ข้าพเจ้า นางสาวอรปรียา ดีบาง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ต.ศรีสว่าง อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
หลักสูตร: AG02-(03) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การฟอกและยอมสีจากธรรมชาติ
จาการอบรมมีการย้อมสีจากธรรมชาติทั้งหมด เช่น1.ใบมะม่วง 2.ใบสัก 3.ดอกดาวเรือง 4.ฝาง เป็นต้น
ในบทความนี้ ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างเป็นการย้อมของ สีดอกดาวเรือง
ดาวเรือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta L.
ชื่อวงศ์: COMPOSITAE
ชื่อสามัญ: African marigold
ชื่อท้องถิ่น: คำปูจู้หลวง ดาวเรืองใหญ่ พอทูลักษณะ: ไม้ล้มลุก สูง 15-60 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมี 2 ลักษณะ คือ ดอกไม่สมบูรณ์เพศอยู่บริเวณรอบนอก จำนวนมาก สีเหลืองหรือเหลืองส้ม ลักษณะคล้ายลิ้น บานแผ่ออก ซ้อนกันหลายชั้นปลายม้วนลง ดอกสมบูรณ์เพศมีลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ จำนวนมาก รวมกลุ่มอยู่บริเวณกลางช่อดอก ผลเป็นผลแห้งไม่แตก
ส่วนที่ใช้ : ดอก
สีที่ได้: สีเหลือง
เทคนิควิธีการย้อมสี: ในการสกัดสีถ้าใช้ดอกดาวเรืองนึ่งและอบแห้งจะให้น้ำสีเข้มข้นกว่าการสกัดจากดอกดาวเรืองสด 1 เท่า และมากกว่าดอกดาวเรืองตากแห้ง 5 เท่า เมื่อใช้อัตราส่วนที่เท่ากัน การย้อมเส้นใยด้วยน้ำสีที่สกัดจากดอกดาวเรืองแห้ง 1.2 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นใยได้ 1 กิโลกรัม ใช้วิธีการต้มเพื่อสกัดน้ำสี นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ย้อมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน จากนั้นนำเส้นใยแช่ในสารละลาย 1% สารส้ม จะได้เส้นใยสีเหลืองทอง
นอกจากนี้การปอกและย้อมสีจากธรรมชาติยังเป็นการต่อยอดให้กับชาวบ้านที่ทำอาชีพทอผ้าไหมอีกด้วย เนื่องจากวัสดุและอุปกรณ์มีอยู่ในท้องถิ่นอยู่แล้ว อาจจะมีค่าใช้จ่ายเส้นไหมบ้างนิดหน่อย เป็นการต่อยอดให้ชาวบ้านได้ทั้งความรู้และยังสามารถนำไปใช้ไดเจริงแถมยังเป็นเส้นไหมจากสีที่ปลอดสารเคมี ยังเพิ่มราคาให้กับชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย
ทางทีมงานต้องขอขอบพระคุณท่านผู้ใหญ่บ้าน บ.หัวขัว และชาวบ้านสถานที่ ที่อำนวยความสะดวกต่างและ และทางทีมงานก็ไม่ลืมที่จะทำตามมาตราการป้องกันอย่างเคร่วครัดด้วย เว้นระยะห่วง วัดอุณหภมิก่อนเข้ร่วมอบรมมีการจัดที่นั่งเว้นระยะห่วง สวมหน้ากากอนามัย มีเจลล้างมือ ที่ครั้งที่ร่วมการอบรม
ทางทีมงานขอขอบคุณค่ะ