บทความฉบับที่ 6 เดือน กรกฎาคม  2564   ข้าพเจ้านาง ประภาพร พลนอก ผู้ปฎิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1มหาวิทยาลัย     ข้าวเป็นอาหารหลักของประเทศจึงมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ถ้าจะจำแนกชนิดของสภาพพื้นที่เพาะปลูกและฤดูกาลเพาะปลูกแล้วชนิดของข้าวตามสภาพพื้นที่เพาะปลูกทางภาคอิสานส่วนมากจะนิยมปลูก ข้าวเหนียวกข.6และข้าวจ้าวหอมมะลิ 105  ซึ่งข้าวนาปีที่เกษตรกรปลูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าข้านาน้ำฝนเพราะช่วงที่ทำการปลูกจะรอน้ำฝนอย่างเดียว การไถหว่านจะเริ่มกว่านเดือนพฤษภาคมและช่วงเก็บเกี่ยวคือเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมกราคมก็สิ้นสุดฤดูกาลทำนาของเกษตรกร  ในชุมชน บ้านหนองบัว หมู่ที่ 9 ตำบลดอนดอก อำเภอ นาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว จำนวน 950ไร่ แบ่งเป็นการปลูกข้าวเหนียว 450ไร่ และข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 500ไร่  ส่วนมากที่ปลูกข้าวหอมมะลิเยอะเพราะเกษตรกรปลูกเพื่อจัดจำหน่าย พอให้มีรายได้จุนเจือครอบครัวและชำระหนี้สินที่มีอยู่      ส่วนการทอผ้าไหม และการเลี้ยงวัวเป็นอาชีพเสริมก็หยุดชะงักเพนาะไม่มีออเดอร์สั่งเข้ามา ทำให้เกษตรกรลำบากในช่วงฤดูกาลนี้  การเลี้ยงวัวของเกษตรกรก็เกิดปัญหาเกิดโรคระบาดในวัวคือโรคลัมปีสกิน    ในภาครวม ตำบล ดอนดอก เกษตรกรได้รับผลกระทบ วัวตายด้วยโรคลัมปีสกิน จำนวน 30ตัว   แต่ก็เป็นการโชคดีของเกษตรกรที่มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเยียวยาให้พอคลายความทุกข์ไปได้อีกระดับหนึ่ง

Exif_JPEG_420

อื่นๆ

เมนู