ข้าพเจ้านายทักษิณ เพ็ชรรักษา ประเภท บัณฑิตจบใหม่  AG02-(3) ตำบลศรีสว่าง อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

       หลักสูตร: AG02-(3) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ 

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน ถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2564 ณ ชุมชน 10 ชุมชน ในตำบลศรีสว่าง อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ในบทความครั้งนี้เป็นการเเสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในครั้งนี้

  1. ทีมงานร่วมกันประชุมออนไลน์(video conference)ในหัวข้อดังต่อไปนี้                                                                           1.ร่วมกันวางเเผนลงพื้นที่เก็บข้อมูลเเบบสอบถาม U2T-SPOI ในตำบลศรีสว่าง อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เผื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนเเละสมบูรณ์ให้เเล้วเสร็จภายใน 15 ตุลาคม 2564                                                                            2. ร่วมกันวางเเผนกิจกรรมออกเเบบลายผ้าไหม การสร้างอาชีพใหม่ภายในชุมชน เเละวางเเผนจัดหาวิทยากรมาให้ข้อมูลความรู้เพิ่มเติมอันได้เเก่ ความรู้ทางด้านการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี การผสมอาหารสัตว์เเละการผลิตปุ๋ยเพื่อใช้เองในครอบครัวเเละชุมชน โดยสอดคล้องกับบริบทของชุมชนเพื่อดำเนินงานในไตรมาสต่อไป
  2. ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อร่วมกันเก็บข้อมูลเเบบสอบถาม U2T-SPOI ลงในระบบออนไลน์ พร้อมทั้งร่วมกันรวบรวมเเละตรวจสอบผ้าไหมที่ทำการย้อมสีธรรมชาติเเละสีเคมีเพื่อนำส่ง มผช. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน( THAI COMMUNITY PRODUCT STANDARD) ตามกรอบมาตรฐานดังต่อไปนี้

    มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดหมี่

    1. ขอบข่าย

    1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมเฉพาะผ้ามัดหมี่ที่ทอด้วยกี่พื้นบ้านหรือที่กระตุกโดยใช้เส้นด้ายที่ทําจากเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยผสม

    1. บทนิยาม

    ความหมายของคําที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้

    2.1 ผ้ามัดหมี่แบบดั้งเดิม หมายถึง ผ้าทอที่มีลวดลายซึ่งใช้เทคนิคการมัดเส้นด้ายเพื่อให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆก่อนนําไปย้อมสี ซึ่งส่วนที่มัดสีจะไม่ติด มี 3 แบบ คือ ผ้ามัดหมีด้ายพุ่ง ผ้ามัดหมีด้ายยืน และผ้ามัดหมี่ด้ายพุ่งและด้ายยืน มัดและย้อมสีเดียวหรือหลายสีก็ได้

    2.2 ผ้ามัดหมีแบบสมัยนิยม หรือเรียกกัน “ผ้ามัดหมีแบบร่วมสมัย” หมายถึง ผ้ามัดหมีแบบดั้งเดิมที่มีการประยุกต์ลายจากแบบดั้งเดิม ทอมัดหมีอยู่ในลายยกดอกที่ไม่ใช่ลายพริกไทย ลายลูกแก้ว และลายลูกหวาย ซึ่งมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด หรือมีการคั่นด้วยลายอื่นยกเว้นขิด อาจสอดแทรกด้วยเส้นไหมแท้หรือเส้นด้าย หรือดิ้นสีต่างๆ เช่น ดิ้นเงิน ดิ้นทอง ปักหรือเขียนลายเพิ่มเติมด้วยสีพิเศษ

    2.3 เส้นใยธรรมชาติ (natural fibres) หมายถึง เส้นใยที่มาจากพืช เช่น ฝ้าย ลินิน ป่าน กัญชง และเส้นใยที่มาจากสัตว์ เช่น ขนสัตว์ ไหม

    2.4 เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยโปรตีนที่ได้จากตัวหนอนไหม

    2.5 เส้นใยประดิษฐ์ (man-made fibres) หมายถึง เส้นใยสังเคราะห์ เช่น พอลิเอสเตอร์ ในลอน อะคริลิกและเส้นใยกึ่งสังเคราะห์ (regenerated fibres) เช่น แอซีเทต เรยอน 2.5 เส้นใยผสม หมายถึง เส้นใยธรรมชาติผสมกับเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยธรรมชาติผสมกับเส้นใยประดิษฐ์หรือเส้นใยประดิษฐ์ผสมกับเส้นใยประดิษฐ์ เช่น ฝ้ายผสมกับไหม ฝ้ายผสมพอลิเอสเตอร์ เรยอนผสม พอลิเอสเตอร์

    1. แบบ

    3.1 ผ้ามัดหมี่ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

    3.1.1 แบบดั้งเดิม

    3.1.2 แบบสมัยนิยม

    1. ขนาด

    4.1 ความกว้างและความยาวต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก การทดสอบให้ใช้อุปกรณ์วัดที่ทําจากไม้หรือโลหะที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร หรือ 1 ส่วน 4 นิ้ว แล้วแต่กรณี และมีความยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร

    1. คุณลักษณะที่ต้องการ

    5.1 ลักษณะทั่วไปต้องสะอาดและอยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดทั้งผืน ความสม่ำเสมอของลวดลายและเนื้อผ้าตามแนวเส้นด้ายยืน และแนวเส้นด้ายพุ่งให้เป็นไปตามลักษณะของผ้านั้น ๆ และต้องไม่มีข้อบกพร่องที่เกิดจากกรรมวิธีการทําให้เห็นอย่างชัดเจนและมีผลต่อการใช้งาน เช่น สีและเนื้อผ้าไม่สม่ำเสมอ ลายผิดหรือลายไม่ต่อเนื่องผ้าเป็นร่อง รู แยก เส้นด้ายขาด เส้นด้ายตึงหรือหย่อน ร้อยเส้นยืนผิด ริมผ้าเสีย

    5.2 เอกลักษณ์

    5.2.1 ผ้ามัดหมีแบบดั้งเดิม ต้องมีลักษณะเฉพาะดังนี้

    (1) มีโครงสร้างลายหมี่แบบดั้งเดิม ประกอบด้วยหมี่รวด (ลวดลายเดียวกันตลอดผืน) หมีร่าย(ลวดลายเป็นแนวทแยง) และหมี่ปล้องหรือหมีข้อหรือหมีคั่น (ลวดลายเป็นแนวตั้ง)

    (2) ช่วงรอยต่อของสีในเส้นด้ายที่เกิดจากการมัดย้อมจะปรากฏรอยซึมของสีที่ซึมเข้าไปตรงส่วนที่มัดไว้ในขณะย้อมสี

    (3) ต้องมีลวดลายต่อเนื่องโดยรายละเอียดของลวดลายแต่ละรูปอาจไม่ซ้ำกันเลยอันเนื่องมาจากการมัดย้อมเส้นด้ายก่อนทอ

    5.2.2 ผ้ามัดหมี่แบบสมัยนิยม เป็นผ้ามัดหมีแบบดั้งเดิมที่มีการประยุกต์ลายจากแบบดั้งเดิม ทอมัดหมี่อยู่ในลายยกดอกที่ไม่ใช่ลายพริกไทย ลายลูกแก้ว และลายลูกหวาย หรือมีการคั่นด้วยลายอื่นยกเว้น ขิด อาจสอดแทรกด้วยเส้นไหมแท้ หรือเส้นด้าย หรือดิ้นสีต่าง ๆ เช่น ดิ้นเงิน ดิ้นทอง ปักหรือเขียนลวดลายเพิ่มเติมด้วยสีพิเศษ

    5.3 ชนิดเส้นใยที่ใช้ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลากการทดสอบให้ปฏิบัติตาม

    5.4 ความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 5.0 ถึง 8.0 ยกเว้นกรณีย้อมห้อมหรือครามต้องอยู่ระหว่าง 5.0 ถึง 4.5 การทดสอบให้ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิธีทดสอบสิ่งทอ เล่ม 32 ความเป็นกรดด่างของสารที่สกัดด้วยน้ำ มาตรฐานเลขที่ มอก.121 เล่ม 32

    5.5 สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว (ยกเว้นสีย้อมธรรมชาติ) แอโรแมติกแอมีนแต่ละตัวต้องไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

    5.6 การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและทําให้แห้งต้องไม่เกินร้อยละ 10 การทดสอบให้ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิธีทดสอบสิ่งทอ เล่ม 21 การเปลี่ยนแปลง ขนาดภายหลังการซักและทําให้แห้ง มาตรฐานเลขที่ มอก.121 เล่ม 21 ซักโดยใช้เครื่องซักผ้าแบบ ก.(เครื่องซักผ้าแบบบรรจุด้านหน้า) เลขที่วิธีทดสอบเทียบเท่าการซักด้วยมือ และทําให้แห้งโดยวิธีแขวนราว

    5.7 ความคงทนของสีต่อการซักต้องไม่น้อยกว่าสเกลระดับ 3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี ยกเว้นกรณีย้อมสีธรรมชาติต้องไม่น้อย กว่าสเกลระดับ 2-3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี การทดสอบให้ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิธีทดสอบสิ่งทอ เล่ม 3 ความคงทนของสีต่อการซัก ด้วยสบู่ หรือสบู่และโซดา

    5.8 ความคงทนของสีต่อเหงื่อ ทั้งสภาพกรดและสภาพด่างต้องไม่น้อยกว่าเกณฑ์สเกลระดับ 3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี ยกเว้นกรณีย้อมสีธรรมชาติต้องไม่น้อย กว่าเกณฑ์สเกลระดับ 2-3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี การทดสอบให้ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิธีทดสอบสิ่งทอ เล่ม 4 ความคงทนของสีต่อ เหงื่อ ทั้งสภาพกรดและสภาพด่าง

    จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ทางทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่เก้็บข้อมูลเเละรวบรวมผ้าไหม  เพื่อนำส่งตรวจสอบต่อไป ในวันที่  9 ตุลาคม 2564 ณ บ้านหัวขัว โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มทอผ้าไหมในเขตตำบลศรีสว่างให้ความร่วมมือเเละเข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

อื่นๆ

เมนู