ข้าพเจ้านางสาวญานิศา กรุงกลางประเภทประชาชน AG 03-2 ตำบลดอนกอกอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์      

จากการที่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD มีทั้งหมด 10 หัวข้อดังนี้

1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด

2.แหล่งท่องเที่ยว

3.ที่พัก/โรงแรม

4.ร้านอาหารในท้องถิ่น

5.อาหาที่น่าสนใจประจำถิ่น

6.เกษตรกรในท้องถิ่น

7.พืชในท้องถิ่น

8.สัตว์ในท้องถิ่น

9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น

10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

วันนี้จะขอหยิบยก ข้อ5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่นและข้อ7.พืชในท้องถิ่น มานำเสนอในครั้งนี้

ตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ภาคอีสานที่เป็นที่ราบสูง โดยมีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำมูล เป็นแหล่งอาหารหลัก และ ในบางพื้นที่มีความแห้งแล้ง อาหารของคนตำบลดอนกอกจะมีการถนอมอาหารจากปลา เช่น ปลาร้า เป็นเครื่องปรุงอาหาร และ รสชาติของอาหาร จะมีรส เค็ม เผ็ด และเปรี้ยว เป็นรสชาติที่คนไทยหลายคนชอบคนอีสานไม่นิยมใส่กะทิในอาหาร คนตำบลดอนกอกจะมีวัตถุดิบหลากหลาย ซึ่งวัตถุดิบบางอย่างไม่เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น ไข่มดแดง จิ้งหรีด ตั๊กแตน ดักแด้ แมงกุดจี่ ปูนา กบ เขียด อึ่ง แย้  หนูนา เป็นต้น

อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เช่น

 

หมกปลาซิว วิธีทำหมกปลาซิว(ลูกปลา)นำปลาซิวมาหมักด้วย ข้าวเบือ น้ำปลา เกลือ พริก ตะไคร้ ผักชี ต้นหอม และใบแมงลัก หมักประมาณ 15 นาทีนำปลาที่หมกมาห่อใบตอง หรือใบบัว ก็ได้ จากนั้นนำไปนึ่ง ประมาณ 30 นาทีให้ปลาสุก ก็สามารถรับประทานได้

 

ซุปหน่อไม้ วิธีทำซุปหน่อไม้ ตั้งหม้อต้ม นำหน่อไม้ลงไปต้ม ให้หน่อไม้สุก และ อ่อนนุ่ม จากนั้นนำมาขูดเป็นเส้นๆ จะได้เส้นประมาณ 1 จาน จากนั้น นำหน่อไม้ ขูดเส้น ใส่น้ำปลาร้าลงไปต้ม เมื่อสุกได้ที่ ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาล ข้าวคั่ว พริกป่น และ น้ำมะนาว ผสมให้ส่วนผสมเข้ากัน และ ชิมรสชาติตามใจชอบใส่ ต้นหอม ใบสะระเหน่ หอมแดง คลุกเคล้าให้ส่วนผสมเข้ากัน ใส่จานพร้อมรับประทาน

 

แกงผักหวานป่าใส่ไข่มดแดง วิธีทำแกงผักหวานป่าใส่ไข่มดแดงเริ่มจากต้มน้ำให้เดือดและลดไฟอ่อน จากนั้นในตะไคร้ พริก ใบมะกรูด และ หอมแดงลงไปปรุงรสด้วย เกลือป่น น้ำปลา และ ปลาร้าจากนั้นใส่ ยอดผักหวานป่า ลงไปต้มให้สุกปิดไฟหม้อ ใส่ใบแมงลัก และ ไข่มดแดง ลงไป ทิ้งให้แกงกรุ่นๆ ก็สามารถรับประทานได้(ไข่มดแดงจะรับประทานได้ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนเท่านั้น)

น้ำพริกปลาร้าสับ วิธีทำน้ำพริกปลาร้าสับเริ่มจากการเตรียมปลาร้าก่อน ต้มน้ำให้เดือด นำมปราร้ามาลวกให้พอสุก จากนั้นแกะเนื้อปลาร้า แยกก้างปลาและเนื้อออกจากกัน จากนั้นนำมาพักไว้ก่อนเตรียมเครื่องแกง โดยการใส่ พริกขี้หนู หอมหัวแดง กระเทียม ขิง กระชาย และ ตะไคร้ ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จากนั้นโขรกให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันใส่เนื้อปลาร้าลงไปคลุกกับเครื่องแกงที่โขรกไว้ปรุงรสด้วย น้ำมะขามเปียกและน้ำตาลปี๊บ โดยให้เข้ากันและโรยหน้าด้วยใบมะกรูดซอย

ซุปบักมี่ วิธีทำซุปบักมี่ (ซุปขนุน) นำขนุนอ่อนต้นแล้วโขลกขนุนพอแหลก ใส่เนื้อปลาทูโขลกต่อให้เข้ากันปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า น้ำปลา พริกป่น และข้าวคั่ว โขลกให้เข้ากัน ใส่หอมแดง ผักชีฝรั่ง

หมกดักแด้ วิธีหมกดักแด้ นำดักแด้ไปต้มนำหัวปลีไปหั่นแล้วแช่น้ำโขลกพริกแห้ง หอม กระเทียม ตะไคร้ และเกลือให้ละเอียด จากนั้นใส่หัวปลีลงไปโขลกให้ละเอียดเข้ากัน ตักขึ้นจากครก นำไปเคล้ากับดักแด้ ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้าและน้ำปลาใส่ใบแมงลัก เคล้าอีกครั้ง ห่อด้วยใบตอง นำไปนึ่งบนน้ำเดือดประมาณ 15 นาทีจนกระทั่งสุกนำมารับประทานได้

รูปภาพอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

พืชในท้องถิ่นได้แก่

ต้นไผ่ ลักษณะ เป็นพืชตระกูลหญ้า เป็นไม้ยืนต้นมีอายุยืนยาว ให้ผลผลิตเป็นหน่อไม้ มีเหง้าใต้ดิน แตกออกขึ้นเป็นกอ ออกหน่อเหนือดิน มีกาบหุ้มหน่อสีเหลืองอมเขียว มีลำต้นเป็นปล้องๆ

ต้นพญาสัตบรรณ ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 35-40 เมตร ต้นอายุน้อยมีเรือนยอดเป็นรูปเจดีย์ทรงแบนเมื่อต้นใหญ่เต็มที่ โคนจะเป็นพูพอนขยายใหญ่ ลำต้นมีร่องตามแนวยาวของความสูง เปลือกมีสีเทาอมเหลือง หรือสีน้ำตาล เมื่อถาดเปลือกออกจะมีสีขาว เปลือกชั้นในสีน้ำตาลมีน้ำยางสีขาวไหลมาก เนื้อไม้ และกิ่งเปราะหักง่าย เนื้อไม้เรียบ แตกเป็นร่องง่าย กิ่งที่แตกออกมีรอยแตก เพื่อใช้แลกเปลี่ยนอากาศ

ต้นประดู่ ลักษณะเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

ต้นมะม่วง ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร  ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติด ผล ผล ยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด

ต้นวาสนา ลักษณะ เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 5–6 เมตร ชอบแสงแดดจัด แต่ก็เป็นที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับหนึ่ง เนื่องจากรูปทรงที่สวยแปลกตาและคงทนอยู่ได้แม้ในที่มีแสงสว่างน้อย วาสนามีลำต้นตั้งตรง มีสีน้ำตาลอ่อน ใบแตกจากหน่อที่ปลายลำต้น เป็นใบเดี่ยวลักษณะเรียวยาว ปลายแหลมโคนสอบเข้าหาใบซึ่งเป็นกาบติดกับลำต้น พื้นใบมีสีเขียวมีลายสีเหลืองพาดกลางไปตามความยาวของใบ ใบอ่อนจะแตกตรงส่วนยอดของต้น ดอกออกเป็นช่อสีเหลือง กลิ่นหอม

ต้นมะขาม ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล

รูปพืชในท้องถิ่น

 

 

อื่นๆ

เมนู