การสำรวจข้อมูลของชุนชน ดอนกอก ข้าพเจ้านายธนวัฒน์ แย้มศรี ประจำหลักสูตร โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ผู้รับจ้างงานประเภทนักศึกษา มหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้รับหมอบหมายให้เข้าสำรวจเก็บข้อมูล ในตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ หมู่ที่ 1 และ 13 จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในเดือน กุมภาพันธุ์ 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อไปสอบถามข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านดอนกอก หมู่ที่ 1 และ หมู่ 13 จำนวน 2 หมู่บ้าน ก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายในการเข้าไปประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านและขออนุญาตในการเข้าสำรวจข้อมูลในพื้นที่และประสานประชาชนในชุมชนมีกลุ่มนักศึกษามาเก็บข้อมูลเพื่อสำรวจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านและความต้องการของชุมชน และขอให้ผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถามที่เป็นจริงและตอบคำถามในทุกคำถามเพื่อเป็นประโยชน์ แก่การพัฒนาชุมชน หลังจากที่ข้าพเจ้าได้พูดคุยกับคนในพื้นที่ทำให้ได้รู้ทราบความเป็นมาและอาชีพของคนในหมู่บ้าน จากการลงพื้นที่หมู่ 1และหมู่ 13 พบว่า ส่วนมากชาวบ้านมีประกอบอาชีพ ทำไรทำนา และเลี้ยงสัตว์ บางครัวเรือนก็มีการทอผ้าไหมและรับจ้างทั่วไป และจากการสำรวจถึงสภาพปัญหาที่พบในชุมชน ได้พบปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น ปัญหาเรื่องน้ำใช้เนื่องจากน้ำในพื้นที่ใช้เป็นน้ำใช้ส่วนรวมและถ้าบริหารจัดการไม่ดีอาจะทำให้มีน้ำใช้ในชุมชนไม่เพียงพอในหน้าแล้ง และได้สอบถามเรื่องสถานการณ์จากการแพร่ระบาดจากโรคจากการติดเชื้อไวรัส covid 19 และได้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค covid 19
ซึ่งได้รับข้อมูลมาคือ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคในระยะแรกๆ แต่พอปรับตัวได้ก็สามารถรับมือได้ในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน แต่พบว่า ปัญหาเรื่องหนี้สินไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งชาวบ้านบางรายอยากให้ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินมากกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นหนี้สินที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการลงทุนเพื่อการเพาะปลูกจากการยืมกองทุนต่างๆ ที่ทำให้ได้เงินเพื่อการลงทุน และก็นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องยาเสพติดในชุมชน ที่ควบคุมได้ยากเพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล ตำรวจไม่เข้าถึง จึงอยากให้ภาครัฐช่วยแก้ปัญหาไปพร้อมๆกับเรื่องหนี้สินด้วย
จากการลงสำรวจข้อมูลในครั้งนี้ต้องขอขอบคุณ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 และหมู่ 13 ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการประสานงานกับชาวบ้านจึงทำให้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูล