ข้าพเจ้า นายพีรภัทร รังพงษ์ ประเภทนักศึกษา ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

การปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม(ช่วงที่2)

        ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมประชุมกับทางคณะอาจารย์ประจำตำบลยายแย้มวัฒนาในเดือนธันวาคม สรุปได้ว่ามีกิจกรรมทั้งหมด 7 กิจกรรม กิจกรรมที่มีอยู่เดิม 5 กิจกรรม เพิ่มเติมส่งท้ายปีอีก 2 กิจกรรม ดังนี้

1.กิจกรรมการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าภูอัคนี

2.กิจกรรมการออกแบบและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี 

3.กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายด้วยผ้าภูอัคนี เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลโควิด

4.กิจกรรมการบริหารจัดการขยะ และการออกแบบพัฒนาธนาคารขยะตามบริบทของชุมชน

5.การส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาและการทำความดีเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

6.การทำรูปเล่มการรายงานผลการดําเนินงานประจำตำบล

7.การเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ลงCBD(เพิ่มเติม)

        การจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม ทางทีมงานได้มีการป้องกันตามมาตการการป้องกันโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด  การเว้นระยะห่างทางสังคม ล้องมือด้วยเจลล์แอลกอฮอล์ และสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งตลอดทั้งการจัดกิจกรรม

1.กิจกรรมการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยผ้าภูอัคนี
        เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชนยายแย้มวัฒนา (ผ้าฝ้ายภูอัคนี)  พัฒนาผ้าฝ้ายภูอัคนีให้เป็นของใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋าผ้าที่มีหลากหลายรูปแบบ กระเป๋าโทรศัพท์  หน้ากากอนามัย ได้รับเกียรติจากอาจารย์ผจงจิต เหมพนม และ อาจารย์อมรรัตน์ สุขจิตต์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมการอบรม โดยวิทยากรได้ให้คำปรึกษา ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยผ้าภูอัคนี การต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าไหมในรูปแบบที่มีความหลากหลาย ทันสมัย และมีคุณภาพเหมาะสมกับราคา สามารถใช้งานได้จริง และทางทีมงานร่วมกับชาวบ้านในชุมชนช่วยกันออกแบบและเสนอความคิดเห็นในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ทำจากผ้าไหม ให้เป็นเอกลักษณ์ของตำบลยายแย้มวัฒนา
ติดต่อซื้อสินค้า : เพจ Facebook , Shopee , Lazada หรือ หมู่ที่ 5 บ้านโนนเจริญ ตำบลยายแย้มวัฒนา

2.กิจกรรมการการออกแบบและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี     
        เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้  การพัฒนาทักษะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทางด้านร่าง อารมณ์ สังคม สติปัญญา ฝึกให้ผู้สูงอายุมีมุมมองเชิงบวกต่อตนเอง  มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย  สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามวัย โดยได้รับเกียรติจากท่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เตชภณ ทองเติม จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มาเป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมการอบรม อธิบายสัดส่วนเนื้อหาที่ควรมีในโรงเรียนผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เนื้อหาที่ผู้สูงอายุต้องรู้ 50% ควรรู้ 30% อยากรู้ 20% มีการปรึกษาหารือกันกับทางอาจารย์เรื่องการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสนใจและความพร้อมของผู้สูงอายุด้วย

                    

3.กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายด้วยผ้าภูอัคนี เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลโควิด
เป็นกิจกรรมที่ใช้อุปกรณ์เพียงอย่างเดียว คือ ผ้า มาช่วยในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ  ทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและอดทน การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำเกิดความคล่องตัวมากขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวรัตนา ปรุรัตน์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในครั้งนี้ ท่านวิทยากรได้ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้เข้าร่วมการอบรมตลอดระยะเวลาการอบรม และได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการออกกำลังกายที่ถูกวิธี บอกให้ทราบถึงข้อเสียของการออกกำลังกายที่ผิดวิธี และแนะนำวิธีการออกลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัย

      

4.กิจกรรมการบริหารจัดการขยะ การออกแบบและพัฒนาธนาคารขยะตามบริบทของชุมชน
เป็นกิจกรรมที่เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนให้สะอาด ปลอดจากมลพิษต่างๆ และมีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก นางประเนียร รุ่งโรจน์ ประธาน อสม.บุลำดวนใต้และประธานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ(Zero Waste) มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ และยังได้รับเกียรติจากทางท่าน ธำรงค์ ชำนิจศิลป์ ปลัดเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนามาเข้าร่วมในการวางแผนการจัดการขยะ ชุมชนมีการบริหารจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้หลัก การ 3R คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่

5.กิจกรรมการส่งเสริมจิตอาสาและการทำความดีเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
กิจกรรมจิตอาสาในครั้งนี้ทางทีมงาน u2t
ได้ร่วมมือร่วมใจกัน วางแผนงาน ขั้นตอน สิ่งที่ต้องทำ และอุปกรณที่ต้องเตรียม
ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา ได้รับเกียรติจากทางท่านปลัดเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนาและพี่ๆทีมงานเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนามาเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาในครั้งนี้ด้วย  ได้ดำเนินการลงพื้นที่ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 8 และ หมู่ที่ 13 บ้านต้นแบบจะเป็นบ้านผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทางทีม
งานได้ช่วยกันทำความสะอาด  ทำที่คัดแยกขยะ โดยแยกเป็น ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และขยะติดเชื้อและขยะอันตราย ทำรั่วบ้าน ทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อลดการเกิดน้ำขัง คอกปุ๋ยหมักเก็บเศษใบไม้ ทำแปลงผักสวนครัว ทั้งนี้ทางชาวบ้านในชุมได้มาร่วมกิจกรรมจิตอาสาด้วย การทำครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชนได้ปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน

       

6.การทำรูปเล่มการรายงานผลการดําเนินงานประจำตำบล แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของตำบล

ส่วนที่ 2 การบริหารโครงการและการดำเนินการโครงการ

ส่วนที่ 3 การประเมินศักยภาพตำบล

ส่วนที่ 4 สรุปและข้อเสนอแนะโครงการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

ส่วนที่ 5 ผู้ปฏิบัติงาน

ส่วนที่ 6 การต่อยอดพัฒนาตำบล พร้อมประเมินวิเคราะห์ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG
              (Bio-Cirular-Green Economy) ที่เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ

ส่วนที่ 7 วิเคราะห์ข้อมูล CBD

 รูปภาพ:หน้าปกรูปเล่มการรายงานผลการดําเนินงานประจำตำบล

7.การเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ลงCBD(เพิ่มเติม)

 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด

  2.แหล่งท่องเที่ยว

 3.ที่พัก / โรงแรม

 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น

 5.อาหารที่น่าสนประจำถิ่น

 6.เกษตรกรในท้องถิ่น

 7.พืชในท้องถิ่น

 8.สัตว์ในท้องถิ่น

 9.ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

 

        ทางทีมงานตำบลยายแย้มวัฒนาได้จัดทำวีดิโอขึ้น เพื่อเสนอให้เห็นภาพบรรยากาศภายในชุมชน ความสามัคคีของคนในชุมชน ความสามารถและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ซึ่งจะเห็นว่าตำบลยายแย้มวัฒนาเป็นตำบลที่น่าอยู่ ชาวบ้านรักใคร่กลมเกลียวกันดี ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทีมงานต้องขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ขอบคุณชาวบ้านตำบลยายแย้มวัฒนาที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับตำบลยายแย้มวัฒนา และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้าน เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชนต่อไป

วิดีโอของตำบลเดือนธันวาคม

 

อื่นๆ

เมนู