การแพร่ระบาดของ COVIT-19 ในเดือนสิงหาคม 2564 นี้ ยังมีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในชุมชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ จึงทำให้ผู้คนที่ไปทำงานในเมืองใหญ่ที่ตอนนี้เป็นพื้นที่สีแดงเข้มส่วนใหญ่ว่างงานและตกงานกันเป็นจำนวนมากและได้พากันกลับมาต่างจังหวัดหรือบ้านเกิดตนเองเป็นจำนวนมาก และทางด้านสาธารณสุขแต่ละจังหวัดได้มีมาตราการต่างๆ เพื่อตรวจคัดครองผู้ที่มีความเสี่ยง และผู้ที่ติดเชื้อ แยกออกจากกัน และทำที่ตั้งโรงพยาบาลสนามในเขตพื้นที่ของแต่ละตำบล อำเภอ จนไปถึงจังหวัด เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ
จากที่ดิฉันได้ดูและศึกษาข่าวกรณีที่ว่าสถานการณ์การครองเตียงผู้ป่วยในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลที่เริ่มรับไม่ไหว เนื่องจากมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมานายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้เสนอแนวคิดเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้กลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา พร้อมยังเสนอให้รัฐมนตรีแต่ละคนดูความพร้อมในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ของตัวเอง และรัฐมนตรีหลายคนเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว และนพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของ COVIT-19 ใน กทม. และปริมณฑลที่มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก จึงได้มีมาตรการส่งผู้ติดเชื้อกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนาแล้วทั้งสิ้น 94,664 ราย หนึ่งในนั้นก็คือจังหวัดบุรีรัมย์มีผู้ป่วย COVIT-19 พุ่งสูงขึ้น 481 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขผู้ป่วยทำสถิติสูงที่สุดตั้งแต่มีการระบาดมาของ จ.บุรีรัมย์ แยกเป็นผู้ป่วยติดเชื้อพบในพื้นที่จังหวัด 4 ราย ติดเชื้อมาจากนอกพื้นที่ 477 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 5,888 ราย เสียชีวิตสะสม 8 ราย รักษาหายแล้ว 723 ราย ยังรักษาอยู่ 5,157 ราย กระจายตามโรงพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดจังหวัดบุรีรัมย์ และได้เปิดโรงพยาบาลสนาม 26 แห่ง 4,010 เตียง ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ ส่วนนายกท้องถิ่นแต่ละตำบลได้มีการทำโรงพยาบาลสนามโดยใช้ วัด โรงเรียน และ อบต. เพื่อให้เพียงพอต่อผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อ ส่วนในพื้นที่ตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ได้มีการปิดพื้นที่และคัดกรองผู้คนที่มากจากต่างพื้นที่อย่างเข้มงวดเพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชนและทำโรงพยาบาลสนามที่ อบต. ดอนกอก เพื่อกักตัวผู้ที่มาจากพื้นที่สีแดงเป็นเวลา 14 วัน หากมีผู้ติดเชื้อหนักก็ส่งไปที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์เพื่อทำการรักษาอาการ และประชาชนทุกคนควรปฏิบัติและให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมถึงลดการแพร่กระจายเชื้อในสังคม
การใช้หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่สวมใส่แพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวป้องกันเชื้อ COVID-19 ไม่ได้ จึงควรรักษาระยะห่างและหมั่นทำความสะอาดของมือร่วมด้วย รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ และการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถต่อสู้กับโรคภัยต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ