ข้าพเจ้า นายสมชาย ม่วงอ่อน นักศึกษาผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

          ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ ทำให้การจัดอบรมเพื่อพัฒนาพื้นที่ตำบลตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมได้ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันอย่างเคร่งครัด อาจารย์และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลจึงได้ร่วมจัดประชุมเพื่อวางแผนและชี้แจงการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

          วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 16.00 น. อาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน ได้จัดการประชุมในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Google Meet เพื่อร่วมปรึกษาและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม โดยมีกิจกรรมดังนี้

               – การแนะนำสมาชิกผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลรายใหม่ ซึ่งได้รับการคัดเลือกเข้ามาเพิ่มเติมจำนวน 5 คน แบ่งเป็นประเภทบัณฑิตจบใหม่ 3 คน ประชาชน 1 คน และนักศึกษา 1 คน

               – การประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการในพื้นที่ระดับจังหวัด ด้วยเครื่องมือ SROI โดยแบ่งเป็น 11 ห้วข้อ ซึ่งข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในหัวข้อที่ 10 ได้แก่ หน่วยงานอปท. เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เทศบาล เป็นต้น

               – การประสานงานและประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมอบรม 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมอบรมนักเล่าเรื่องให้กับชุมชน ในวันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2564  2) อบรมการทำน้ำมันนวดหอมระเหยจากสมุนไพรพื้นบ้าน ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 และ 3) กิจกรรมหนุนเสริมธนาคารน้ำและความรู้ด้านการปลูกพืชสมุนไพร ณ บ้านแสงจันทร์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 25 – 26 ตุลาคม 2564

ภาพ : การประชุมผ่านโปรแกรม Google Meet

          วันที่ 8 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00 น. ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลถลุงเหล็ก ได้ประชุมในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Google Meet อีกครั้ง เพื่อร่วมปรึกษาและนัดหมายการลงพื้นที่ชุมชน ในการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมอบรมและหาบุคคลที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

          วันที่ 10 ตุลาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลถลุงเหล็ก ได้ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมอบรม โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

               กลุ่มที่ 1 รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 6, หมู่ที่ 8,  หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 15

               กลุ่มที่ 2 รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3, หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 7, หมู่ที่ 10, หมู่ที่ 11, หมู่ที่ 12 และหมู่ที่ 16

               กลุ่มที่ 3 รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ หมู่ที่ 4, หมู่ที่ 13 และหมู่ที่ 14

          ซึ่งข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ประจำกลุ่มที่ 2 และได้เดินทางไปยังบ้านของผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนตามหมู่ต่าง ๆ โดยมีการประสานงานในเบื้องต้นว่า จะมีการจัดกิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งจะต้องมีตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านในการเข้าร่วมอบรมในกิจกรรมที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนได้ประชาสัมพันธ์ต่อสมาชิกในหมู่บ้านที่สนใจ ซึ่งการจัดกิจกรรมมีอยู่ 3 กิจกรรม ได้แก่

               1) ในวันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2564 กิจกรรมอบรมนักเล่าเรื่องให้กับชุมชน

               2) ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 กิจกรรมอบรมการทำน้ำมันนวดหอมระเหยจากสมุนไพรพื้นบ้าน

               3) ในวันที่ 25 – 26 ตุลาคม 2564 กิจกรรมหนุนเสริมธนาคารน้ำและความรู้ด้านการปลูกพืชสมุนไพร ณ บ้านแสงจันทร์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

 

          ภาพ : การลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์

          วันที่ 13 ตุลาคม 2564 ได้ดำเนินการลงพื้นที่ในหมู่บ้านที่รับผิดชิดชอบ เพื่อเก็บข้อมูล CBD ผ่านระบบของ https://cbd.u2t.ac.th/ เพิ่มเติม ในหัวข้อผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด นั่นคือ บ้านผักแว่น หมู่ที่ 11 โดยการย้ายกลับมาเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นในพื้นที่ จึงได้ย้ายกลับมาอยู่ที่ภูมิลำเนาเดิม เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า และได้ดำเนินการเก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่น โดยพืชที่ข้าพเจ้าสำรวจในครั้งนี้ คือ ต้นกระบองเพชรใบเสมา ซึ่งพบเห็นได้โดยทั่วไปในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก ชาวบ้านนิยมปลูกไว้เพื่อประดับตกแต่งสวนภายในเขตบ้านเรือน และพื้นที่อื่น ๆ

ภาพ : ข้อมูลพืชในท้องถิ่น ต้นกระบองเพชรใบเสมา

วิดีทัศน์สรุปงาน เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564

อื่นๆ

เมนู