กิจกรรมประจำเดือนกันยายน 2564 : โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ได้แก่

  1. เข้ารวมอบรมโครงการ “deINFLUENCER” จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า ในวันที่ 9 กันยายน 2564 ฝึกปฏิบัติในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงเกณฑ์การให้คะแนนต่าง ๆ กับผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ และผ่านการคัดเลือกกว่า 500 ท่าน ฝึกทักษะการเป็น “อินฟลูเอนเซอร์” ที่สร้างรายได้ได้จริง และเป็นหนึ่งในบุคลากรในสาขาอาชีพแห่งโลกดิจิทัล
  2. เข้าร่ามสัมมนาการตลาดแบบออนไลน์ ที่จะให้ความรู้ด้านคอนเทนต์และเทคนิคการเขียนคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้า การเขียนคอนเทนต์ ในหัวข้อ “เคล็ดลับการเขียนขาย แบบป้ายยา”
    พบกับวิทยากรพิเศษ คุณนาฟิส อิสลาม เจ้าของเพจ “สมองไหล”
  3. ผ่านการคัดเลือกจากทางกองทุนสื่อปบอดภัยและสร้างสรรค์ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ (บ่มเพาะ)

  4. กิจกรรมมอบแมส และทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือสูตรปลอดภัย ณ บ้านหนองหว้า ม.11 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
  5. กิจกรรมทดลองการเลี้ยงแหนแดง เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ลดต้นทุนการซื้ออาหารสัตว์ เสริมสร้างโปรตีนด้วยกสิกรรมธรรมชาติ ให้สัตว์เลี้ยง ในพื้นที่ฟาร์มเกษตรตนเอง สร้างแหล่งเรียนรู้ เพื่อเตรียมถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน ให้เกิดการพึ่งตนเองได้ในโอกาส
  6. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation
  7. จัดกิจกรรมการทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือในสถานการณ์โควิด 19 แก่ชุมชน ม.10 หมู่บ้านหนองหว้า ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
  8. กิจกรรมนักเล่าสื่อ ถ่ายทำโบราณสถาน ณ วัดท่าเรียบ ม.10ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
  9. กิจกรรมมอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ เครื่องพ่น อาหารสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ของใช้จำเป็น ณ บ้านขมิ้น ม.4 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
  10. ได้รับหน้าที่มอบหมายลงพื้นที่จัดกิจกรรมตามเป้าหมาย พร้อมนำมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับอาจารย์ประจำตำบล  ลงพื้นที่ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดกิจกรรมโควิดเพิ่มเติม  อีกทั้งประชุมออนไลน์ ตามที่อาจารย์ประจำตำบลมอบหมาย

    กิจกรรมมอบแมส และทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือสูตรปลอดภัย

    ณ บ้านหนองหว้า ม.11 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ 🥰
    ดำเนินกิจกรรมโดย 👇
    1. น.ส นุชจิรา ลุ่มนอก
    2. น.ส มาริสา ขวัญทอง
    3. นายกิตติกานต์ ตุ้มไธสง
    เจลล้างมือสูตรปลอดภัยสำหรับเด็ก (แบบมีกลิ่น) 🌵🍓
    สูตรนี้จะเวอร์ชั่นที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นสูตรอ่อนโยนกว่าที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป เหมาะสำหรับให้เด็กๆใช้ในบ้าน โดยเราจะใช้น้ำมันหอมระเหยที่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติแทน ถือว่าปลอดภัยสำหรับเด็ก และยังมีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ ซึ่งจะไม่ทำให้ผิวแห้ง พร้อมทั้งบำรุงไปในตัว
    ส่วนผสม 🌵
    เจลว่านหางจระเข้ 1/4 ถ้วยแบบสารอินทรีย์ (ตัวอย่างในรูป)
    น้ำมันหอมระเหยชนิดใดก็ได้ที่คุณชอบแต่ต้องปลอดภัยสำหรับเด็ก 20 หยด
    ซิลเวอร์คอลลอยด์ (colloidal silver)
    วิธีทำ 🌵
    ในการทำให้ผสมเจลว่านหางจระเข้และน้ำมันหอมระเหยที่คุณต้องการในชามขนาดเล็ก
    ผสมให้เข้ากันแล้วเติมซิลเวอร์คอลลอยด์ เพื่อให้ส่วนผสมเบาบางลง
    ใส่เจลล้างมือที่ได้ลงในขวดสเปรย์หรือขวดปั๊ม
    หมายเหตุ: 🌵
    1. ดูวิธีทำเจลว่างหางจระเข้ สารตั้งต้นของแอลกอฮอล์เจลล้างมือ
    2. เจลทำความสะอาดมือแบบธรรมดาที่ไม่ได้ใส่แอลกอฮอล์ ใช้เพื่อรักษา
    3. ความสะอาดมือของเราจากสิ่งสกปรกต่างๆที่สัมผัส ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้
    4. มีรายงานระบุว่าเด็กที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อมากเกินไป
    5. มีอัตราการแพ้และเป็นโรคหอบหืดมากกว่าเด็กที่ปกติ ดังนั้นการปล่อยให้ลูกของคุณสัมผัสกับแบคทีเรียบ้าง เป็นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้เด็กๆ อย่างหนึ่ง
    6. ควรอ่านฉลากหรือตรวจสอบสินค้าน้ำมันหอมระเหยสำปลอดภัยสำหรับเด็กจริงๆ
    7. ไม่แนะนำให้ใช้เจลว่านหางจระเข้สด

    ทดลองการเลี้ยงแหนแดง เพื่อเป็นอาหารสัตว์

    ลดต้นทุนการซื้ออาหารสัตว์ เสริมสร้างโปรตีนด้วยกสิกรรมธรรมชาติ ให้สัตว์เลี้ยง ในพื้นที่ฟาร์มเกษตรตนเอง สร้างแหล่งเรียนรู้ เพื่อเตรียมถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน ให้เกิดการพึ่งตนเองได้ในโอกาส

    ซึ่งแหนแดง (Azolla) เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตและลอยอยู่บนผิวน้ำในเขตร้อน และเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกลุ่มไซยาโนแบคทีเรียชื่อ Anabana azollae อาศัยอยู่ ที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศ (symbiotic nitrogen fixing microorganisms) ให้มาเป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียม ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 3 – 5 % ทำให้แหนแดงกลายเป็นปุ๋ยพืชสดที่สำคัญ เพื่อใช้ร่วมกับการปลูกข้าวทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน นอกจากนี้ยังสามารถลดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าวได้เป็นอย่างดี

    มากไปด้วยประโยชน์
    1. ใช้ควบคุมวัชพืชในนาข้าว ลดปริมาณการใช้แทนเคมีกำจัดวัชพืช
    2. ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี หรือลดการใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนการผลิตลดลง
    3. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน
    4. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี หากใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนาสามารถเพิ่ม ผลผลิตข้าวได้ประมาณ 15%
    5. สามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผัก และไม้ผลอื่นๆ ได้
    6. สามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวกเป็ด ไก่ ปลา และสุกรได้
    โดยนายดุสิต บุผาโต

    การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation

    – ห้ามออกจากที่พัก และห้ามผู้ใดมาเยี่ยมบ้าน
    – ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
    – แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และความเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
    – ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
    – สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
    – ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่จำเป็นต้องสัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ
    – แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก
    – ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น
    – แยกขยะ โดยมัดปากถุงขยะให้แน่น
    สิ่งของจำเป็นเมื่อต้อง Home Isolation กักตัวอยู่บ้าน
    หากป่วยเป็นโควิด-19 แล้วต้องกักตัวที่บ้านหรือ Home Isolation สิ่งของ
    จำเป็นและแนะนำให้มีเตรียมไว้ มีดังต่อไปนี้
    1. อุปกรณ์ทานอาหารส่วนตัว ควรแยกกับคนอื่น (ช้อนส้อม จานชาม แก้วน้ำ)
    2. ถุงขยะแยกสีสำหรับแยกขยะติดเชื้อ
    3. หน้ากากอนามัย ควรสวมตลอดเวลาเมื่อไม่ได้อยู่คนเดียว
    4. ยาสามัญประจำบ้าน เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ยาลดไข้ เจลลดไข้
    5. สบู่ เจลล้างมือ ควรล้างมืออย่างสม่ำเสมอ
    6. แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70% สำหรับเช็ดหลังสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได
    7.ปรอทวัดไข้
    8.เครื่องัวดออกซิเจน ทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้ส่งให้ พร้อมคำแนะนำการใช้งาน
    9.ของใช้ส่วนตัวอื่นๆ แยกไว้ใช้ส่วนตัวเท่านั้น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า
    10. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

    โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์ ทีมนาโพธิ์ลงพื้นที่กิจกรรมนักเล่าสื่อ ถ่ายทำโบราณสถาน ณ วัดท่าเรียบ ม.10 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

    โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล โครงการดีๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่จะช่วยสร้างรากแก้วให้ประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยได้สามารถใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะนำโจทย์หรือปัญหาของประเทศ มาสู่การพัฒนาศักยภาพกำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ
    โดย
    นุชจิรา ลุ่มนอก
    กิตติกานต์ ตุ้มไธสง
    มาริสา ขวัญทอง
    รวิพร นครไธสง

    ขอแสดงความยินดี ร้านกนกศิลป์ไหมไทย ได้รับรางวัลพระราชทาน
    ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานสีทอง ประเภทผ้าไหมจากทายาทหม่อนไหมในชุมชน
    ชนะเลิศระดับประเทศ ปี ๒๕๖๔

    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสัญลักษณ์นกยูงไทยให้เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย จำนวน 4 ชนิด            ได้แก่ นกยูงสีทอง (Royal Thai Silk) นกยูงสีเงิน (Classic Thai Silk) นกยูงสีน้ำเงิน (Thai Silk) และ นกยูงสีเขียว (Thai Silk Blend) โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ตามบทบัญญัติมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงได้รับโอนสิทธิหรือรับมรดกสิทธิเครื่องหมายรับรองตรานกยูงพระราชทานจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 และเมื่อมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 ได้ยกฐานะจากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขึ้นเป็นกรมหม่อนไหม จึงได้มีการขอโอนสิทธิหรือรับมรดกสิทธิเครื่องหมายรับรองตรานกยูงพระราชทานอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2553 จากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาดำเนินการต่อ โดยกรมหม่อนไหมยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานการรับรองผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทานให้แพร่หลายทั่วโลกจึงได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองตรานกยูงพระราชทานในต่างประเทศอีก 35 ประเทศได้แก่ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จำนวน 27 ประเทศ จีน นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินเดีย และฮ่องกง

    ๙๖ ม.๑๑ บ้านหนองหว้า
    ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
    โดยนายธงชัย ลุ่มนอก

Tags: ,

อื่นๆ

เมนู