1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED01 - ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. ED01 อบรมเกี่ยวกับนักเล่าเรื่องท่องเที่ยวในชุมชน การทำน้ำมันหอมระเหยและการหนุนเสริมการทำธนาคารน้ำ การส่งเสริมสุขภาพ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

ED01 อบรมเกี่ยวกับนักเล่าเรื่องท่องเที่ยวในชุมชน การทำน้ำมันหอมระเหยและการหนุนเสริมการทำธนาคารน้ำ การส่งเสริมสุขภาพ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

ดิฉันนางสาวชญานิษฐ์  ทวีพวงเพชร  เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทำหน้าที่รับผิดชอบตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

 

ได้มีการจัดพัฒนาอบรมพัฒนาองค์ความรู้ทั้งหมด 4 กิจกรรม ดังนี้ 1. โครงการพัฒนาองค์ความรู้การสร้างนักเล่าเรื่องในชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ความน่าสนใจ ของชุมชนผ่านเรื่องราวของกระบวนการสืบสานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. โครงการส่งเสริมการทำน้ำมันนวดหอมระเหยจากสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อเพิ่มรายได้หลังสถานการณ์โควิด 3. อบรมการหนุนเสริมการทำธนาคารน้ำ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านแสงจันทร์ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ เพื่อเสริมสร้างความรู้การจัดการน้ำในชุมชนและอบรมการเสริมความรู้ด้านการปลูกพืชผักสมุนไพรแบบผสมผสานเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และ 4. อบรมเรื่องการให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติตนในการป้องกันเชื้อโควิด – 19และการรณรงค์การฉีดวัคซีนแก่ผู้สูงอายุในตำบล “การส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอ ชรา ชีวายืนยาว”

 

ในวันที่ 18 – 21 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อทำการเชิญชวนผู้เข้าร่วมอบรมและจัดเตรียมสถานที่สำหรับการจัดอบรมที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 22 – 24 ตุลาคม 2564 ณ ศาลาประชาคม หมู่ 16 บ้านโนนสำราญ ต. ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ต่อมาในวันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2564 ได้มีการจัดอบรมการพัฒนาองค์ความรู้การสร้างนักเล่าเรื่องให้ชุมชน ณ ศาลาประชาคม หมู่ 16 บ้านโนนสำราญ ต. ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โดยการอบรมในครั้งนี้เป็นการอบรมเพื่อเล่าเรื่องนำเสนอวิถีชีวิตของคนในชุมชนและการท่องเที่ยวสัมผัสประสบการณ์แบบ Exclusive กับคนในชุมชน โดยการอบรมครั้งนี้จะมีวิทยากรมาบรรยายแนวทางการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวในครั้งนี้จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ อาจารย์วันดี เธียรสวัสดิ์ และท่านผู้ช่วยวิทยากร อาจารย์จินตนา วัชรโพธิ์กร ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ได้มีการจำลองโปรแกรมท่องเที่ยวในชุมชน โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมระดมวางแผนการจำลองการท่องเที่ยวในชุมชนในครั้งนี้ด้วย เพื่อที่จะได้นำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติการท่องเที่ยวได้จริง

ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ได้มีการจัดอบรมการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการส่งเสริมการทำน้ำมันนวดสมุนไพรหอมระเหยจากสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อเพิ่มรายได้หลังสถานการณ์โควิด ณ ศาลาประชาคม หมู่ 16 บ้านโนนสำราญ ต. ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โดยเป็นการให้ความรู้ การเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรใกล้ตัวและประโยชน์ของน้ำมันนวดสมุนไพร เป็นน้ำมันนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ น้ำมันไพลสูตรนี้เตรียมได้จากการนำไพลสดมาทอดกับน้ำมันพืชชนิดอิ่มตัว (ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดอิ่มตัว) ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันปาล์ม ซึ่งน้ำมันไพลสูตรนี้จะใส่ขมิ้นชันเพิ่มด้วย เพื่อเสริมฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวดได้ โดยวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำมันนวดสมุนไพรในครั้งนี้คือ นางอรพรรณ เอี่ยมวิริยาวัฒน์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก รพ.บุรีรัมย์

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่

  • หัวไพลสด 2 กิโลกรัม
  • ขมิ้นชันสด 1/2 กิโลกรัม
  • น้ำมันมะพร้าว 1 กิโลกรัม
  • การบูร 100 กรัม

วิธีการทำ

  1. นำสมุนไพร (ไพลสดและขมิ้นชัน) ไปล้างให้สะอาดแล้วนำไพลสดและขมิ้นชันมาหั่นเป็นชิ้นเล็กและบาง
  2. นำน้ำมันมะพร้าว เทลงกระทะ และตั้งไฟ พอถึงคราวน้ำมันร้อนปานกลาง จึงค่อยนำไพลและขมิ้นชันลงทอดในน้ำมัน ทอดและคนไปเรื่อยๆเพื่อไม่ให้ไพลและขมิ้นติดกระทะ จนไพลและขมิ้นชันกรอบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ และน้ำมันเป็นสีเหลืองใส หลังจากนั้นกรองน้ำมันและนำไพลและขมิ้นชันออก
  3. พอน้ำมันเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นลง จากนั้นจึงค่อยนำการบูรเทลงในน้ำมัน และหลังจากนั้นเทน้ำมันนวดลงในภาชนะที่สามารถปิดฝาให้สนิทป้องกันการระเหยได้

ในวันที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 07.30 น. รถออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ และเดินทางต่อเพื่อไปรับผู้ที่เข้าร่วมเดินทางและทีมงาน U2T บางส่วน ณ ศาลาประชาคมหมู่ 16 บ้านโนนสำราญ ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ และหลังจากนั้นเดินทางต่อไป ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านแสงจันทร์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ถึงเวลา 09.00 น. โดยเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับ การหนุนเสริมการทำธนาคารน้ำ เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการจัดการน้ำในชุมชน โดยวิทยากรให้ความรู้ในครั้งนี้คือ อาจารย์ไพรัตน์ ชื่นศรี เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ.2555 ซึ่งได้สอนวิธีการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดินเพื่อกักเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ได้ในยามฉุกเฉิน โดยเป็นการขุดบ่อในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก หรือจุดรวมของน้ำเพื่อกักน้ำให้ซึมลงไปชั้นหิน เป็นการพักน้ำรวมไว้เปรียบเสมือนธนาคาร หลังจากขุดเสร็จนั้น ต่อมาจึงใช้เศษไม้ ขวดแก้ว เศษอิฐ กรวด หรือ หิน มาถมในบ่อเพื่อให้นำน้ำออกมาใช้ได้เร็วขึ้นและเป็นการกรองน้ำเพื่อให้ได้น้ำที่ใสขึ้นไปในตัวอีกด้วย แนวคิดนี้เป็นการเก็บออมหรือกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับหน้าแล้ง หรืออุ้มน้ำในยามที่น้ำหลาก ถือว่าเป็นตัวอย่างของการบูรณาการความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถใช้บริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน

ในวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวในตำบลถลุงเหล็กว่ามีจุดไหนหรือผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในชุมชนที่น่าจะนำมาเสนอให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเพื่อสัมผัสประสบการณ์แบบ Exclusive กับคนในชุมชน และได้กรอกข้อมูลลงในเว็บไซต์ https://cbd.u2t.ac.th เพิ่มเติมอีกด้วย

 

วันที่ 6 พฤศจิกาน 2564 ได้มีการจัดอบรมการให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติตนในการป้องกันเชื้อโควิด – 19 และการรณรงค์การฉีดวัคซีนแก่ผู้สูงอายุในตำบลในหัวข้อเรื่อง “การส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอ ชรา ชีวายืนยาว”  โดยวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพในครั้งนี้คือ ท่านอรชร คนชุม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้าพยาบาล อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ, การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ, สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ, การสาธิตการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ผู้สูงอายุสมองดี และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยของผู้สูงอายุ

การลงพื้นที่ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้านในตำบลถลุงเหล็กที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการประสานงานต่างๆ และประชาสัมพันธ์ และได้รับความร่วมมือกับผู้เข้าร่วมอบรมเป้นอย่างดีและขอขอบคุณโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ คณะอาจารย์ และวิทยากรที่ได้มาให้ความรู้ในครั้งนี้

 

จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าภายในชุมชนได้มีการสร้างมาตราการป้องกัน COVID – 19 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อจากโรคระบาด และทำให้เรียนรู้การทำงานร่วมกับสมาชิกในทีมและชุมชนมากยิ่งขึ้น

 

 

 

อื่นๆ

เมนู