ข้าพเจ้า นางสาวกมลวรรณ บุตรไทย กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : ED05 คณะครุศาสตร์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจาdมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การใช้ปุ๋ยเคมีในการทำการเกษตรนั้น ทำให้ได้ผลผลิตที่สวยงาม และได้ผลผลิตที่มีปริมาณมากตามความต้องการของท้องตลาด แต่ในความสวยงาม และปริมาณของผลผลิตที่มากนั้นอาจแฝงไปด้วยอันตรายที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้ที่ใช้ปุ๋ยเคมี รวมถึงผู้บริโภคอีกด้วย

อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม คือ การตกค้างของสารเคมีในดิน หน้าดินเกิดการเสื่อมโทรม รวมไปถึงปุ๋ยเคมีอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้เคียงได้อีกด้วย

อันตรายต่อสุขภาพ คือ ผู้ที่ใช้ปุ๋ยเคมีหากไม่มีการใช้อุปกรณ์ในการป้องกันตนเองจากสารเคมี อาจทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้ ทั้งทางการสัมผัส และการสูดดม

ดังนั้น ทางหัวหน้าโครงการ คณาจารย์ประจำตำบลเจริญสุข รวมถึงทีมผู้ปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ทั้ง 20 คนได้เล็งเห็นปัญหาของประชาชนในพื้นที่ตำบลเจริญสุข จึงได้มีการจัดกิจกรรมการอบรมการปลูกพืชผักสวนครัวพืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงมีการอบรมวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพร่วมด้วย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ใหญ่บ้านจากหมู่ 12 บ้านเจริญสุขในการเอื้ออำนวยสถานที่ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ตำบลเจริญสุขทั้ง 14 หมู่บ้าน

ในกิจกรรมดังกล่าวมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ และวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งให้แก่ประชาชนในพื้นที่วิทยากรได้มีการสาธิตวิธีการทำปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และปุ๋ยชีวภาพจากพืชต่าง ๆ เช่น ต้นกล้วย ฝรั่ง เป็นต้น

โดยในกิจกรรมมีการแบ่งกลุ่ม เพื่อเรียนรู้วิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติทั้งในดินและน้ำ ทำหน้าที่ช่วยกำจัดของเสีย ก๊าซและสารพิษต่าง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีส่วนผสมดังนี้ ขวดน้ำเปล่า ขนาด1.5 ลิตร,น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ, ไข่ไก่, เปลือกไข่ไก่, น้ำปลาร้า,ช้อนสำหรับตวง ในอัตราอัตราส่วน 1:1

วิธีการทำ

  1. ตอกไข่ใส่ชามผสม จากนั้นใส่น้ำปลา ตีส่วนผสมให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
  2. จากนั้นนำส่วนผสมในชามมากรอกลงในขวดที่มีน้ำตามแหล่งธรรมชาติ 1 ช้อนโต๊ะ
  3. นำเปลือกไข่ที่บดละเอียดใลงในขวดน้ำ 1 ขวด ต่อ 1 ช้อนชา
  4. ทำการเขย่าส่วนผสมให้เข้ากันแล้วนำไปผึ่งแดดไว้ 1-3 เดือน แต่ต้องมีการเขย่าขวดทุกวัน
    เพื่อที่จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่าเต็มที่ จากนั้นสามารถนำไปใช้ได้เลย

ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  1. ช่วยตรึงไนโตรเจนในดิน เพิ่มไนโตเจนให้พืช
  2. เร่งการเจริญเติบโตทำให้พืชแข็งแรงแล้วโตเร็วเป็น 3 เท่า
  3. ป้องกันพืชโดยการทำลายจุลินทรีย์ไม่ดีในดินที่เนสาเหตุที่ให้พืชเกิดโรค
  4. เมื่อใช้ทางดินทำให้รากพืชแข็งแรง และหาอาหารได้ดีขึ้น ใช้กับนาข้าวช่วยเร่งการแตกกอของข้าว
  5. ช่วยในการย่อยอาหาร และวัตถุอินทรีย์ในดิน เอให้พืชดูดซึมไปใช้ได้อย่างง่ายดาย

กิจกรรมแบ่งกลุ่มเรียนรู้การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

 

การสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ มีส่วนผสมดังนี้

  1. 1. ผลไม้ หรือ ผัก (ต้นกล้วย ฝรั่ง) 3 ส่วน
  2. กากน้ำตาล 1 ส่วน
  3. หัวเชื้อ EM 1 ส่วน
  4. น้ำเปล่า 10 ส่วน
  5. ถังสำหรับบรรจุแบบมีฝาปิด

วิธีทำ

  1. ใส่ผลไม้ลงในภาชนะทึบแสงมีฝาปิด
  2. ละลายน้ำ และกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงให้เข้ากัน และเติมลงในภาชนะใส่ผลไม้ที่เตรียมไว้คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  3. เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ คนให้ทั่ว
  4. ปิดฝาให้สนิทเก็บให้มิดชิดในที่ร่ม
  5. ทิ้งไว้ 3 เดือน และเปิดใช้งาน

วิธีใช้

1/500: สำหรับไม้ที่มีใบบาง

1/200: สำหรับไม้ที่มีใบหนา หรือไม้ผล

1/200: ปรับปรุงบำรุงดิน

1/100: ไล่แมลงวัน

          1/10 + เกลือ: ฆ่าหญ้า แบบเข้มข้น: ราดชักโครงหรือพื้นห้องน้ำเพื่อดับกลิ่น และย่อยสลายสิ่งปฏิกูล

กิจกรรมฝึกปฏิบัติทำปุ๋ยชีวภาพ

            สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม ได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงถือได้ว่าเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้

ที่มาของข้อมูลวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ https://www.greenpeace.org/thailand/story/1805/nature-compost/

ที่มาของข้อมูลวิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง https://www.organicfarmthailand.com/how-to-make-photosynthetic-microorganisms/

อื่นๆ

เมนู