวมีดจะเคลื่อนไหวไปมา
การชุบ
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการตีมีดก็คือการชุบ การชุบคือการทำให้คมมีดแข็งแกร่ง คมกริบ ไม่บิ่น หัก งอ เวลาใช้งาน การชุบคือการเผาคมมีดให้แดงแล้วเอาไปจุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว จุ่ม 2 – 3 ครั้งแล้วเอาผึ่งลมไว้เพื่อให้สะเด็ดน้ำ เพราะถ้าไม่สะเด็ดน้ำก็จะทำให้เกิดอ๊อกไวด์(สนิม)ได้
คนงานที่มีหน้าที่ในการชุบให้ได้มาตรฐานแต่ละโรงงานนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ชำนาญในการชุบ มีเพียง คนหรือ คนเท่านั้น การชุบจะต้องใช้ความชำนาญ การสังเกตว่าอุณหภูมิได้ที่หรือยังเพราะถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป (80-100 องศาเซลเซียส)เหล็กก็จะละลาย เวลาชุบคมมีดจะบิ่น หักงอ แม้ว่าแต่ละโรงงานจะมีผู้ที่ชำนาญในการชุบเก่งเพียงใดก็ตามก็ยังปรากฏว่ามีดที่ชุบก็ยังบิ่น หักงอบ่อยๆ น้ำทั่ใช้ชุบจะต้องเป็นน้ำเย็นปกติเสมอ การใช้น้ำครั้งเดียวชุบหลายๆครั้งคมมีดจะไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร เวลาชุบจึงต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ
การตกแต่ง
มีดที่ชุบและตากให้สะเด็ดน้ำแล้วถือว่าจบกระบวนการตีมีด แต่เนื่องจากโรงงานต้องส่งออกไปจำหน่ายยังท้องตลาดซึ่งมีการแข่งขันสูง ดังนั้นจึงต้องตกแต่งผลิดภัณฑ์ให้สวยงามเป็นที่สนใจของลูกค้า 

อื่นๆ

เมนู