น้ำหมักจุลินทรีย์รสจืดจากหน่อกล้วย

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาโพธิ์และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบทั้งครัวเรือนต้นแบบร่วมมือช่วยกันเอามื้อสามัคคี ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ ฉ แปลงของครัวเรือนต้นแบบ ของนายสันติ ปริเทสาโน บ้านนาแพง หมู่ที่ 10 ตำบลดอนดู่ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีการจัดกิจกรรมที่ทำในวันเอามื้อสามัคคี คือ การทำน้ำหมักจุลินทรีรสจืดจากหน่อกล้วย

ซึ่งน้ำหมักจุลินทรีย์สมุนไพร นั้นจะมีอยู่ทั้งหมด 7 รส ได้แก่

1.รสจืด = บำรุงดิน บำบัดน้ำ บำบัดของเสีย เช่น ข้าว ผักบุ้งไทย ผักตบชวา หน่อกล้วย

2.รสขม = สร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เช่น ฟ้าทะลายโจร สะเดา บอระเพ็ด ขี้เหล็ก

3.รสฝาด = ป้องกันเชื้อราในโรคพืช เช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง ใบทับทิม

4.รสเมาเบื่อ = ป้องกันแมลง ฆ่าหนอน เพลี้ย และแมลงอื่นๆ เช่น หางไหล ใบน้อยหน่า พญาไร้ใบ

5.รสหอมระเหย = ป้องกันและไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช เช่น ตะไคร้ สาบเสือ โหระพา กะเพรา ผักชี

6.รสเผ็ดร้อน = ป้องกันและกำจัดแมลง ทำให้แมลงแสบร้อน เช่น พริก พริกไทย ข่า กระเทียม

7.รสเปรี้ยว = ป้องกันไล่แมลง เช่น เปลือกส้ม มะนาว มะกรูด มะขาม สับปะรด มะเฟือง ตะลิงปลิง

โดยวันเอามื้อสามัคคี “โคก หนอง นา โมเดล” จะร่วมมือกันทำน้ำหมักจุลินทรีย์รสจืดจากหน่อกล้วยมีวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมและมีวิธีการทำดังนี้

วัสดุอุปกรณ์

  1. หน่อกล้วย        2.สารเร่งซุปเปอร์ พด.2         3.กากน้ำตาล          4.น้ำเปล่า          5.ถังหมัก

วิธีทำ

  1. หั่นหรือสับหน่อกล้วยให้เป็นชิ้นเล็กๆ (จะทำให้ย้อยสลายได้ร็วขึ้น)
  2. เทกากน้ำตาลลงผสมกับน้ำ นำสารเร่ง พด.2 ผสมลงไป คนส่วนผสมให้เข้ากัน
  3. นำหน่อกล้วยสับแล้ว ใส่ในถังพร้อมน้ำเปล่าทั้งหมด และส่วนผสมกากน้ำตาลกับสารเร่ง พด.2 คนส่วนผสมให้เข้ากัน
  4. ปิดฝาไม่ต้องสนิท ตั้งไว้ในที่ร่ม ระหว่างการหมักคนหรือกวนทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เพื่อการระบายก๊าซและทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดีขึ้น
  5. ระยะเวลาในการหมักประมาณ 21 วัน กรองน้ำใส่ขวดไว้สามารถนำใช้ได้เลย

วิธีการนำไปใช้

น้ำหมัก 1 ลิตร ผสมน้ำเปล่า 100 ลิตร ใช้ฉีดพ่นลงดิน จะทำให้ดินร่วนซุย ฉีดพ่นทางใบลดปริมาณน้ำหมักลงครึ่งหนึ่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น

โดยน้ำหมักแต่ละรสจะมีสรรพคุณคณประโยชน์ที่แตกต่างกัน โดยครัวเรือนต้นแบบหรือเกษตรกรที่สนใจในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีพวภาพก็สามารถที่ทำใช้เองได้ที่บ้านจะทำเกษตรกรนั้นลดต้นทุนประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี และยังไม่เป็นอันตรายต่อตนเองทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

         

         

อื่นๆ

เมนู