ดิฉันนางสาวชญานิษฐ์ ทวีพวงเพชร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทำหน้าที่รับผิดชอบตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ได้มีการจัดพัฒนาอบรมพัฒนาองค์ความรู้ทั้งหมด 3 กิจกรรม ดังนี้ 1.กิจกรรมจิตอาสาร่วมกับชุมชน โดยการทำความดีพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนและการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด 2. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการสร้างสตอรี่แบรนด์ดิ้ง (Story Branding) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนผ่านการนำเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าในสตอรี่แบรนด์ดิ้ง และ 3. การพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet เพื่อดำเนินการอธิบายรายละเอียดของกิจกรรมที่จะถูกจัดขึ้นซึ่งในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม 2564 ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้ทั้งหมด 2 กิจกรรม และบำเพ็ญประโยชน์ 1 กิจกรรม
ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการติดต่อประสานงานร่วมกับผู้นำชุมชนเกี่ยวกับกิจกรรม “กิจกรรมจิตอาสาร่วมกับชุมชน โดยการทำความดีพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนและการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด” ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมจิตอาสา โดยการร่วมกันทำความสะอาดวัดสำราญราษฎร์-โนนสำราญ โดยช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถูบริเวณศาลาวัด และขัดถูห้องน้ำภายในวัด กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เพราะในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ณ วัดสำราญราษฎร์-โนนสำราญ จะมีการจัดงานทอดกฐินและร่วมทำโรงทาน คณะอาจารย์ผู้ดูแลประจำตำบลถลุงเหล็ก และทีมงาน U2T ประจำตำบลถลุงเหล็ก ได้มีการร่วมบริจาคหลอดไฟ เสาไฟ และอุปกรณ์ทำความสะอาดให้แก่วัด
ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวในตำบลถลุงเหล็ก ซึ่งได้มีการวางแผนดำเนินการสร้างทริปท่องเที่ยวร่วมกับชุมชน โดยจะมีการแบ่งกลุ่มเพื่อดำเนินการประสานงานและดูแลในส่วนต่างๆ ซึ่งแบ่งได้ 4 ทีม ดังนี้ 1.ทีมสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อสำรวจระยะทางและการคำนวณเวลาการเดินทางที่พอเป็นไปได้มากที่สุด 2. ทีมอาหาร เป็นฝ่ายจัดสรรดูแลอาหารและเครื่องดื่มให้กับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยี่ยมชม 3.ทีมโปสเตอร์ เพื่อประกาศเชิญชวนการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือช่องทางออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคในปัจจุบัน 4.ทีมอำนวยการ ซึ่งข้าพเจ้าอยู่ทีมนี้เพื่อดำเนินการติดต่อประสานงานต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กิจกรรมและอาหารที่น่าสนใจในชุมชนที่น่าจะนำมาเสนอให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเพื่อสัมผัสประสบการณ์แบบ Exclusive ร่วมกับคนในชุมชน ซึ่งอาหารที่จะใช้ในทริปท่องเที่ยวครั้งนี้คือ แกงหยวกกล้วยใส่ไก่ แกงยอดอ้อย ห่อหมกหน่อไม้ใส่หมู น้ำพริกปลาทูผักสด ส้มตำ ปลาส้มทอด เครื่องดื่มได้แก่ น้ำอ้อย น้ำอัญชัน และ น้ำใบเตย จะเป็นอาหารประจำถิ่นสำหรับมือเที่ยง ในทริปที่จะถูกจัดขึ้นนี้จะมีการจัดฐานการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนจำนวน 2 ฐาน ได้แก่ ฐานการทำกระถางปูนซีเมนต์ และฐานการทอผ้าไหม จากหมี่ และภายในวันนั้นจะมีการจัดนิทรรศการบูทสินค้าของชุมชนอีกด้วย โดยมีสินค้าดังนี้ 1. ผลิตภัณฑ์เสื่อกก 2. ผ้าไหม 3. ข้าวแต๋น 4. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าท้องถิ่น 5. ไม้ประดับ และ 6. น้ำอ้อย ณ วัดสำโรง ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมงาน U2T ได้ลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อจัดเตรียมสถานที่ ตามฐานต่างๆและจัดเตรียมสถานที่ภายใน วัดสำโรง ซึ่งในช่วงเช้า คณะอาจารย์ดูแลประจำตำบลถลุงเหล็ก ได้ร่วมลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ต่างๆ คร่าวๆ สำหรับการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยี่ยมชมในครั้งนี้ และในช่วงบ่ายได้จัดเตรียมสถานที่และตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้ง
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. นักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง ณ ศาลาประชาคมหมู่ 16 บ้านโนนสำราญ หลังจากที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงก็ได้รับการต้อนรับโดยเครื่องดื่ม Welcome drink (น้ำอ้อย) หลังจากนั้น นักท่องเที่ยวจึงเริ่มเดินทางไปที่ฐานการกระถางปูนซีเมนต์ จะเดินทางโดยการนั่งรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง ซึ่งฐานกระถางเป็นฐานของคุณพ่อพรมมา นันทพันธ์ ซึ่งในฐานนี้สามารถให้นักท่องเที่ยวสามารถลองทำกระถางได้ โดยคุณพ่อจะเป็นคนสอนนักท่องเที่ยงทำกระถางด้วยตัวท่านเอง ต่อมา เวลา 10.00 น. นักท่องเที่ยวก็ได้เดินทางไปยังฐานทอผ้าไหม เพื่อชมวิธีการทอผ้าไหม โดยจะมีการสาธิตย้อมไหม เกไหม มัดหมี่ และเข้าหลอด เวลา 11.30 น. เบรกดื่มน้ำอัญชัน ต่อมาเวลา 11.40 น. เดินทางชมวิถีการดำเนินชีวิตชาวตำบลถลุงเหล็ก โดยรถจักรยานยนต์พ่วงข้างไปยังวัดสำโรง เดินทางถึงเวลา 12.00 น. หลังจากนั้นไหว้พระ ณ วัดสำโรง และรับประทานอาหารประจำท้องถิ่นจากชุมชน และเลือกชมเลือกซื้อสินค้าของดีประจำตำบลถลุงเหล็ก และ เวลา 13.30 น. นักท่องเที่ยวเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อทำการเชิญชวนผู้เข้าร่วมอบรมที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 3 – 5 ธันวาคม 2564 เกี่ยวกับกิจกรรมอบรมการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอท้องถิ่น ในวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ทีมงาน U2T ประจำตำบลถลุงเหล็ก จัดสถานที่ ณ ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่ 4 – 5 ธันวาคม 2564 เวลา 08:30 น. รถโดยสารที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ออกเดินทางไปรับผู้เข้าร่วมอบรม ณ ศาลาประชาคม หมู่ 16 บ้านโนนสำราญ เพื่อเดินทางไปอบรม ได้เดินทางมาถึงมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เพื่อเข้าร่วมอบรม ณ ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยวิทยากรที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผ้าคือ นางอมรรัตน์ สุขจิตต์ มีหัวข้อการอบรมดังต่อไปนี้
- หลักสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอ
- . เทคนิคการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น
- การเรียนรู้องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับจากสิ่งทอ
- กระบวนการสร้างงานผ้าทอท้องถิ่น
- ฝึกปฏิบัติการ การออกแบบและการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น
โดยการอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ทำการตัดเย็บแปรรูปผ้าจำนวน 3 ชิ้นงาน คือ เสื้อ กระเป๋าสตางค์ขนาดเล็ก และ กระเป๋าถือขนาดใหญ่
การลงพื้นที่ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้านในตำบลถลุงเหล็กที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการประสานงานต่างๆ และประชาสัมพันธ์ และได้รับความร่วมมือกับผู้เข้าร่วมอบรมเป้นอย่างดีและขอขอบคุณโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ คณะอาจารย์ และวิทยากรที่ได้มาให้ความรู้ในครั้งนี้
จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าภายในชุมชนได้มีการสร้างมาตราการป้องกัน COVID – 19 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อจากโรคระบาด และทำให้เรียนรู้การทำงานร่วมกับสมาชิกในทีมและชุมชนมากยิ่งขึ้และได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นจากการจัดทริปท่องเที่ยว และจากการแปรรูปผ้าเพื่อให้ห็นความสำคัญของสินค้าจากการแปรรูปเพื่อนำมาใช้ประโยชน์