1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG03(1) - ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง
  4. AG03(1)โครงการ การนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากความต้องการของชุมชนไปช่วยบริการชุมชน ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

AG03(1)โครงการ การนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากความต้องการของชุมชนไปช่วยบริการชุมชน ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนธันวาคม

ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นางสาวอนิสา สรุปพล

ประเภท บัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร AG03(1) คณะเทคโนโลยีการเกษตร ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จัดโครงการ การนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากความต้องการของชุมชนไปช่วยบริการชุมชน หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักกลับกองเพื่อต่อยอดการส่งเสริมผลิตผักอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและความยังยื่นด้านการเกษตรในชุมชน ระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ณ ศาลาประชาคม บ้านสำโรง หมู่ 6 ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล มาเป็นวิทยากรถ่ายถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพคือน้ำหมักที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นด้วยจุลินทรีย์จำเพาะ ซึ่งอาจหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง กระบวนการหมักของน้ำหมักชีวภาพจะเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้กากน้ำตาลและน้ำตาลจากสารอินทรีย์เป็นแหล่งพลังงาน การผลิตจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กพบได้ตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และในดินทั่วๆไป ทำหน้าที่นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดินและน้ำมาใช้ และสามารถย่อยสลายอินทรียวัตถุให้มีขนาดเล็กลง เร่งปฏิกิริยาการเกิดปุ๋ยด้วยความสามารถนี้เองทำให้นำประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงตรงส่วนนี้มาช่วยในเรื่องของการเกษตรได้ทำให้ต้นไม้ดูดซึมปุ๋ยได้มากขึ้นลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลง โดยวัสดุในการทำก็หาได้ง่ายไม่ว่าจะเป็น น้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ขวดน้ำ ไข่ไก่ น้ำปลา ถ้วย และช้อน  และการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ คือปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรีวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืชช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ รักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ โดยทำจากวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นเศษใบไม้แห้ง มูลสัตว์

ซึ่งจากการอบรมในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการผลิตผักอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและความยังยื่นด้านการเกษตรในชุมชน เป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแบบไม่ต้องพึ่งสารเคมี และช่วยลดต้นทุนให้แก่ชาวบ้านในการทำการเกษตร ซึ่งชาวบ้านให้ความร่วมมือและความสนใจเป็นอย่างดี

(ภาพการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ)

(ภาพการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง)

อื่นๆ

เมนู