1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED04 - ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  4. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หน้ากากป้องกันโควิดด้วยผ้าภูอัคนี การออกแบบและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย การบริหารจัดการขยะ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หน้ากากป้องกันโควิดด้วยผ้าภูอัคนี การออกแบบและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย การบริหารจัดการขยะ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวศิโรรัตน์ จิตรภักดี ประเภทนักศึกษา โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) 1 ตำบล 1 มหาลัย โดยรับผิดชอบในส่วนของตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หน้ากากป้องกันโควิดด้วยผ้าภูอัคนี โดยได้ท่านวิทยากร 2 ท่านคือ อาจารย์ผจงจิต เหมพนม และอาจารย์อมรรัตน์ สุขจิตต์ ท่านได้อบรมเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเข้าใจถึงปรเด็นรวมถึงรายละเอียด จากนั้นท่านวิทยากรจึงได้จัดทำแบ่งกลุ่มให้ออกแบบสินค้า เช่น ออกแบบกระเป๋า เสื้อผ้า หมอน เป็นต้น

 

ออกแบบและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยได้รับเกียรติจากท่าน ดร.เดชภณ ทองเติม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ เป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ทางท่านวิทยากรได้พาชมคลิปวิดีโอเกี่ยวกับโรงเรียนผู้สูงอายุ และมีการให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมกิจกรรมไปด้วย คือการแจกกระดาษและปากกา พร้อมหาคำตอบจากท่านวิทยากรที่ท่านตั้งให้ โดยมีทางทีมงานเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ

 

 

 

การออกแบบและพัฒนาธนาคารขยะตามบริบทของชุมชน โดยมีวิทยากรคือ นางประเนียร รุ่งโรจน์ ประธานอสม.ชุมชนบุลำดวนใต้ และประธานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ได้มีการอบรมต่อเนื่องจากวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 โดยจัดอบรมในหัวข้อของ กระบวนการในการก่อตั้งธนาคารขยะ ระบบการดูแลและบริหารงานและภาพอนาคตของธนาคารขยะ

 

 

และขอขอบคุณท่าน ท่านอ.ดร.พัชนี กุลฑานันท์ คณบดีคณะครุศาสตร์ ที่ปรึกษาของโครงการ U2T คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ได้มาร่วมโครงการและให้ความรู้อย่างดีขอขอบคุณอาจารย์ เจ้าหน้าที่ทีม และชื่นชมทีมงาน U2T ทุกคน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาบ้านต้นแบบการบริหารจัดการขยะ โดยเริ่มจากผู้นำชุมชน  ช่วยกันบริหารทรัพยากรในท้องถิ่น และพยายามใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดขยะกับครัวเรือนและชุมชน  ให้คนในชุมชนได้เห็นว่าเราพยายามที่จะมาช่วยพัฒนาชุมชนให้เกิดขึ้นจากการรวมพลัง ผสานพลัง ซึ่งจะก่อนให้เกิดการพัฒนที่ยั่งยืนในชุมชน

 

อื่นๆ

เมนู