1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. AGO1(1) การจัดกิจกรรมการอบรมต่างๆและการติดตามการของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

AGO1(1) การจัดกิจกรรมการอบรมต่างๆและการติดตามการของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

AGO1(1) การจัดกิจกรรมการอบรมต่างๆและการติดตามการของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564

การจัดกิจกรรมการอบรมต่างๆและการติดตามการของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

        กระผม นายวุฒิพงษ์ โมรารัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ส่วนพื้นที่หลักที่ได้รับผิดชอบ คือ บ้านตูมน้อย (กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย) คือการติดตามการของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของกลุ่มตูมน้อยผ้าไทย โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำการของมาตรฐานคือ “ผ้าวม้า” และช่วยในการทำการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ให้กับทางกลุ่ม

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

  • อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนกันยายน และชี้แจงรายละเอียดกำหนดการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการอบรม
  • ประสานงานกับคณะครูโรงเรียนตูมใหญ่วิทยา เพื่อขอใช้สถานที่หอประชุมในการจัดกิจกรรมการอบรม
  • คณะผู้ปฏิบัติงานพร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
  • คณะผู้ปฏิบัติงานพร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์สินค้าผ้าทอมือ” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ จากนั้นมีการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการทอผ้า เนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  • คณะผู้ปฏิบัติงานพร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ จากนั้นมีการมอบถุงยังชีพ และอาหาร ให้กับผู้สัมผัสกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19 ที่ต้องกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน ณ สถานที่กักกันตัว องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  • คณะผู้ปฏิบัติงานพร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อสำรวจพรรณไม้ชนิดต่างๆ และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  • อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน

หมายเหตุ : ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่และคณะครูโรงเรียนตูมใหญ่วิทยา เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และการขอใช้สถานที่ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการอบรมทุกครั้ง

 

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน กระผมได้ทำการฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน และได้เข้าไปศึกษา TDGA เพิ่มเติม ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%

 

กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ

      โดยมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คือ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ เป็นผู้ให้ความรู้และสอนกระบวนการในการผสมสีต่างๆ บนวงจรสี เพื่อที่จะนำความรู้และวิธีการที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ผ้าของกลุ่มหรือของตนเองได้

 

กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์สินค้าผ้าทอมือ

      จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการทอผ้ามือมาวิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหา พบว่า กลุ่มทอผ้ามือทั้ง 3 กลุ่ม ยังไม่มีโลโก้และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เมื่อนำสินค้าไปจำหน่าย ผู้ผลิตยังคงมีการใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุสินค้า ทำให้ทางกลุ่มยังไม่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ จึงทำให้ยังไม่มีความน่าสนใจและยังเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องจากถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรจึงได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์สินค้าผ้าทอมือ” โดยให้คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ร่วมกันออกแบบโลโก้ผ้าทอมือของตำบลตูมใหญ่ จากนั้นนำโลโก้ที่ออกแบบทั้งหมดมาให้ผู้เข้าร่วมอบรมเลือก เพื่อที่จะสร้างเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มหรือเอกลักษณ์ของตำบลตูมใหญ่ ซึ่งการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์จะช่วยทำให้สินค้ามีคุณค่าและน่าสนใจ ทำให้เพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น

 

กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี

      กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี ถือเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างอาชีพใหม่ให้กับคนในชุมชุนตำบลตูมใหญ่ เป็นการพัฒนาและเคลือบสิ่งทอให้มีคุณสมบัติพิเศษด้วยนาโนเทคโนโลยี โดยการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง คือ นาเทคโนโลยี มาพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบและกระบวนการตกแต่งสำเร็จเส้นใยและสิ่งทอสมบัติพิเศษ โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งการเคลือบบนเส้นใย ผ้าผืน ตลอดจนเสื้อผ้าสำเร็จรูป

 

การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) บ้านตูมน้อย กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย

กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย

ประธานกลุ่ม : นางปัณฑิตา แก้วมูล

ชนิดผ้าที่ต้องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ ผ้าขาวม้า

ทางผู้ปฏิบัติงานได้ติดตามการดำเนินการล่าสุดวันที่ 16 กันยายน 2564 ทางกลุ่มตูมน้อยผ้าไทยได้ดำเนินการไปได้แล้ว 90%

 

กิจกรรมเพิ่มเติม

      รับ Order กล้วยฉาบของกลุ่มวิสาหกิจบ้านใหม่เจริญสุข เพื่อช่วยหาลูกค้าและเพิ่มรายได้ให้กับทางกลุ่ม โดยในเดือนที่ผ่านมา ทางกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น จากปกติรายได้กลุ่มจะอยู่ที่ 1,000 – 1,500 บาท/สัปดาห์ เดือนที่ผ่านมา กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 5,000 – 9,000 บาท/สัปดาห์ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 5-6 เท่าหรือ 500-600 %

 

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

      จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนกันยายน ในส่วนของกิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ และกิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี พบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น

 

ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19

      จากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรค Covid-19 พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทราบถึงข่าวเกี่ยวกับโรค Covid-19 ที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบัน และตระหนักถึงการป้องกันตนเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคระบาด เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือ  ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมหมู่บ้าน การเข้าวัดทำบุญ การจ่ายตลาดในชุมชน รวมไปถึงการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร เป็นต้น และทางตำบลตูมใหญ่เองก็มีการจัดสถานกักกันตัวผู้ที่เดินทางงมาจากพื้นที่สีแดง เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรค Covid-19 โดยใช้สถานที่โดมขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่เป็นสถานที่กักกันตัวทางอาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้มีจัดทำถุงยังชีพและมีการนำไปแจกให้ผู้ที่กักตัวต่อไป

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

  1. ได้เรียนรู้ถึงการทำตลาดออนไลน์
  2. ได้เรียนรู้ถึงวิธีการออกแบบโลโก้ให้เป็นที่จดจำและเหมาะสม
  3. ได้เรียนรู้ถึงการออกแบบโครงสีโดยการใช้แม่สี
  4. ได้เรียนรู้ถึงการทำผ้านุ่มผ้าหอมจากการใช้นาโนเทคโนโลยี
  5. ได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกัน

 

แผนการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือนตุลาคม 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  • ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม
  • คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ และโปสเตอร์การท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  • ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  • การ​เผยแพร่​สื่อประชาสัมพันธ์​การท่องเที่ยวและการพัฒนา​ตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์​ชุมชนผ่าน​แพลตฟอร์ม​ Facebook
  • ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่
  • ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือในเดือนตุลาคมต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  • นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายนต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส Covid-19

สื่อประกอบการทำงาน เดือนกันยายน 2564

อื่นๆ

เมนู