ข้าพเจ้านายนฤเบศร์ หินไชยศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  ตามโครงการการยกเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

 

ได้เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว ณ ศูนย์มีชัย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการจัดกรรมดังต่อไปนี้

  1. การบรรยายเรื่องแนวคิดของมินิฟาร์ม
  2. การบรรยายเรื่องการบริหารจัดการ น้ำ ดิน และคน
  3. การผสมดินปลูก
  4. การเพาะเมล็ด แบบอบร้อน อบเย็น ก่อนลงถาดเพาะ
  5. การย้ายกล้าปลูก การให้น้ำ ให้ปุ๋ย
  6. การเพาะถั่วงอก
  7. การยายพันธุ์พืช การปักชำ – มะนาววัยใส – การตอนมะละกอ
  8. การปลูกพืชในเข่ง และการให้ปุ๋ย
  9. การปลูกผักไฮโตรน้ำนิ่ง
  10. การทำกุยช่ายขาว
  11. การทำน้ำยาไล่แมลง
  12. การเลี้ยงใส้เดือน
  13. การบรรยายเรื่องกาตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์
  14. เยี่ยมชมกลุ่มเกษตรกร ไม้ดอกไม้ประดับ

 

ตัวอย่างรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม

  • การผสมดิน
    ส่วนผสมดิน
    ดินร่วน     3  ส่วน
    ขี้วัว           2  ส่วน
    แกลบดิบ   1  ส่วน
    แกลบดำ    1  ส่วน
    *หมายเหตุ ถ้าดินที่ผสมออกไปทางดินเหนียวให้เพิ่ม แกลบดิบและแกลบเผา อีกอย่างละ 1 ส่วน
    การเตรียมดินสำหรับเพาะกล้า
    วัสดุสำหรับเพาะกล้า
    1.     มูลสัตว์
    2.    แกลบดำ
    3.    ขุยมะพร้าว
    4.    ทราย
  • การทำมะนาววัยใส (การปักชำแบบควบแน่น)
  1. เตรียมอุปกรณ์เช่น แก้วพลาสติก ขุยมะพร้าวละเอียด,ถุงร้อน,หนังยาง
  2. นำขุยมะพร้าวแช่น้ำให้ได้ความชื้น 60 % ใส่ในแก้วที่เตรียมไว้
  3. เลือกยอดมะนาวที่ไม่อ่อนและแก่มากเกินไป ตัดประมาณ 15-16 ซม. ทำปลายเป็นลิ่มเฉียง ประมาณ1 นิ้ว เสียบลงขุยมะพร้าวที่ใส่ไว้ในแก้วพลาสติก นำถุงร้อนมารัดรอบด้วยหนังยางเก็บไว้ที่มีแสงรำไร
  4. ทิ้งไว้งดน้ำงดอากาศ 1 เดือน จากนั้น เอาถุงครอบออก แล้วย้ายลงปลูกในเข่งหรือวงบ่อ เริ่มให้ปุ๋ย 15-15-15 +ยูเรีย

ข้อดี “การปักชำาแบบควบแน่น” หากเรามีต้นพันธุ์ที่ดี เพียงต้นเดียว แต่เราต้องการขยายพันธ์ในปริมาณมาก ถ้าเราใช้การตอนกิ่งจะได้จำนวนไม่มาก แต่หากเราใช้วิธีการปักชำด้วยวิธีนี้ สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก

  • การตอนมะละกอ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตอนกิ่งมะละกอ

  1. ขุยมะพร้าว
  2. เศษไม้เนื้อแข็ง
  3. เชือกฟาง
  4. ถุงพลาสติก
  5. น้ำยาเร่งราก

 

 

วิธีการตอนกิ่งมะละกอ

  1. เลือกกิ่งมะละกอสำหรับตอน โดยเลือกกิ่งมะละกอที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 นิ้ว วัดความยาวจากยอดประมาณ 1 ฝ่ามือ แล้วทำการใช้มีดเจาะเข้าในต้นมะละกอ โดยให้มีความหนาประมาณ 1:3 ส่วน ของกิ่งมะละกอ
  2. นำไม้เนื้อแข็งท่อนเล็กๆ ไปขั้นระหว่างรอยผ่ากิ่งมะละกอ ที่จำเป็นต้องเลือกไม้เนื้อแข็งเพราะต้องทำการตอนเป็นเวลาถ้าใช้ไม้ชนิดอื่นอาจจะย่อยสลายได้ (การขั้นไม้เนื้อแข็งกับรอยแยกมะละกอเพื่อปกป้องไม่ให้เนื้อเยื่อกิ่งมะละกอติดกัน
  3. จากนั้นนำน้ำยาเร่งรากมาทาบางๆรอบๆ รอยแยก เพื่อเร่งรากให้ขึ้นบริเวณนี้
  4. นำขุยมะพร้าวใส่ถุงพลาสติกแล้วทำการนำมาครอบรอยแยก โดยให้รอยแยกอยู่ตรงกลางขุยมะพร้าว เมื่อครอบจนมิดรอยแยกแล้ว ให้นำเชือกฟางมารัดถุงขุยมะพร้าวกับกิ่งมะละกอให้แน่น
  5. ทิ้งไว้ประมาณ 30-45 วัน จะพบรากขึ้นเต็มถุงแล้ว เมื่อรากขึ้นเต็มแล้ว ให้ทำการตอนกิ่งมะละกอ โดยเว้นจากส่วนที่ตอนออกมาประมาณ 5 นิ้ว แล้วนำไปปลูกได้เลย
  • การเพาะถั่วงอกคอนโด/ขวดน้ำ

อุปกรณ์สำคัญในการเพาะถั่วงอกคอนโด

  1. เมล็ดถั่วเขียวคุณภาพดี โดยถั่วเขียว 1 กิโลกรัมจะสามารถเพาะถั่วงอกได้ ประมาณ 5 กิโลกรัม
  2. ถังพลาสติกสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว เจาะรูระบายน้ำที่กันภาชนะ 1 รู (ขนาด 5 นิ้ว)
  3. ตะแกรงลวดวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว ชาสูง ประมาณ 5 นิ้ว
  4. ตะแกรงพลาสติกสีดำ ตัดเป็นวงกลม ขนาดเท่าภาชนะเพาะ จำนวน 4 ชิ้น
  5. กระสอบป่าน ตัดเป็นวงกลม ขนาดเท่าภาชนะเพาะ จำนวน 5 ชิ้น
  6. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถังแช่เมล็ด สายยาง น้ำสะอาดกะละมัง ตะแกรงล้างถั่วงอก

อุปกรณ์สำคัญในการเพาะถั่วงอกในขวดน้ำ

ขวดน้ำเจาะก้นขวดและรอบขวด เพื่อให้น้ำระบายได้

วิธีการเพาะถั่วงอกคอนโด/ขวดน้ำ

  1. ใช้เมล็ดถั่วเขียว ประมาณ 500 กรัม แช่เมล็ดในน้ำธรรมดาประมาณ 6-8 ชั่วโมง หรือน้ำอุ่น 2 ชั่วโมง
  2. ล้างเมล็ดถั่วเขียวที่แช่ในน้ำสะอาด โดยล้างเอาสิ่งเจือปนและเมล็ดพองตัวออกทิ้ง
  3. นำเมล็ดถั่วเขียวที่ล้างสะอาดแล้ว ใส่ในภาชนะที่เตรียมเพาะ โดยโรยและเกลี่ยเมล็ดให้เสมอกันบนตะแกรงพลาสติกชั้นแรกล่างสุด (ความหนาของเมล็ดที่เพาะ ประมาณ 1 เซนติเมตร) ปิดทับด้วยกระสอบ จากนั้น ชั้นที่2-4 ทำเหมือนกับชั้นแรก รวม 4-5 ชั้น แต่ไม่เกิน 5 ชั้น สำหรับขวดน้ำนำเมล็ดถั่วเขียวใส่ขวดประมาณ ¼ ของขวดน้ำ นำไปไว้ในที่ร่มและเย็น รดน้ำทุกวัน วันละ 3-4 ครั้ง
  4. เมื่อเพาะถึงวันที่ 3 นำถั่วงอกที่ได้มาตัดราก ล้างเอาเปลือกถั่วเขียวออกจะได้ถั่วงอกสำหรับบริโภค ประมาณ 2-2.5 กิโลกรัม
  • จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

คือ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติทั้งในดินและน้ำ ทำหน้าที่กำจัดของเสีย ก๊าซและสารพิษต่างๆ

วัสดุ

  1. ไข่ไก่ 1  ฟอง
  2. น้ำปลา 2  ช้อนโต๊ะ
  3. ผงชูรส 1  ช้อนชา
  4. น้ำเปล่า 25  ลิตร

วิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  1. นำน้ำเปล่าใส่ขวดขนาด 1.5 ลิตร ไปตากแดดประมาณ 3 วัน
  2. ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลา ผงชูรส คนให้เข้ากัน
  3. เติมไข่ไก่ที่เตรียมไว้ ลงในขวดน้ำเปล่า
  4. นำไปตั้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่งถึงทุกวัน แล้วลองสังเกตผลดู ถ้าน้ำเป็นสีแดง แสดงว่ามีจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  1. ช่วยตรึงไนโตรเจนในดิน เพิ่มไนโตรเจนให้กับพืช
  2. เร่งการเจริญเติบโต ทำให้พืชแข็งแรงแล้วโตเร็วเป็น 3 เท่า
  3. เมื่อใช้ทางดินทำให้รากพืชแข็งแรงและหาอาหารได้ดีขึ้น ใช้กับนาข้าว ช่วยเร่งการแตกกอของข้าว
  4. ช่วยในการย่อยธาตุอาหารและวัตถุอินทรีย์ในดิน เพื่อให้พืชดูดซึมไปใช้ได้ง่าย
  5. ป้องกันพืชโดยการทำลายจุลินทรีย์ไม่ดีในดิน ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในพืช

 

  • การตลาดออนไลน์ ขายสินค้าเกษตร
    การตลาดออนไลน์ สามารถทำอย่างไรได้บ้าง
  1. หาจุดเด่นของสินค้าว่าคืออะไร
  2. ไม่รู้จะใช้แพลตฟอร์ม เริ่มต้นที่ Facebook
  3. ขายสินค้าให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ซื้อ
  4. คุณภาพสินค้าและบริการไม่ดี ครั้งต่อไปจะไม่มีใครซื้อ
  • การไปลงพื้นที่ของหมู่บ้านหนองตาไก้-โคกพลวง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเพาะปลูกไม้มงคล ไม้ประดับ และศึกษาเกี่ยวกับพืชทนแล้งอย่างแคคตัส ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในขณะนี้ และได้ข้อคิดว่า

ช่วงแรก ต้นไม้กินคน

ช่วงกลาง ต้นไม้กินต้นไม้

ช่วงท้าย คนกินต้นไม้

ทั้งนี้หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมได้มีพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

สิ่งที่ได้ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้คือ ได้เรียนรู้ถึงการทำการเกษตรในรู้แบบต่าง ๆ และยังได้ข้อคิดในการดำเดินการวางแผนในแต่ละกิจกรรมที่เราจะทำ และจะนำเอาความรู้ทั้งหมดนี้ไปพัฒนาต่อยอดให้แก่ชาวบ้านที่สนใจ

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู