โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ข้าพเจ้า นางสาวสิริยากร ไกรพะเนาว์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้มีการประชุมออนไลน์แบบเรียลไทม์ ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและผู้จ้างงาน เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ยุวมัคคุเทศก์ และสินค้าOTOP วิทยากร โดยอาจารย์วันดี เธียรสวัสดิ์กิจ ประธานชมรมมัคคุเทศก์จังหวัดบุรีรัมย์ และอาจารย์จินตนา วัชรโพธิกร อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ศิราณี จุโฑปะมา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรนฤมล ศักดิ์ปกรณ์การณ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองการบริหารงานบุคคล
นายธำรงค์ ชำนิจศิลป์ ปลัดเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา
นายวีระ ประสิทธิ์นอก รองนายกเทศมนตรีตำบลยายแย้มวัฒนาวัฒนา
โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้แก่
1.อาจารย์และเจ้าหน้าที่
2.ผู้รับจ้าง/ผู้นำชุมชน
3.กลุ่มเกษตรกร
4.กลุ่มผ้าฝ้ายยายแย้ม
5.กลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวแตน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น
2.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผ้าฝ้ายยายแย้ม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวแตน มีรายได้เพิ่มขึ้น 5% ตามเป้าหมายของโครงกายกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้มให้ประเทศ
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นความได้เปรียบด้วยการสร้างมูลค่า ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานแห่งความเป็นไทย วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นต้นทุนการท่องเที่ยวที่ตำบลยายแย้มวัฒนาเรามีอยู่แล้ว และไม่ว่าจะใช้มากเท่าไหร่ก็ไม่ทำให้ต้นทุนนี้หมดไป แต่กลับเป็นผลดีที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยกิจกรรมที่ถูกคัดเลือกนั้น มีความเหมาะสมที่จะนำมาพัฒนาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริง เพราะสามารถสร้างความผูกพัน สร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทั้งยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ได้มีประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของพื้นที่ผ่านการลงมือปฏิบัติ อันจะนำไปสู่ความชื่นชมและเข้าใจในจิตวิญญาณของพื้นที่ และในขณะเดียวกันก็ได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองไปพร้อมกัน ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญของการดำเนินงานคือ ‘ความสุขที่แท้จริงของชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนาบนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’
ยุวมัคคุเทศก์ คือ เด็กนักเรียนหรือเยาวชนที่มีจิตอาสาพาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยให้ความสำคัญกับความรู้ความเข้าใจและตระหนักใน คุณค่าความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่น และในการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในครั้งนี้มีเด็กนักเรียนเข้าร่วม และได้รับความรู้จากวิทยากรผู้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการพูดการนำเสนอสินค้า OTOP ภายในชุมชน เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์สินค้าOTOP ในครั้งนี้ได้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์และร้านค้าเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
1.กลุ่มผ้าไหมผ้าฝ้าย
2. กลุ่มไม้กวาด
3.กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ
4. กลุ่มเครื่องจักสาน
5. กลุ่มข้าวแตน
6. พัฒนาไอติมกะทิสด
7. น้ำปั่นและไก่ย่าง
8. ส้มตำเจ๊พรปากปลาแดก
9.ขนมครก
10.ขนมจีนเส้นสดโบราณ
สิ่งที่ได้รับในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมและประสบการณ์ใหม่ๆ ได้รับความรู้จากวิทยากรในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายในชุมชนยายแย้มวัฒนา การส่งเสริมและพัฒนายุวมัคคุเทศก์ ได้ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์และร้านค้าภายในชุมชนเพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชน
ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิราณีจุโฑปะมา รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤมล ศักดิ์ปกรณ์การณ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองการบริหารงานบุคคล
อาจารย์ดรพัชนี กุลฑานันท์ คณบดีคณะครุศาสตร์ และที่ปรึกษาโครงการ
ขอขอบพระคุณ นายธำรงค์ ชำนิจศิลป์ ปลัดเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา
นายวีระ ประสิทธิ์นอก รองนายกเทศมนตรีตำบลยายแย้มวัฒนา
ขอขอบคุณ : อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลยายแย้มวัฒนา
พวกเรา U2T ตำบลยายแย้มวัฒนา เราจะทำงานทุกงานด้วยความทุ่มเท ตั้งใจ ให้ได้งานที่มีคุณภาพตามศักยภาพที่มี ขอบพระคุณค่ะ