- ข้าพเจ้า นางประภาพร พลนอก (ภาคประชาชน AG03-2)ตำบล ดอนกอก อำเภอ นาโพธิ์ จังหวัด บุรีรัมย์
การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน
เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี การทำนาได้ผลผลิตน้อย ราคาตกต่ำ ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ประกอบกับตนเองเป็นผู้นำในชุมชน จึงคิดหาอาชีพเสริมเพื่อคนในชุมชน การที่จะไปสอนหรือแนะนำคนอื่นได้ เราจะต้องมีความรู้เองก่อน และหาอาชีพที่ชุมชนสามารถทำได้ ก็คือการเลี้ยงปลานิล ศึกษาหาความรู้การเลี้ยงปลาจากผู้รู้ในชุมชน ประมงอำเภอ และเกษตรอำเภอ โดยมีจุดมุ่งหมายการเลี้ยงปลานิลเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน และแบ่งปันให้กับคนในชุมชน จึงได้เริ่มจากการปรับนามาเป็นบ่อเลี้ยงปลา และนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ จนเกิดความชำนาญในการเลี้ยงปลา สามารถให้คำปรึกษา แนะนำ วิธีการเลี้ยงปลาแก่ผู้สนใจได้วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
2. เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
วัตถุดิบ (ถ้ามี)
1. บ่อดิน
2. พันธ์ปลานิล
3. อาหารปลา/พืชผัก/ต้นกล้วย/รำข้าว
4. ปูนขาว
อุปกรณ์
1. ตาข่าย
2. เครื่องสูบน้ำ
3. ท่อพีวีซี
กระบวนการ/ขั้นตอน
1. ลึกประมาณ 1.5 เมตร และขอบบ่อมีเชิงลาดเทตื้นๆ กว้าง 1–2 เมตร สำหรับให้แม่ปลาวางไข่ จากนั้นโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ เนื้อที่ 10 ตารางเมตร เพื่อปรับสภาพดิน ตากบ่อทิ้งไว้ 2–3 วัน จึงสูบน้ำเข้าบ่อให้มีระดับสูง 1 เมตร
2. หรือปุ๋ยหมักลงในบ่อเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ เช่น พืช ไรน้ำ
3. ศัตรูของปลานิล ได้แก่ ปลาจำพวกกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาดุก นอกจากนี้ก็มีสัตว์พวก กบ งู เขียด เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะปล่อยปลานิลลงเลี้ยงจึงจำเป็นต้องกำจัดศัตรูดังกล่าวเสียก่อน โดยวิธีระบายน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุด
4. โดยผสมน้ำในบ่อลงในถุงลูกปลาช้า ๆ จนลูกปลาเคยชินกับน้ำในบ่อ แล้วปล่อยลูกปลาออกจากถุง
5. แล้วเช็คด้วยทุกครั้ง ว่าปลากินอาหารหมดหรือไม่ในแต่ละวัน
ข้อพึงระวัง
1. อย่าให้อาหารมากเกินไป เพราะปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นอันตรายต่อปลาได้
2. ไม่ควรให้มีพืชน้ำ เช่น บัว จอก แหน คลุมผิว น้ำ เพราะแดดจะส่องลงไม่ถึงก้นบ่อ
3. ศัตรูของปลานิล ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง
4.หมั่นเปลี่ยนน้ำ หากน้ำในบ่อเสีย
5.การให้อาหารปลานิลควรให้ครั้งละน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ
รูปภาพจากสระที่เลี้ยงปลา