สวัสดีครับ ผมนายพีรพัฒน์ โชขุนทด  เป็นนักศึกษามหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  วันนี้เจอกันอีกแล้วสำหรับ บทความที่ 9    ต่อจากเดือนที่แล้วกันนะครับ สำหรับบทความเดือนนี้จะเป็น เหตุการณ์ ต่อเนื่องจากบทความ ที่ 8  ของผม คือ ไม่ได้ลงพื้นที่เนื่องจากสถานการณ์โควิด อีกแล้วนะครับ การเดินทางไปไหนมาไหนก็ยากลำบากไปหมดเลยนะครับ ผมที่อยากลงพื้นที่ไปพบปะ ทำกิจกรรมต่างๆกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบ ผมก็ไม่ได้ลง   แต่สำหรับเดือนนี้ก็ได้มีการจัดการประชุมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางออกการทำงาน  ให้คงความมีประสิทธิภาพเท่าเดิม เพื่อให้ชาวบ้านได้รู้สึกว่าคณะทีมงานได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อประชาชน และเป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้ในยามยากลำบาก พวกเราก็จะช่วยเหลือกันและกันอย่างตรงไปตรงมา  ส่วนเนื้อหาวันนี้ที่ผมจะเสนอคือ  “การเลี้ยงไหม”  การเลี้ยงไหม      ไหม คือ เส้นใยจากรังไหมผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ผีเสื้อชนิดนี้อ้วนป้อม มีขนขาวและสีครีมคลุมเต็มตัว ปีกมีลายเส้นสีน้ำตาลอ่อนหลายเส้นพาดตามแนวขวาง เมื่ออยู่ในช่วงวัยอ่อนจะเป็นตัวหนอนสีขาวหรือครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายขาที่ปลายหาง หนอนไหมที่เลี้ยงกันในประเทศไทยกินใบหม่อนเป็นอาหาร เมื่อหนอนโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้เพื่อฟักตัวเป็นผีเสื้อ ในช่วงนี้เองที่เรานำมาต้มเพื่อสาวเส้นใยออกมาทอเป็นผืนผ้าได้

ไหมเป็นแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (completely metamorphosis insect) แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และผีเสื้อ วงจรชีวิตไหมจะเริ่มต้นจากไข่ ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 9-10 วัน กลายเป็นหนอนไหม ในระยะนี้หนอนไหมจะกินใบหม่อนเป็นอาหาร และนอนประมาณ 4-5 ช่วง ใช้เวลาประมาณ 22-26 วัน พอหนอนไหมแก่ หรือสุกจะชักใยทำรังหุ้มตัวเอง ตัวไหมจะลอกคราบเป็นตัวดักแด้อยู่ในรัง ช่วงเป็นรังไหมใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน จากนั้นดักแด้ก็จะกลายเป็นผีเสื้อ ผีเสื้อไหมจะใช้น้ำลายซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างละลายใยไหม และเจาะรังไหมออกมาผสมพันธุ์และวางไข่ โดยจะมีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ประมาณ 2-3 วัน ก็จะตาย เส้นไหมที่ชาวบ้านสมพรรัตน์นำมาทอเป็นผืนผ้านั้น ส่วนหนึ่งได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของชาวบ้านเอง สมัยก่อนชาวบ้านสมพรรัตน์จะเลี้ยงหนอนไหมสายพันธุ์นางน้อย ปัจจุบันกรมหม่อนไหมได้พัฒนาสายพันธุ์และส่งเสริมให้เลี้ยงพันธุ์ดอกบัว พันธุ์นางตุ่ย เป็นต้น

อื่นๆ

เมนู