โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ข้าพเจ้า นางสาวสิริยากร ไกรพะเนาว์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานประจำเดือนตุลาคม 2564 ได้มีการประชุมออนไลน์แบบเรียลไทม์ ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและผู้จ้างงาน เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตรฐานสินค้า OTOP (multiplication sign)
โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังต่อไปนี้
1.อาจารย์และเจ้าหน้าที่
2.ผู้รับจ้าง/ผู้นำชุมชน
3.กลุ่มเกษตรกร
4.กลุ่มผ้าฝ้ายยายแย้ม
5.กลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวแตน
วิทยากร อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น
2.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผ้าฝ้ายยายแย้ม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวแตน มีรายได้เพิ่มขึ้น 5% ตามเป้าหมายของโครงกายกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้มให้ประเทศ
ปัญหาหลักของผลิตภัณฑ์ชุมชนคือเรื่องของมาตรฐานหรือการรับรอง ถึงแม้ว่าสินค้าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีหรือมีคุณค่ามากก็ตาม แต่ถ้าไม่มีใบรับรองคุณภาพก็จะจำหน่ายสินค้าได้ในวงจำกัดเท่านั้น การรับรองคุณภาพในระดับต่าง ๆ มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับว่าจะเป็นมาตรฐานระดับใด ดังนั้นการยกระดับสินค้าชุมชน OTOP จะสามารถช่วยผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือผู้ประกอบการในชุมชนที่มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว ให้มีศักยภาพ มาตรฐานที่สังคมยอมรับสามารถแข่งขันได้ และสามารถยกระดับให้ธุรกิจมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อไป
OTOP คือ ONE TAMBON ONE PRODUCT “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวคิดที่ต้องการให้แต่ละหมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์หลักเป็นของตัวเอง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาทำการพัฒนาจนกลายเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน โอท็อปในประเทศไทย
สิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือ
1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
2.ส่งเสริมมาตรฐานสินค้า โดยสนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ฉลากโภชนาการ หรือตรวจผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมออกรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ และให้คำปรึกษาเพื่อปรับปรุงมาตรฐานสินค้า
3.ตรวจประเมินสถานที่ผลิต พร้อมให้คำปรึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการยื่นขอมาตรฐาน อย. และจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจประเมิน
ขอขอบพระคุณ : คณบดีคณะครุศาสตร์ (อ.ดร.พัชนี กุลฑานันท์) รองคณบดีคณะครุศาสตร์ (ผศ.ดร.เกษสุดา บูรณพันศักดิ์) ที่ปรึกษาของโครงการ U2T คณะครุศาสตร์
ขอขอบพระคุณ : อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง วิทยกรที่มาให้ความรู้กับพวกเรา
ขอขอบพระคุณ : ท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านในการแสดงพลังของชุมชนยายแย้มวัฒนา
ขอขอบคุณ : อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลยายแย้มวัฒนา
พวกเรา U2T ตำบลยายแย้มวัฒนา เราจะทำงานทุกงานด้วยความทุ่มเท ตั้งใจ ให้ได้งานที่มีคุณภาพตามศักยภาพที่มี ขอบพระคุณค่ะ