1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG03(1) - ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง
  4. บทความ นายพันธ์พิเชษฐ์ แก้วไธสง บัณฑิตจบใหม่ (กพร.) คณะเทคโนโลยีการเกษตร  ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร: AG 03-1  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทความ นายพันธ์พิเชษฐ์ แก้วไธสง บัณฑิตจบใหม่ (กพร.) คณะเทคโนโลยีการเกษตร  ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร: AG 03-1  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นายพันธ์พิเชษฐ์ แก้วไธสง บัณฑิตจบใหม่ (กพร.)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร  ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร: AG 03-1  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สืบเนื่องด้วยข้าพเจ้าได้เข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจ้างงานประชาชน นักศึกษา และบัณฑิตจบใหม่ ซึ่งลักษณะของการทำงานที่ข้าพเจ้าไปฏิบัติงานนั้นเป็นการทำงานประจำสำนักงาน และต้องลงพื้นที่ทุกสัปดาห์ โดยการปฏิบัติงานนั้นทางกรมการพัฒนาชุมชนกำหนดแผนการปฏิบัติงานมาให้ โดยจะแบ่งภาระหน้าที่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆด้วยกันคือ (1.) ด้านการบันทึกข้อมูลและนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบ และ (2.) ด้านการสนับสนุนโครงการต่างๆ ซึ่งการปฏิบัติงานทั้ง 2 ภาระงานนั้น สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

ด้านการบันทึกข้อมูลและการนำเข้าข้อมูล

ตามที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากสำนักงานพัฒนาชุมชนให้ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลต่างๆ เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ปฏิบัติงานดังนี้ (1) ทำการรับสมัครสาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (2) บันทึกข้อมูลการขับเคลื่อนโครงการ โคก หนอง นา โมเดล (3) ความก้าวหน้าของหมูบ้านเศรษฐกิจพอเพียง (4) บันทึกข้อมูล จปฐ. และกชช.2ค. (5) ลงทะเบียนผู้ผลิต และผู้ประกอบการ OTOP (6) บันทึกข้อมูลกองทุนชุมชน เป็นต้น ซึ่งการได้มาของข้อมูลต่างๆนั้น ก็อาศัยพัฒนากรที่เป็นเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการทำงานต่างๆ และนอกเหนือจากนี้ก็ได้ทำงานอื่นๆที่ ได้รับมอบหมายจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

ด้านการสนับสนุนโครงการต่างๆ

ในส่วนของการปฏิบัติงานนั้น เป็นการลงพื้นที่ร่วมกับพัฒนาการ พัฒนากร และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อร่วมกันทำโครงการต่างๆ ที่ทางสำนักงานได้มีการจัดทำ ซึ่งข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างการร่วมขับเคลื่อนโครงการมา 2 โครงการ ดังนี้ (1.) โครงการจิตอาสาพระราชทานทำธนาคารใบไม้เพื่อใช้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยลักษณะของโครงการเป็นการขอความร่วมมือผู้ที่มีจิตอาสามาร่วมกันทำทำธนาคารใบไม้เพื่อเก็บไว้ทำปุ๋ยหมักในอนาคต

(2.) โครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยลักษณะของโครงการเป็นการลงพื้นที่ในหมู่บ้านเพื่อพูดคุยและอบรมกลุ่มผู้นำชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพานายทุน ให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมาใช้ชีวิตแบบพอเพียง โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาปรับใช้

 

อื่นๆ

เมนู