1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG02(2) - ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์
  4. AG02 : ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลบริบทชุมชนแบบฟอร์ม 01,02 และ06 บ้านคอกวัว หมู่ 5 และบ้านโพธิ์พัฒนา หมู่ 13 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

AG02 : ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลบริบทชุมชนแบบฟอร์ม 01,02 และ06 บ้านคอกวัว หมู่ 5 และบ้านโพธิ์พัฒนา หมู่ 13 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านายจิรวัฒน์  อิ่มบุญสุ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร: AG02 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

หลักสูตร AG 02(02) ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 5-13 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30 น. – 17 .30 น. ณ บ้านคอกวัว หมู่ 5 และบ้านโพธิ์พัฒนา หมู่ 13 ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์

ได้ลงพื้นที่ ที่ใด้รับมอบหมาย 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคอกวัว หมู่ 5 และบ้านโพธิ์พัฒนา หมู่ 13  ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ และสอบถามข้อมูลบริบทต่างๆ กับชาวบ้านในชุมชน โดยใช้แบบสอบถามจากส่วนกลาง (01) แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (02) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (06) แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ทำให้ทราบข้อมูลของขมชน บริบทด้านการประกอบอาชีพ การเกษตร ทำนา เลี้ยงสัตว์ ตามแบบสอบถามที่ทางส่วนกลางมอบหมายให้สำรวจ และชาวบ้านได้ให้ข้อมูลแก่ดิฉันตามรายละเอียด เอกสารที่แนบมา หลังจากที่สอบถามข้อมูล ติฉันจึงได้ทราบว่าชาวบ้านในทั้ง 2 ชุมชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำนา ปลูกผัก เพาะเลี้ยงจิ้งหรีด และรับจ้างทอผ้าไหม เป็นอาชีพหลัก และอุตสาหกรรมในครัวเรือน  อย่างเช่น การทอผ้า ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น

การลงพื้นที่สำรวจภายในชุมชน ได้ร่วมพูดคุยและสัมภาษณ์ชาวบ้าน ตามแบบสอบถามทั้ง 3 ชุด ข้าพเจ้าจึงได้รายงานข้อมูลต่อส่วนกลาง ผ่านแบบฟอร์มในระบบ เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติ และเรียบเรียงในเชิงวิชาการ จึงได้รายงานข้อมูลต่อส่วนกลาง ผ่านการกรอกข้อมูลในระบบ U2t.bru.ac.th เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติ และเรียบเรียงในเชิงวิชาการการฝึกอบรมทักษะต่าง ๆ

ซึ่งในการลงพื้นที่ชุมชนครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ สภาพปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ตลอดจนความต้องการของแต่ละครัวเรือน และผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในกิจกรรมครั้งต่อไปคือการวิเคราะห์ การสงเคราะห์ข้อมูล ที่ได้มาจากแบบสอบถามที่สำรวจชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหา และความต้องการของชุมชน จุดเด่น จุดด้อย นำมาจัดเรียงลำดับปัญหาไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ อาชีพ ให้ตำบลมีรายได้เพิ่มขึ้นในลำดับต่อไป

อื่นๆ

เมนู