1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือน มีนาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) โครงการพัฒนาทักษะตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร(สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านสวายสอ บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม บ้านโนนเจริญ และบ้านแคนเจริญ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน มีนาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) โครงการพัฒนาทักษะตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร(สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านสวายสอ บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม บ้านโนนเจริญ และบ้านแคนเจริญ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์ แก้วคำภา นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านสวายสอ หมู่ที่ 2  บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5 บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 บ้านโนนเจริญ หมู่ที่ 10 และ บ้านแคนเจริญ หมู่ที่ 17 โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 4 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 แบบฟอร์ม 05 รายงานประจำตำบล และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01 (1)

          วันที่ 6 มีนาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ ณ อาคาร 20 คณะเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อมอบหมายงาน และหน้าที่ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานดำเนินไปอย่างเป็นระบบ

          ช่วงวันที่ 7-16 มีนาคม 2564 ตัวแทนทีมงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ เข้าพบรองปลัด อบต.ตูมใหญ่ เพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูลประชากรในตำบลตูมใหญ่ทั้ง 19 หมู่บ้าน และเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ จำนวน 5 หมู่บ้านประกอบด้วย หมู่บ้านสวายสอ หมู่ที่ 2 บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5 บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 บ้านโนนเจริญ หมู่ที่ 10 และบ้านแคนเจริญ หมู่ที่ 17 โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบตามความสะดวก เพื่อประหยัดเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลและได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด ตัวแทนทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการเข้าพบเกษตรอำเภอเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนของตำบลตูมใหญ่ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอคูเมือง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

          วันที่ 17 มีนาคม 2564 มีการจัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet มีการชี้แจงงานเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม รวมถึงนัดหมายสำหรับการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนมีนาคม ในวันที่ 19 มีนาคม 2564

          ช่วงวันที่ 18-20 มีนาคม 2564 ทีมงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ สรุปข้อมูลงานจากการลงพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 137 ครัวเรือน และได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนมีนาคม

          ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันทำการเข้าลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้ว และได้ผ่านการเรียนออนไลน์ตามเกณฑ์การวัดผลในรายวิชาเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน จำนวน 24 ชั่วโมง และจบหลักสูตรผ่านตามเกณฑ์ในระดับ 91 เปอร์เซ็นต์ และมีแผนการดำเนินการต่อเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อไป

ภาพที่ 1 การจัดประชุมชี้แจง และวางแผนดำเนินงาน ณ อาคาร 20 คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ภาพที่ 2 การวางแผนการทำงานในเดือนมีนาคม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นระบบ

ภาพที่ 3 ผ่านการอบรมพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษพื้นฐานตามเกณฑ์

ภาพที่ 4 การจัดประชุมออนไลน์ ผ่านระะบบ Google Meet เพื่อชี้แจงงานเพิ่มเติม และนัดหมายครั้งต่อไป

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจ 5 หมู่บ้าน

          สรุปผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่หมู่บ้านพบว่า ชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้าน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา ไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง หลังจากเว้นว่างจากการทำอาชีพหลัก ชาวบ้านจะหันมาทำอาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ (โค กระบือ ไก่) และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น

          จากการลงพื้นที่สำรวจ พบว่า แต่ละชุมชนชาวบ้านที่อาศัยอยู่บ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากลูกหลานไปทำงานนอกบ้าน หรือไปทำไร่ทำสวน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จึงเป็นผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนบ้านหนองดุมยังมีปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้บางพื้นที่เปลี่ยว และล่อแหลม และมีปัญหาด้านการสัญจร เนื่องจากถนนในหมู่บ้านชำรุด ทำให้การเดินทางไม่สะดวกและเป็นอันตรายต่อผู้ที่สัญจรผ่านเส้นทางนี้

ภาพที่ 5 การทำอาชีพเสริม เลี้ยงโค

ภาพที่ 6 การทำอาชีพเสริม เลี้ยงไก่

ภาพที่ 7 การทำอาชีพเสริม เลี้ยงกบ

ภาพที่ 8 การทำอาชีพเสริม ปลูกผักสวนครัว

ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

          ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนที่ดิฉันได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติการสำรวจ คือ บ้านหนองดุม  หมู่ที่ 8 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงชาวบ้านบางท่านไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้ตลอดเวลาเนื่องจากอากาศร้อน ทำให้การหายใจไม่สะดวก และยังมีการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          ปัญหาด้านเวลาในการทำงาน
                    การทำงานในช่วงแรกไม่สามารถลงพื้นที่สำรวจได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีการสอบปลายภาคเรียนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2564 และสัปดาห์หลังจากการสอบปลายภาคมีการสะสางงานที่ได้รับมอบหมายส่งอาจารย์ให้เสร็จสิ้น จึงทำให้มีข้อจำกัดด้านเวลาในการทำงาน และได้ปรึกษากับสมาชิกในทีมเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน ได้ผลสรุปว่า จะมอบหมายให้นักศึกษาทำการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มออนไลน์ รวมถึงการประสานงานระหว่างทีมอาจารย์ประจำหลักสูตร กับทีมปฏิบัติงานในพื้นที่

          ปัญหาด้านการลงพื้นที่สำรวจ
                    การลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ มีเพียงผู้สูงอายุที่อยู่บ้าน ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน AG01 จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูลในครัวเรือนเดิมอีกครั้ง และประชาชนบางส่วนไม่เข้าใจจุดประสงค์ในการลงพื้นที่สำรวจ ทำให้ยังไม่ไว้ใจในการให้ข้อมูล โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อชี้แจงจุดประสงค์ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล และนัดหมายประชาชนก่อนการลงพื้นที่ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

          ทีม AG01 (1) ตำบลตูมใหญ่ มีแผนการดำเนินงานในเดือน เมษายน 2564 ดังนี้

                    วันที่ 1 – 6 เมษายน 2564 นำข้อมูลที่ได้จากเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม มาวิเคราะห์เชิงวิชาการเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของชุมชน

                    วันที่ 7 – 9 เมษายน 2564 นำข้อมูลความต้องการที่ได้มาจัดทำโครงการให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้น ๆ และนำเสนอโครงการต่ออบต.ตูมใหญ่เพื่อพิจารณา

                    วันที่ 10 – 15 เมษายน 2564 วันหยุดเทศกาล

                    วันที่ 16 – 20 เมษายน 2564 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนชี้แจงการทำโครงการ เขียนบทและรายงานประจำเดือนเพื่อนำข้อมูลความต้องการของชุมชนที่ได้มาจัดทำโครงการเพื่อสอดคล้องขอบริบทและความต้องการของชุมชนนั้น ๆ นำเสนอโครงการต่อ อบต.ตูมใหญ่ เพื่อพิจารณาเพื่อดำเนินงานต่อไป

                    วันที่ 9 และ 23 เมษายน 2564 มีการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน จำนวน 2 ครั้ง

ภาพที่ 9 สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในเดือนมีนาคม และชี้แจงแผนการดำเนินงานในเดือนเมษายน

วีดีโอการดำเนินงาน กลุ่ม AG01-(1) ลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือนประจำเดือนมีนาคม ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

 

อื่นๆ

เมนู