เขียนโดย นางสาวเยาวรัตน์ วรรณวิจิตร

ข้าพเจ้า  นางสาวเยาวรัตน์ วรรณวิจิตร   ประเภท ประชาชน ต.ศรีสว่าง  (03) อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์

หลักสูตร: AG02-(03) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

          ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน  ถึงสิ้นเดือนตุลาคม   2564 ณ ชุมชน 10 ชุมชนในตำบลศรีสว่าง อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ทางทีมงานได้ดำเนินงานจัดกิจกรรมการวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจหรือกลุ่มทอผ้าในเขตบริการตำบลศรีสว่าง ณ บ้านหัวขัว โดยมีหัวข้อดังนี้

  1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ
  2. วิธีการตรวจสอบลักษณะทั้วไปของผ้าทอมือ
  3. การทดสอบการตกติดของสีเบื้องต้น
  4. การเตรียมผ้าเพื่อส่งขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
  5. ขั้นตอนการส่งเอกสาร และส่งตัวอย่างเพื่อขอมาตรฐานผ้าทอมือ

ทั้งนี้ได้มีการจัดประชุมงานผ่านระบบออนไลน์ google meet เพื่อชี้แจงการดำเนินงานในช่วงท้ายของโครงการ และชี้แจงการเก็บข้อมูล SROI เพิ่มเติมอีกด้วย

           สำหรับความรู้เพิ่มเติมของบทความในเดือนนี้เราจะมาทำความรู้จักข้อแนะนำสำหรับผู้รับใบรับรองให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
ข้อแนะนำสำหรับผู้รับใบรับรองให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
๑. ทั่วไป
๑.๑ เอกสารฉบับนี้ใช้ประกอบการได้รับใบรับรองให้แสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ชุมชนซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ตรวจสอบการขอรับรองและคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (กมช.) ได้ออกใบรับรองโดยมีเงื่อนไขให้ผู้รับใบรับรองปฏิบัติดังเอกสารที่แนบข้างต้น

๒. ค่าใช้จ่าย
ผู้รับใบรับรองไม่ต้องชำระค่าใช้จ่าย ดังนี้
๒.๑ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชุมชน (ตัวอย่าง)
๒.๒ ค่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เก็บจากสถานที่จำหน่าย
๒.๓ ค่านำส่งตัวอย่าง

๓. การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
๓.๑ ผู้รับใบรับรองต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น
๓.๒ การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การทำเครื่องหมายและฉลาก
๓.๒.๑ การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดแนบท้าย
๓.๒.๒ การทำเครื่องหมายและฉลากต้องมีข้อความครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและได้รับความเห็นชอบจาก สมอ.
๓.๒.๓ ระยะเวลาในการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด

๔. การตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบของ สมอ.
๔.๑ ในการควบคุมการใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. จะได้ส่งพนักงานเจ้าหน้าที่มาตรวจสถานที่ผลิตเป็นครั้งคราวและเก็บตัวอย่างจากสถานที่ผลิต หรือจากแหล่งจำหน่ายไปตรวจสอบ
๔.๒ การมาตรวจสถานที่ผลิตเพื่อดูการทำและการใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. จะไม่แจ้งให้ผู้รับใบรับรองทราบล่วงหน้า ยกเว้นบางกรณี
๔.๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจสถานที่ผลิตต้องแสดงบัตรประจำต่อเจ้าหน้าที่ของสถานที่ผลิตทุกครั้ง
๔.๔ ในการตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่าง พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการดังนี้
๔.๔.๑ การตรวจสถานที่ผลิต
๔.๔.๑.๑ ตรวจกรรมวิธีการทำ การใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของสถานที่ผลิต
๔.๔.๑.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการตรวจสอบตัวอย่างที่เก็บไปตรวจสอบในครั้งก่อน (ถ้ามี)
๔.๔.๒ การเก็บตัวอย่าง
๔.๔.๒.๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จะเก็บตัวอย่างตามวิธีการและจำนวนตามที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แต่อาจเก็บตัวอย่างเพิ่มขึ้น ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ใช้เป็นตัวอย่างอ้างอิง
(๒) เพื่อแบ่งส่งหน่วยตรวจสอบมากกว่า ๑ หน่วยขึ้นไป (กรณีที่หน่วยตรวจสอบเดียวไม่สามารถตรวจสอบได้ครบทุกรายการตามที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนด)
๔.๔.๒.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบรับ-นำส่งตัวอย่างของ สมอ. ให้สถานที่ผลิตทุกครั้งที่มีการเก็บตัวอย่างและจะให้เจ้าหน้าที่ของสถานที่ผลิตลงนามจ่ายตัวอย่างในใบรับ-นำส่งตัวอย่างด้วยในบางกรณีการนำส่งตัวอย่างพนักงานเจ้าหน้าที่อาจขอให้ผู้รับใบรับรองนำส่งตัวอย่างให้สมอ. หรือหน่วยตรวจสอบก็ได้
๔.๕ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมอ. จะส่งตัวอย่างที่เก็บจากแหล่งต่างๆให้หน่วยตรวจสอบเพื่อตรวจสอบและแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ได้รับการรับรองทราบภายหลัง

๕. การเลิกประกอบกิจการ
ผู้รับใบรับรองต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ สมอ. ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันเลิกกิจการ

อื่นๆ

เมนู