ข้าพเจ้า นายนนทกร สียางนอก นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา รหัส ED01 ประจำตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ซึ่งมีระยะเวลาการปฏิบัติงานในพื้นที่ 11 เดือน โดยอยู่ในการดูแลและสนับสนุนของอาจารย์ 3 ท่าน ได้แก่ อาจารย์นฤมล จิตต์หาญ, อาจารย์ชลาลัย วงศ์อารีย์ และอาจารย์ภูวนัย กาฬวงศ์ อาจารย์สาขาวิชานาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อาจารย์ผู้ดูแลพื้นที่ มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาตำบลถลุงเหล็ก คือการส่งสริมการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของตำบล โดยเป็นการร่วมมือปฏิบัติงานในทุกภาคส่วนแบบบูรณาการทั้งมหาวิทยาลัย คณาจารย์ นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ ประชาชนทั่วไป และชุมชน
ในการปฏิบัติงาน อาจารย์ผู้ดูแลพื้นที่ และผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมประชุมสร้างความเข้าใจ วางแผนงาน และแบ่งงานในการลงเก็บข้อมูล ในแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (แบบฟอร์ม 01) และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (แบบฟอร์ม 02) ซึ่งข้าพเจ้าและนายราเชน อุตส่าห์ดี ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ของบ้านหนองเหล็ก หมู่ 9 ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 112 ครัวเรือน ข้าพเจ้า ได้ลงพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพบกับผู้นำหมู่บ้าน คือ นายสมอาจ พิมพ์นนท์ ผู้ใหญ่บ้านหนองเหล็ก หมู่ 9 โดยได้อธิบายและขอความอนุเคราะห์เข้าสำรวจข้อมูลในพื้นที่ และได้ลงสำรวจพื้นที่เป็นรายครัวเรือนตามแบบฟอร์ม 01 และแบบฟอร์ม 02 โดยการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือน และมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 และได้ลงพื้นที่ของบ้านผักแว่น หมู่ 11 เพื่อร่วมกับนายสมชาย ม่วงอ่อน สำรวจข้อมูลรายครัวเรือน จำนวน 68 ครัวเรือน และเมื่อได้สำรวจข้อมูลตาม แบบฟอร์ม 01 และแบบฟอร์ม 02 เรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลที่ได้สำรวจตามแบบฟอร์ม 01 และแบบฟอร์ม 02 นำข้อมูลกรอกลงระบบของเว็บไซต์ u2t.bru.ac.th
และต่อมา ในวันที่ 16 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 อาจารย์ผู้ดูแลพื้นที่ และผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมประชุมเพื่อสรุปงานที่ได้ปฏิบัติตลอดเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และหลังจากได้สำรวจข้อมูลในพื้นที่ จึงร่วมวางแผนเป้าหมายการพัฒนาชุมชนต่อไป
จากการปฏิบัติงานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้นำชุมชน ประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ ในการสำรวจข้อมูล ซึ่งได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประชาชนในหมู่บ้านได้ผลิต หลังจากเสร็จสิ้นจากอาชีพหลัก สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้านที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม และความต้องการของชุมชนที่อยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์พัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้ดียิ่งขึ้น