ข้าพเจ้า นางสาวภาคิณี อึงชัยศรี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน คณาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดหมายการประชุม และมอบหมายหน้าที่แก่ผู้ปฏิบัติงานผ่านทางระบบออนไลน์ (google meet) โดยงานที่ได้ปฏิบัติคือ การอบรมการพัฒนาเชิงปฏิบัติการด้านการนำเที่ยว, การอบรมแนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชัน และการลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม
การอบรมการพัฒนาเชิงปฏิบัติการด้านการนำเที่ยว ระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม 2564 โดยมีนางสาววรวิษฎา แต้มโคกสูง นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ มาเป็นวิทยากร ได้พูดถึงจุดเด่น และภาพรวมของตำบลบ้านยางถึงสถานที่ที่สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้ ทั้งนี้ได้พาคณะผู้ปฏิบัติงาน และอสม.ไปศึกษาที่บ้านของหมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน หมู่ 12 บ้านง้าง และหมู่บ้านจัดการตนเอง หมู่ที่ 15 บ้านโคกเจริญ โดยที่หมู่ 12 บ้านง้างมีปราชญ์ชาวบ้านด้านพืชสมุนไพรไทย คือ นายหอม หะทัยทาระ มาเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านที่ตนนั้นได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้สมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ และที่หมู่ 15 บ้านโคกเจริญมีคุณเชิด นกโยทินเป็นผู้นำที่มาให้ความรู้ของหมู่บ้านตนเอง ภายในชุมชนมีกลุ่มต่าง ๆ มากมาย เช่น กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มที่ทำเกษตรกรผสมผสาน กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ กลุ่มหาของป่า กลุ่มสานแห และกลุ่มสานตะกร้า ทั้งนี้คุณเชิด และชาวบ้านได้สาธิตการสอยไข่มดแดงโดยใช้ตะกร้าจากกลุ่มภายในชุมชนตนเอง และการทอผ้าขาวม้า
การอบรมแนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชัน ระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคม 2564 มีอาจารย์ดร. เลอสันต์ ฤทธิขันธ์ สาขาเทคโนโลยี และนวัตกรรมการการศึกษา คณะครุศาสตร์ และอาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะการจัดการ มาเป็นวิทยาการผู้ให้ความรู้เรื่อง การสร้างแอปพลิเคชัน, วิธีการสร้างแบบสอบถามในเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะทำการสำรวจ (google form) และเทคนิคการถ่ายภาพ และวิดีโอเพิ่มเติม
การลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติมนั้นได้แบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 7 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มในหัวข้อ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.ร้านอาหารในท้องถิ่น 3.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 4.พืชในท้องถิ่น 5.สัตว์ในท้องถิ่น 6.ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 7.แหล่งน้ำในท้องถิ่น
สุดท้ายนี้แผนงานการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคมนั้นได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ต้องขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน และอสม.ทุกท่านที่ได้เป็นส่วนนึงที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ สำเร็จ