บทความ

เรื่อง โครงการจัดตั้งกลุ่ม O-TOP ตำบลพรสำราญ

ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นายชาญชัย  สุทธะโส ประเภท บัณฑิตจบใหม่ AG03(1)-คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ตำบลพรสาราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน ตุลาคม 2564

 

โครงการจัดตั้งกลุ่ม O-TOP ตำบลพรสำราญเป็นโครงการที่ทางมหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับตำบล      เพื่อพัฒนาชุมชนให้ก้าวทันโลกสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งเรื่องของการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่รวมไปถึงการพัฒนาอาชีพที่จะก่อให้เกิดการสร้างรายได้เพื่อยังชีพที่มั่นคงถาวร ตลอดจนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปสู่สากลหรือการคิดระดับโลก คือการผลิตสินค้าที่คงไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นและอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งไม่ใช่เพียงการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนเท่านั้น แต่เป็นการผลิตที่สามารถเข้าถึงรสนิยมของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยพิจารณาความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งหมายความรวมถึงการมีคุณภาพและมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับด้วยการที่สินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มอันนำไปสู่การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นนอกจากนั้นยังมีการพึ่งพาตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ คือ การปลูกจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเองให้ประชาชนในท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ต้องมาจากความต้องการของคนในชุมชน โดยคนในท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจว่าสิ่งใดของท้องถิ่นที่มีศักยภาพและสิ่งใดที่มีเฉพาะในท้องถิ่น ชุมชนต้องร่วมกันใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์คิดค้นผลิตสินค้าและบริการใหม่ ๆ จากทรัพยากรในท้องถิ่นโดยผสมผสานกับเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น เพื่อสร้างความแตกต่างและการสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจอันเป็นการผลิตที่ไม่ได้แข่งขันด้านราคาที่มาจากการผลิตสินค้าตามกัน ในชุมชนหนึ่ง ๆ อาจมีหลายผลิตภัณฑ์ หากชุมชนเห็นชอบตกลงร่วมกันผลิต ความสำคัญ คือ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการนำเสนอความเป็นตัวแทนของท้องถิ่น เป็นความภาคภูมิใจรวมถึงการมีตลาดรองรับ ภาครัฐควรมีบทบาทในการสนับสนุนให้ชุมชนประสบความสำเร็จในสิ่งที่ชุมชนต้องการ ฉะนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้สามารถเรียนรู้ค้นคว้า พัฒนาได้ด้วยตนเองกระตุ้นและส่งเสริมให้ทำในสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทายความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้ท้องถิ่นเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ ผู้นำชุมชนและประชาชนในท้องถิ่น การพัฒนาบุคลากรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะต้องเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนให้ประชาชนและชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งโดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือด้านความรู้เทคโนโลยี ทุนการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ สามารถส่งออก ค้าขาย สินค้าอุปโภค บริโภค ได้อย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแค่ใช้สอยในชุมชน แต่ยังสามารถขายส่งออกไปยังชุมชนอื่น จังหวัดอื่น หรือการส่งออกต่างประเทศ โดยวิธีการคือหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าไปร่วมกับชุมชนเพื่อศึกษาความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของชุมชน จากนั้นนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ทางมหาวิทยาลัยมีเข้าไปประสานกับทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในชุมชน โดยนำมาพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้และสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน พัฒนาเศรษฐกิจจากชุมชนได้อย่างยั่งยืน

โครงการจัดตั้งกลุ่ม O-TOP ตำบลพรสำราญเป็นการปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมชุมชน ภายใต้การจัดตั้งกลุ่ม O-TOP ตำบลพรสำราญการพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ ได้เริ่มทำการจัดขึ้นใหม่ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2564 เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้า O-TOP เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น กระติบข้าว กระเป๋าถือ  แผ่นรองนั่งจากกก (อาสนะ) เสื่อพับทอมือ ผ้าพันคอ เสื่อกกทอมือ เป็นการพัฒนาลวดลายใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความประณีตและได้ลงมือสร้างสรรค์ผลิตลวดลายใหม่ด้วยตนเอง จะได้เป็นลวดลายใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์คงความสวยงามและออกมาจากฝีมือของสมาชิกจริง ๆ

ประเภทผลิตภัณฑ์สินค้า O-TOP

  1. กระติบข้าว

2. เสื่อพับทอมือ

3. ผ้าพันคอ

  1. 4. เสื่อกกทอมือ

ลิ้งค์บทความ

ลิ้งค์วีดีโอ

AG03(1) โครงการจัดตั้งกลุ่ม O-TOP ตำบลพรสำราญ ประจำเดือน ตุลาคม 2564

อื่นๆ

เมนู