1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนเมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของ คณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านสวายสอ บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม บ้านโนนเจริญและ บ้านแคนเจริญ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนเมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของ คณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านสวายสอ บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม บ้านโนนเจริญและ บ้านแคนเจริญ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

 

     บทความประจำเดือนเมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(1)  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

 (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ของ คณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล

ณ บ้านสวายสอ บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม บ้านโนนเจริญ บ้านแคนเจริญ

         ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์       

   

               ดิฉัน นางสาวจุฑาทิพย์ สุ่มมาตร์  ประเภท บัณฑิตจบใหม่  ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ใน  เขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสวายสอ หมู่ที่ 2 บ้านตูมน้อย หมู่ที่5 บ้านหนองดุม หมู่ที่8 บ้านโนนเจริญ หมู่ที่8 และ บ้านแคนเจริญ หมู่ที่17 ของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19

 กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่  อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์            

          ในช่วงวันที่ 24มีนาคม 2564 ทางกลุ่มผู้ปฎิบัติงานประสานงานกับรองปลัด อบต. ตูมใหญ่กับหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข บ้านตูมน้อย และหนองบัวพัฒนา เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการลงพื้นที่

          ในช่วงวันที่ 25 มีนาคม 2564  คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่เริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3 กลุ่มได้แก่

  1. กลุ่มสัมมาชีพชุมชนแปรรูปอาหารบ้านหนองบัวพัฒนา
  2. กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย
  3. กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข

          ในช่วงวันที่ 4-8 เมษายน 2564อบรมฝึกทักษะทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล  ด้านสังคม  ด้านการเงิน

          ในช่วงวันที่ 9-14 เมษายน2564 กรอกแบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19

           ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำกลุ่มวิสาหกิจดิฉันสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้พอสมควร และได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนมีนาคม

            ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้ดำเนินงานทำการเข้าศึกษาทักษะทั้ง4ด้านด้าน ดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน ด้านสังคม ภาษาอังกฤษพื้นฐานได้เรียนและสอบได้ประมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ และผ่านตามเกณฑ์การวัดผลเรียบร้อยแล้ว

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจทั้ง 3 กลุ่ม

             ผลจากการลงเก็บข้อมูลในกลุ่มวิสาหกิจทั้ง 3 กลุ่มพบว่า ในแต่ละชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม มีอาชีพหลัก คือทำนา  อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ การเลี้ยงไหม การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะรวมกลุ่มหลังฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จประชาชนบ้านหนองบัวพัฒนาจะรวมกลุ่มเป็นกลุ่มวิสากิจชุมกลุ่มสัมมาชีพชุมชนแปรรูปอาหารบ้านหนองบัวพัฒนาเพื่อทำแคบหมูและแหนมหมูโดยจะใช้เวลาการทำในรอบปี 3-4 เดือน ทำในช่วงเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม แต่ถ้ามีคำสั่งซื้อมาช่วงนอกเหนือจาก พฤษภาคม-สิงหาคมสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มสัมมาชีพชุมชนแปรรูปอาหารบ้านหนองบัวพัฒนา จะรวมกลุ่มทำในช่วงวันเสาร์ หรือ วันอาทิตย์ ซึ่งการทำแคบหมูและแหนมหมูในแต่ละครั้งจะใช้เวลาทำทั้งวันและสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของแคบหมูแหนมหนูของบ้านหนองบัวพัฒนาคือไม่ใส่วัตถุกันเสียและมีรสชาติแบบดั้งเดิมกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุขเป็นการรวมกลุ่มเพื่อทำกล้วยเบรกแตกซึ่งมี 2 รสชาติ คือรสแบบดั้งเดิม รสหวาน ซึ่งสมาชิกจะทำกล้วยเบรกแตกทั้งปี ทำเฉพาะเวลามีคำสั่งซื้อเข้ามาซึ้งประธานกลุ่ม นายสมพร ดารินรัมย์ จะเป็นผู้หาวัตถุดิบและเป็นผู้หาพ่อค้าคนกลางมาให้สมาชิกในกลุ่ม  เมื่อขายแล้วเงินที่เหลือจากหักต้นทุนจะให้ค่าแรงสมาชิกคนละ 100 บาท ส่วนเงินที่เหลือประธานกลุ่มจะเก็บไว้ซื้อวัตถุดิบต่อไป กลุ่มวิสาหกิจตูมน้อยผ้าไทยชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ทอผ้าในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว จะทำในช่วงที่ชาวบ้านไม่ได้ออกไปทำงานนอกบ้าน ซึ่งกลุ่มทอผ้าไทยจะไม่ได้รวมกลุ่มเหมือนกลุ่มสัมมาชีพชุมชนแปรรูปอาหารบ้านหนองบัวพัฒนาและกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข สมาชิกจะทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมที่บ้านตนเอง จะรวมกลุ่มเฉพาะเมื่อมีการประชุมรายเดือนของกลุ่ม ผ้าฝ้ายของกลุ่มตูมน้อยผ้าไทยจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านลายดั้งเดิมของหมู่บ้านซึ่งลวดลายต่างๆ สมาชิกในกลุ่มจะเป็นผู้คิดลวดหลายของกลุ่มเองซึ่งจะเป็นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าไทย

             แต่อย่างไรก็ตาม จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ยังคงมีรายได้จากการขายสินค้าไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จึงทำให้มีสมาชิกบางส่วนออกจากกลุ่มวิสาหกิจเพื่อเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดเพื่อนำรายได้มาจุนเจือครอบครัว

 ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
             ผลจากการเก็บข้อมูลในเดือนเมษายน พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 และตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านหนองบัวพัฒนาส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากการทานที่ไม่เป็นเวลาบางส่วนที่มีเวลาไม่เพียงพอในการออกกำลังกาย จึงทำให้ประชาชนบางส่วนมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดัน และเบาหวาน

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา                                                                       

           ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจในช่วงเดือนเมษายน พบปัญหาด้านระยะเวลาในการเก็บข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจเนื่องจากคณะทำงาน AG01(1) ได้ประชุมกลุ่มย่อยในกลุ่มและได้นัดหมายกลุ่มวิสาหกิจทั้ง 3 กลุ่มในเวลากระชันชิด ส่งผลให้ประธานกลุ่มและสมาชิกบ้างกลุ่มเตรียมความพร้อมได้ไม่ดีพอ จึงแก้ปัญหา โดยการนัดหมายอีกครั้ง เพื่อลงพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่

        ได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชนและประธานกลุ่มวิสาหกิจ

        ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยี

        ได้เรียนรู้ถึงเป้าหมายของการทำงานของกลุ่มวิสาหกิจในแต่ละกลุ่ม

        ได้เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาในชุมชน

 แผนการในการดำเนินงานต่อไป

  • นำข้อมูลที่สำรวจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 3กลุ่ม เดือน มีนาคม นำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  • จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พร้อมจดทะเบียนตราสินค้า
  • ทำโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ
  • นำเสนอโครงการต่อ อบต. ตูมใหญ่เพื่อพิจารณา

 

อื่นๆ

เมนู