ข้าพเจ้านายสมชาย ม่วงอ่อน นักศึกษาผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งการปฏิบัติงานในเดือนพฤษภาคมนี้ จะเป็นการอบรมให้ความรู้ด้านการยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอฯ แต่ด้วยในปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด 19 (COVID – 19) มีแนวโน้มของการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย รวมถึงพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผลให้การจัดอบรมให้ความรู้ด้านการยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอฯ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ต้องเลื่อนออกไป จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

               ดังนั้น การปฏิบัติงานในเดือนนี้ ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการสำรวจข้อมูลต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้แก่ 1) ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2) แหล่งท่องเที่ยว 3) ที่พัก/โรงแรม 4) ร้านอาหารในท้องถิ่น 5) อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6) เกษตรกรในท้องถิ่น 7) พืชในท้องถิ่น 8) สัตว์ในท้องถิ่น 9) ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 10) แหล่งน้ำในท้องถิ่น ซึ่งข้าพเจ้าได้ทำการสำรวจข้อมูลประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

                                 ภาพ : การสำรวจข้อมูลผ่านระบบ https://cbd.u2t.ac.th/

               การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพนั้น เกิดจากเกษตรกรในชุมชนมีการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ในการทำการเกษตร แต่ผลผลิตที่ได้ไม่มากเท่าที่ควร มีค่าใช้จ่ายในจำนวนที่มาก ทั้งยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ จึงมีการรวมตัวกันของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ คิดค้นการทำปุ๋ยหมักใช้เอง โดยมีทั้งปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ และปุ๋ยหมักจากพืช เริ่มจากปุ๋ยหมักแบบแห้ง และต่อด้วยปุ๋ยหมักน้ำ โดยวัสดุในการทำปุ๋ยหมักแห้งส่วนใหญ่จะเป็นของที่หาได้จากในครัวเรือนหรือในชุมชน เช่น มูลสัตว์ แกลบ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตของแต่ละครอบครัว และยังมีการทำสารไล่แมลงจากวัสดุที่หาได้ในชุมชน เช่น สะเดา บอระเพ็ด ตะไคร้หอม ใบมะกรูด ยาสูบ หรือพืชที่มีลักษณะขม เผ็ด ร้อน ขื่น นํามาหมักกับกากน้ำตาลและน้ำ นําน้ำที่ได้ไปฉีดพ่นไล่แมลงในนาข้าว และการทำการเกษตรอื่น ๆ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีปริมาณมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งกับเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกด้วย

 

อื่นๆ

เมนู