ข้าพเจ้านางสาววิมล พูนยิ่งยง ประเภทนักศึกษา โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) 1 ตำบล 1 มหาลัย โดยรับผิดชอบในส่วนของตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ในการปฎิบัติเดือนธันวาคม
การทำงานประชุมร่วมกับทางทีมงาน สรุปงานในเดือนพฤศจิกายน วิเคราะห์ปัญหาที่พบเจอในระหว่างทำงาน และหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆร่วมกัน โดยผ่านการเข้าร่วมประชุมออนไลน์กับคณะอาจารย์ประจำตำบลยายแย้มวัฒนา เกี่ยวกับแผนงานในเดือนธันวาคม
โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T)
โครงการ U2T รวบรวมนักศึกษา อาจารย์ จากมหาวิทยาลัย ทั่วประเทศ ร่วมกับประชาชน เพื่อลงพื้นที่ทํางานชุมชนพร้อมกัน เชน่ การจัดทําข้อมูลชุมชนในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตําบลนั้น ๆ พร้อมสร้างแผนพัฒนา เพื่อยกระดับ เศรษฐกิจและสังคม ระบบที่สามารถอํานวยความสะดวกในการบันทึก ข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆจึงเป็นสิ่งสําคัญช่วยให้ผปู้ฏิบัติงานลงพื้นที่ สามารถเก็บข้อมูลตา่งๆในแต่ละชุมชนได้อยา่งสะดวกมากยิ่งขึ้นโดย ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนําไปจัดเก็บยังระบบบริหารจัดการข้อมูล ขนาดใหญ่ เพ่ือนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
ระบบจัดเก็บข้อมูล U2T
ระบบจัดเก็บข้อมูล U2T จะเข้ามาอํานวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลที่มี ความเฉพาะเจาะจงกับแต่ละพื้นที่หรือแต่ละสาขา โดยเน้นความยืดหยุ่นและ ความสะดวกต่อการลงพื้นที่ให้มากท่ีสุด คุณลักษณะของระบบ มีดังน้ี
สามารถบันทึกและจัดเก็บข้อมูลหลากหลายแขนงได้โดยสะดวก
รองรับอุปกรณ์หลากหลายขนาด ทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS Android Windows เป็นต้น
สามารถบันทึกและจัดเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน ตรงตามแบบฟอร์ม ท่ีถูกกําหนดไว้
สามารถเรียกดูประวัติข้อมูลท่ีแต่ละผู้ปฏิบัติงานบันทึกไว้ ด้วยตนเองได้
สามารถแก้ไข เพิ่มเติม หรือลบข้อมูลท่ีตนเองเป็นผู้บันทึกได้
โดยลิ้งค์ในการกรอกข้อมูลคือ https://cbd.u2t.ac.th/auth
การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อลงในระบบ CBD และได้ทำการสรุปผลการปฎิบัติงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งมีทั้งหมด 8 ส่วนที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำในการสรุปผลการปฎิบัติงาน ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลตามหัวข้อในระบบ CBD มีทั้งหมด 10 ข้อ ได้แก่
1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
2. แหล่งท่องเที่ยว
3. ที่พัก/โรงแรม
4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
6. เกษตรกรในท้องถิ่น
7. พืชในท้องถิ่น
8. สัตว์ในท้องถิ่น
9. ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น
pจากการไปสำรวจเพื่อจากการไปสำรวจเพื่อกรอกข้อมูลในระบบ cbd นี้ไม่ใช่เพียงได้ทราบข้อมูลเป็นเพียงเบื้องต้น แต่ยังได้สัมผัสถึงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน เช่นเมื่อเราไปวัดระดับของแหล่งน้ำอุณหภูมิในน้ำเราต้องวัดในสภาพพูมิอากาศ ช่วงเช้า เที่ยง และเย็น ทำให้เห็นข้อแตกต่างความบริสุทธิ์อากาศที่ดีของชุมชนในบริเวณนั้นนั้นมากยิ่งขึ้น ในเรื่องของการสำรวจเกี่ยวกับอาหารได้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน รูปแบบของอาหารรสชาติความอร่อย สามารถกลับไปอุดหนุนได้อีกและแนะนำให้ผู้คนที่สนใจมารับประทานได้ อีกทั้งยังมีรีสอร์ทรองรับการท่องเที่ยวทำให้เกิดการท่องเที่ยวในชุมชนได้ด้วย เพราะในรอบรอบสถานที่ของตำบลยายแย้มวัฒนานี้ มีภูเขาให้เที่ยวเยี่ยมชม มีทุ่งนาสีเขียวขจีอันสวยงามถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีอีกที่หนึ่งได้เช่นกัน
จากการปฎิบัติงานประจำเดือนธันวาคมนี้ขอขอบคุณท่าน อาจารย์ ที่ปรึกษาของโครงการ U2T คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ได้มาร่วมโครงการและให้ความรู้อย่างดีขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทีม และชื่นชมทีมงาน U2T ทุกคน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน โดยเริ่มจากผู้นำชุมชน โดยในกิจกรรมครั้งนี้ ทุกคนได้ออกพลัง ออกแรง ใช้ความคิด ช่วยกันบริหารจัดการเวลาได้เหมาะสม ซึ่งแสดงให้เห็นอีกอย่างนึงว่าทีม U2T เรา ได้แสดงความตั้งใจ ให้คนในชุมชนได้เห็นว่าเราพยายามที่จะมาช่วยพัฒนาชุมชนให้เกิดขึ้นจากการรวมพลัง ผสานพลัง ซึ่งจะก่อนให้เกิดการพัฒนที่ยั่งยืนในชุมชน