ชื่อ ทิพย์เกษร จันโทศรี (บัณฑิตจบใหม่)

AG 03-(2) ตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันได้เดินทางจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์เพื่อไปลงพื้นที่หมู่บ้านดอนกอกหมู่ 4 ตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะทางประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร ซึ่งห่างจากตัวอำเภอเมืองข้อนข้างมาก และได้ไปพบผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง ท่านได้พาไปพบกับคุณยายแสงที่กำลังทอผ้าไหมในหมู่บ้านดอนกอกหมู่ 4 ตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ก็เลยได้ไปสัมภาษณ์คุณยายเกี่ยวกับการทอผ้าไหมหรือ “ผ้าซิ่นตีนแดง” คุณยายได้เล่าว่า ผ้าซิ่นตีนแดง หรือที่เรียกกันว่า “หมี่รวด” จะเป็นผ้าพื้นที่ย้อมสีแดงในส่วนของหัวซิ่นและตีนซิ่น ตัวซิ่นจะเป็นสีดำลวดลายมัดหมี่ที่มีสีแดง สีเหลือง สีน้ำตาล มีสีเขียวปนบ้างเล็กน้อย ลวดลายที่ใช้ในการทอตัวซิ่นจะเป็นลายแข่วเลื่อย ลายนาค ลายขอแบบต่างๆ นิยมทอเป็นไหมลีบ (เส้นไหมจากเปลือกนอกของรังไหม) เพราะมีเส้นขนาดใหญ่ ทอเสร็จเร็ว เห็นลวดลายชัดเจน ลักษณะพิเศษของผ้าซิ่นหัวแดงตีนแดงจะมีการจกสีไหมเหมือนผ้าแพรวาเพิ่มเติมของส่วนตีนซิ่นสีแดง นิยมใช้ลายเก็บตีนดาวกับผ้าซิ่นตีนแดง

ส่วนเอกลักษณ์ของซิ่นตีนแดงคือแตกต่างจากซิ่นอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง คือ หัวซิ่นและตีนซิ่นเป็นสีแดง ตัวซิ่นเป็นสีดำ หมัดหมี่สีเหลือง แดง ขาว มีเขียวปนบ้าง เครือซิ่นด้านหัวและด้านตีนกว้างประมาณ 8 หลบ (1 หลบ เท่ากับ 40 เส้น) ลายที่ใช้เป็นลายเก่าดั้งเดิม คือ ลายนาค ลายแข่วเลื่อย ลายขอต่าง ๆ นิยมทำด้วยไหมลีบ (ไหมเปลือกนอก) เพราะเส้นใหญ่ขึ้นลายได้สวยชัดเจน ทอเสร็จเร็ว ที่สำคัญ “เก็บตีนดาว” เพื่อประดิษฐ์ตกแต่งรวมไปถึงแสดงฝีมือของผู้ผลิตและสิ่งที่ได้สอบถามคุณยายมานั้นก็เป็นหนึ่งในสินค้าโอท้อปของตำบลที่ขึ้นชื่อในระดับประเทศซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่เป็นจำนวนมาก เป็นทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริมให้แก่ประชาชนหรือชาวบ้านในพื้นที่ และยังสามารถนำไปแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผ้าไหมได้อีกด้วยอาทิเช่น ผ้าพันคอ ผ้าคุมไหล่ หรือนำไปตัดชุดเสื้อผ้า ในรูปแบบต่างๆให้ทันสมัยและเข้ากับทุกสมัย

อื่นๆ

เมนู