นายอาทิตย์  โมกไธสง  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลดอนกอก  อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์

                                               หลักสูตร :  AG03(2)โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOPภายในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ออกแบบลายมัดหมี่

 

มัดหมี่  เป็นเทคนิคการสร้างลวดลายให้เกิดขึ้นกับเส้นด้ายทางเส้นพุ่ง  หรือเส้นยืน  หรือทั้งเส้นพุ้งและเส้นยืน  ซึ่งอาจเป็นเส้นไหมฝ้ายหรือเส้นใยสังเคราะห์  โดยที่มีการค้นหมี่เพื่อทบเส้นด้าย  และแยกเส้นด้ายเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า  “ลำ” ตามการซ้ำของลายแล้วทำการมัดด้วยเชือกในตำแหน่งสีของลายเปลาะเพื่อกันสีที่จะทำการย้อมไม่ให้ซึมเข้าไปในเส้นด้ายที่มัดเชือกไว้  โดยมัดเก็บในตำแหน่งสีของลายที่ย้อมได้ทีละสีๆ  จนได้สีสันของด้ายในตำแหน่งของลายทั้งหมดจากนั้นจึงนำไปทอให้เป็นผืนผ้าซึ้งมีลวดลายมัดหมี่ที่สวยงาม

เทคนิคลายมัดหมี่เป็นภูมิปัญญาที่พบตั้งแต่ 4,000 ปีมาแล้ว และพบกระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วทุกมุมโลก  เช่น  อิหร่าน  อุซเบกิสถาน  เม็กซิโก  กัวเตมาลา  อินเดีย  จีน  ญี่ปุ่น  ลาว  เมียนมาร์  เวียดนาม  กัมพูชา  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย  รวมถึงประเทศไทย

รูปแบบลวดลาย

1.ลายแถบแนวนอน  เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันในแนวนอน

2.ลายแถบแนวตั้ง  เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันยาวตามแนวตั้ง

3.ลายแถบแนวเฉียง  เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันเอียงจากแนวไปทางใดทางหนึ่ง

4.ลายแถบลักษณะเส้นหยก หรือเส้นซิกแซก  เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันในลักษณะฟันปลา

5.ลายแถบลักษณะตาหมากรุก  เกิดจากการผูกประกอบลายลงในพื้นที่ที่เป็นช่องสี่เหลี่ยมตารางเล็กๆ ที่เท่ากัน  โดยสลับลายกับช่องว่างเหมือนตารางหมากรุก

6.ลายแถบลักษณะขั้นบันได  เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันลดหลั่นกันเป็นลำดับไปตามแนวเฉียง เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูลโดย  รองศาสตราจารย์สมบัติ  ประจญศานต์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อื่นๆ

เมนู