นางสาวปาลิตา เดิมทำรัมย์

กลุ่มประชาชนคณะเทคโนโลยีการเกษตร ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

รายงานผลการปฏิบัติงานเดือน เมษายน พ.ศ. 2564

การปลูกปอเทือง เพื่อการปรับสภาพดินของชาวตำบลพรสำราญ

ในการลงพื้นที่สำรวจทุกครั้งสิ่งที่ได้ในแต่ละครั้งนั้น ไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ที่ได้ในทุกครั้งที่ลงพื้นนี่ยิ่งเพิ่มความน่าค้นหาและอยากรู้ความเป็นมาของแต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชน ซึ่งในเดือนนี้ก็เช่นกัน ทีมงานได้เก็บข้อมูลและเรียนรู้การเตรียมตัวเพื่อที่จะเริ่มลงมือ ปลูกพืชเศรษฐกิจของแต่ละชุมชน เช่น การปลูกอ้อย การปลูกมันสำปะหลัง และได้มีการปลูกปอเทืองเพื่อปรับสภาพดิน (ปอเทืองเป็นพืชตระกูลถั่ว ซึ่งเป็นไม้พุ่มความสูง 100 – 300เซนติเมตร ลำต้นกลม ใบยาวเรียวแหลม ดอกสีเหลือง ฝักเป็นรูปทรงกระบอก เมล็ดคล้ายรูปไต สีน้ำตาล ความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร มี 10 – 20 เมล็ด/ฝัก ซึ่งปอเทืองเป็นพืชที่ใช้ต้นทุน ในการปลูกต่ำและทนแล้ง โดยนอกจากเก็บเมล็ดพันธุ์ขายได้แล้ว ยงสามารถไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดใช้ในการปรับคุณภาพดินได้)

นอกจากนี้ ชาวบ้านบางส่วนมีความเชื่อว่าการปลูกอ้อยสลับกับการปลูกมันสำปะหลังในแต่ละปี  จะทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านยังปลูกหญ้าไว้สำหรับให้สัตว์กิน ส่วนมากชาวบ้านจะปลูกหญ้ารูซี่ (Brachiaria ruziziensis) หญ้ารูซี่เป็นหญ้าที่อายุหลายปี เจริญเติบโตเร็ว แตกกอดี ใบอ่อนนุ่มสัตว์ชอบกิน และขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและลำต้น จึงง่ายต่อการเลี้ยงสัตว์และเพื่อปรับสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา

 

 

อื่นๆ

เมนู