ข้าพเจ้า นายอาทิตย์ โมกไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : AG03(2)โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOPภายในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กล้วยเป็นพืชพื้นบ้านของไทยเราและยังเป็นพืชเศรษฐกิจในยุคนี้ เนื่องจากใช้ประโยชน์ตั้งแต่ลำต้น ใบ ไปจนถึงผล จึงทำให้เกษตรกรสนใจในการปลูกกล้วยน้ำว้ามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยแห้ง ซึ่งเป็นการหารายได้เสริมอีกทางของเกษตรกร
ในเดือน เมษายน 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ทำการปลูกกล้วยน้ำว้าของพ่อสำรอง โมกไธสง บ้านหัวฝาย หมู่5 โดยเข้าไปสอบถามเกี่ยวกับการปลูกของพืชชนิดนี้ เบื้องต้นทราบว่าจะนิยมปลูกกล้วยน้ำว้าบริเวณตามคูคันแทนาระยะห่างระหว่างต้นในระยะ 3คูณ3 เมตร การปลูกกล้วยควรเลือกช่วงฤดูฝนจะเหมาะที่สุดเพราะจะทำให้โอกาสรอดของต้นกล้วยน้ำว้ามีโอกาสรอดสูงเพราะในดินจะดูดซับน้ำเอาไว้ หลังปลูกเสร็จจะนำฟางมากลบไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อรักษาความชื้น กล้วยน้ำว้าเมื่อมีอายุ 8-12 เดือน นับจากวันปลูกจะให้ผลผลิตนำไปจำหน่ายโดยจะขายเป็นหวีหรือเป็นเครือตามท้องตลาดรับซื้อ
ทั้งนี้ขอขอบคุณคุณพ่อสำรอง โมกไธสง ที่ให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ