ประจำเดือน เมษายน ๒๕๖๔ 

    ข้าพเจ้านาย สุรจิตต์ คงศิลา 

   ประเภท : บัณฑิตจบใหม่              ตำแหน่งงาน  :  เจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบลพรสำราญ

   ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์

  หลักสูตร: AG03-(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ         มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 ปฎิบัติงานด้านการสำรวจศักยภาพรายตำบล ๑๖ เป้าหมาย

ข้าพเจ้าได้เริ่มทำงานตามโครงการยกระดับเศษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างรากแก้วให้ประเทศ

ประวัติความเป็นมา

ตำบลพรสำราญ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2508 โดยแยกออกจากตำบลพระครูใหญ่ อำเภอเมืองฯ มี 12 หมู่บ้าน และยังขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองฯ โดยมีนายโสภา ปินะกะรัง เป็นกำนันคนแรก ต่อมาเมื่อปี 2512 ได้จัดตั้งอำเภอคูเมืองขึ้น ตำบลพรสำราญ ถูกแยกออกมาให้ขึ้นกับอำเภอคูเมือง เป็นต้นมา ปัจจุบันตำบลพรสำราญ มีหมู่บ้านทั้งสิ้น 19 หมู่บ้าน โดยมีนายวีรศักดิ์ บัวบาน เป็นกำนันคนที่ 3

เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังการดำเนินงานในเดือนเมษายน

ตามความต้องการของชุมชนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาในเรื่องใดเ ช่น การออกแบบลาย  , Packaging

โบราณสถาน , ปราชญ์ชาวบ้าน , ของดีประจำตำบล  สินค้า OTOP ,  พืชพันธุ์ต่างๆ

 และตามที่ข้าพเจ้าได้ไปลงพื้นที่กับทีมปฎิบัติงานมาข้าพเจ้าได้เห็นถึงผลิตภัณฑ์ในตำบลพรสำราญ  อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ว่ามี ทอผ้าฝ้าย กวักไหม โรงงานทำผมวิกผม สานกระติบข้าว ทำดอกไม้จันทน์เป็นต้น  โบราณราณสถาน (บ้านโนนเมือง)

ประวัติหมู่บ้านโนนเมือง(โนนขมิ้น)

บ้านโนนเมือง หมู่ที่ 13 ต.พพรสำราญ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

ชื่อเมือง เมืองขมิ้น

เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่เคยเป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนเนินเก่าๆ มีคูเมืองล้อมรอบ นอกคูเมืองจะมีกำแพงอีกชั้นหนึ่งมีหนองน้ำและบ่อน้ำโบราณรอบๆหมู่บ้าน แต่น้ำไม่ขังตลอดปี ปัจจุบันตื้นเขินใช้ทำนาได้

ลักษณะทางประวัติศาสตร์

• หินหลักเมืองและเสาหลักมือง ซึ่งอยู่บนที่ตั้งวัดโนนเมือง

• หินโบราณที่พบอยู่บนเนินวัดโนนเมือง

• ศาลที่อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ อยู่บนเนินวัดและติดกับหลักเมือง

• บริเวณหนองน้ำโบราณ ที่มีเนินรอบติดกับหมู่บ้าน

• บ่อน้ำโบราณที่มีคูกั้น

• เศษกระเบื้องหม้อแตก

• คูเมืองด้านตะวันตกและตะวันออก

• กำแพงรอบคูเมือง

ข้อมูลเหล่านี้ถามได้จากคุณตาบุญมา พุสาโลนา ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ และชาวบ้าบให้ความนับถือมาก(ปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตแล้ว)

แนวทางในการพัฒนา

• เป็นแหล่งท่องเที่ยว

• เป็นศูนย์กลางทางศาสนาพิธี วัดจะเป็นศูนย์กลางในการทำพิธีทางศาสนาและจะมีเสาหลักเมืองและหินหลักเมือง อยู่บนเนินบริเวณวัดที่ชาวบ้านนับถือมาก

สภาพปัจจุบัน

• ความสำคัญของชุมชนเป็นที่ตั้งของบ้านโนนเมือง

• จำนวนหลังคาเรือน 75 หลังคาเรือนในปัจจุบัน

• จำนวนประชากรหญิง/ชาย 360 คน

ส่วนใหญ่ทำอาชีพหลักทางด้านเกษตรกรรม  

ปลูกข้าว ,ปลูกอ้อย ,ปลูกมันสำประหลัง ,เลี้ยงหมู, เลี้ยงเป็ด, 

เลี้ยงไก่ , เลี้ยงปลา , เลี้ยงวัว และ อื่นๆ

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่    

 การทำผ้าไหมที่ต้องใช้ต้นทุนสูงและใช้เวลาในการผลิต จึงทำให้รายได้ไม่สม่ำเสมอก่อให้เกิดหนี้สินที่ต้องนำมาใช้ในชีวิตประจำวันครับ

ในการเก็บข้อมูลพื้นที่นั้น พบว่าในชุมชน มีจุดเด่น คือ สานกระติบข้าว และ การทอผ้าไหม

ทั้งนี้เมื่อได้ดำเนินการที่ได้รับมอบหมาย ข้าพเจ้าและทีมงาน จะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อไปยังส่วนกลางเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการต่อไปครับ

ลิ้งบทความ :  http://u2t.bru.ac.th/uncategorized/เมืองโบราณ-บ้านโนนเมือง/

ลิ้งวิดีโอ :  https://youtu.be/4pfYXmtM7wk

 ภาพประกอบการลงพื้นที่    บ้านโนนเมือง ( โนนขมิ้น )

 

 

 

อื่นๆ

เมนู