—————————————————————————————————————————————————————————————–

นายจิรวัฒน์ อิ่มบุญสุ ประเภทนักศึกษาจบใหม่ หลักสูตร AG02 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวอยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เฝ้าระวังและติดตามเกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำเดือนสิงหาคม 2564

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจังหวัดบุรีรัมย์ (13 สิงหาคม 64)

มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ เพิ่ม 387 ราย จำแนกเป็น

-พบในจังหวัด 31 ราย
-ติดเชื้อมาจากนอกพื้นที่ 356 ราย
-เสียชีวิตวันนี้ 0 ราย
-เสียชีวิตสะสม 13 ราย

จากข้อมูลข้างต้นพบว่าจำนวนเตียงสำหรับการรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยสีแดง กับกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองไม่มีจำนวนเตียงว่าง มีเพียงแต่ผู้ป่วยสีเขียวเท่านั้นที่รวมรพ.สนาม/ศูนย์พักคอย และในสถานการณ์ปัจจุบันการควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศไทยยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายได้ในเร็ววัน ดังนั้นบทความนี้จึงจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ Home Isolation หรือการกักตัวที่บ้าน

แนวคิดของ Home Isolation เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหลายพันคน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ประกอบกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลในระยะเวลาสั้น ๆ และไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่ที่รัฐจัดให้

Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในเกณฑ์ดังนี้

  • ผู้ป่วยโควิด-19 ที่กำลังรอ admit หรือรอเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ. ซึ่งแพทย์พิจารณาแล้วว่า สามารถรักษาตัวที่บ้านได้
  • ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวใน รพ. หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันและแพทย์พิจารณาว่าสามารถทำ Home Isolation ต่อได้

ผู้ที่เข้าเกณฑ์ในการทำ Home Isolation

  •  เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการ ( asymptomatic cases)
  •  มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • ต้องไม่มีภาวะอ้วน หรือดัชนีมวลกาย >30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว >90 กก.
  • ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอกอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ,โรคไตเรื้อรัง (CKD ระยะที่ 3,4) โรคหัวใจและหลอดเลือด,โรคหลอดเลือดสมอง,โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
  • อยู่คนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
  • ยินยอมแยกตัวในที่พักของตัวเอง

การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation

    • ห้ามออกจากที่พัก และห้ามผู้ใดมาเยี่ยมบ้าน
    • ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
    • แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และความเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
    • ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
    • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
    • ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่จำเป็นต้องสัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ
    • แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก
    • ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น
    • แยกขยะ โดยมัดปากถุงขยะให้แน่น

สิ่งของจำเป็นเมื่อต้อง Home Isolation กักตัวอยู่บ้าน
หากป่วยเป็นโควิด-19 แล้วต้องกักตัวที่บ้านหรือ Home Isolation สิ่งของจำเป็นและแนะนำให้มีเตรียมไว้ มีดังต่อไปนี้

  • อุปกรณ์ทานอาหารส่วนตัว ควรแยกกับคนอื่น (ช้อนส้อม จานชาม แก้วน้ำ)
  • ถุงขยะแยกสีสำหรับแยกขยะติดเชื้อ
  • หน้ากากอนามัย ควรสวมตลอดเวลาเมื่อไม่ได้อยู่คนเดียว
  • ยาสามัญประจำบ้าน เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ยาลดไข้ เจลลดไข้
  • สบู่ เจลล้างมือ ควรล้างมืออย่างสม่ำเสมอ
  • แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70% สำหรับเช็ดหลังสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได
  • ปรอทวัดไข้ เครื่องัวดออกซิเจน ทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้ส่งให้ พร้อมคำแนะนำการใช้งาน
  • ของใช้ส่วนตัวอื่นๆ แยกไว้ใช้ส่วนตัวเท่านั้น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า

ข้อแนะนำเพิ่มเติม :

  • ถ้าบ้านที่มีพื้นที่เพียงพอ ควรให้ผู้ป่วยแยกอยู่ในห้องส่วนตัวคนเดียว ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นห้องที่มีห้องน้ำในตัว แยกภาชนะของใช้ส่วนตัว ส่งข้าวให้เอาวางไว้หน้าห้อง แล้วไลน์บอก เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดประตูมาหยิบข้าวไปทานเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือการสัมผัสให้มากที่สุด หรือให้อาหารเป็นข้าวกล่อง
  • ถ้าที่อยู่อาศัยเป็นคอนโด ห้องเช่า แฟลต ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะแยกออกเป็นห้องชัดเจน เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องคนเดียว และบุคคลอื่นที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว

สิ่งสำคัญ คือ ต้องสังเกตอาการของตัวเอง วัดอุณหภูมิทุกวัน หากอาการแย่ลง เช่น หอบ เหนื่อย ไข้สูง ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบติดต่อ รพ.ที่รักษาอยู่ ทางรพ.จะมีรถไปรับเพื่อนำส่งเข้ารับการรักษาที่ รพ. หรือหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางมา รพ.ด้วยตัวเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช้รถสาธารณะ และต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะไปด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ และเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางไปด้วย

การทำ Home Isolation ต้องทำในผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรือไม่แสดงอาการ โดยการวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อกันไม่ให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้กลายไปเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง หรือสีแดงในอนาคต เพราะในปัจจุบันผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้ไม่มีเตียงแล้ว ดังนั้นวิธีนี้จึงสามารถที่จะลดการรุนแรงของการติดเชื้อและช่วยลดการสูญเสียได้

ที่มา: buriram.go.th/covid-19/

โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล หนองแขม

โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ

อื่นๆ

เมนู