1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED02 - ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. ED02 การพัฒนาเชิงปฏิบัติด้านการบริหารงานอย่างเป็นธรรมในองค์กร และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านทักษะอาชีพในชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนธันวาคม

ED02 การพัฒนาเชิงปฏิบัติด้านการบริหารงานอย่างเป็นธรรมในองค์กร และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านทักษะอาชีพในชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนธันวาคม

ข้าพเจ้า นางสาวภาคิณี อึงชัยศรี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

งานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม ทางคณาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดหมายการประชุม และมอบหมายหน้าที่แก่ผู้ปฏิบัติงานผ่านทางระบบออนไลน์ (google meet) งานที่ได้มอบหมาย คือ การจัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารงานอย่างเป็นธรรมในองค์กร และการลงมือทำความดีให้ชุมชน และสังคมยอมรับ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านทักษะทางอาชีพในชุมชน และแนวทางการสร้างรายได้จากพริกแกง

การพัฒนาเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารงานอย่างเป็นธรรมในองค์กร และการลงมือทำความดีให้ชุมชน และสังคมยอมรับ ระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2564 โดยมีนางสาววรวิษฎา แต้มโคกสูง นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ มาเป็นวิทยากร ได้ให้ความรู้ในหัวข้อการบริหารจัดการงาน สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และแนวทางการทำความดีในบทบาทของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเริ่มจากการเริ่มทำความดีจากตัวเราเอง เช่น การให้เกียรติ และเคารพซึ่งกันและกัน, การมีความเห็นอกเห็นใจกัน, การมีความซื่อสัตย์ และความจริงใจต่อกัน, การรู้จักและให้อภัยกันและกัน, การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนหรือสังคมที่ตนอยู่ เป็นต้น ต่อด้วยห้วข้อการทำความดีในบทบาทของกลุ่มวิสาหกิจ เริ่มจาก 1.กำกับดูแล และบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส 2.ส่งเสริมจริยธรรมองค์กร และปฏิบัติตามกฏข้อบังคับ 3.การให้ความสำคัญกับความปลอดภัย 4.การรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 5.การสร้างระบบการบริหาร และจัดการความเสี่ยง 6.การสื่อสารสร้างความเข้าใจอันดี 7.การร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นด้านสังคม ผ่านการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ 8.การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และการพัฒนาบุคลากร 9.การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจ ในช่วงสุดท้ายวิทยากรได้ให้คณะผู้ปฏิบัติงานแบ่งกลุ่ม และระดมความคิดตอบคำถาม “การลงมือทำความดีให้ชุมชน และสังคมยอมรับ ทำได้อย่างไร เมื่อไหร่ และเพื่ออะไร”

       

การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านทักษะทางอาชีพในชุมชน และแนวทางการสร้างรายได้จากพริกแกง ระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2564 ในวันแรกมีนายหอม หะทัยทาระ ปราชญ์ชาวบ้านด้านพืชสมุนไพรไทย หมู่ 12 บ้านง้าง มาเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่ตนได้ศึกษามาอย่างยาวนานที่สามารถรักษาโรค หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ ในต่อมาคณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหาร และแปรรูป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คือ ผศ.ดร.จิตตะวัน กุโบลา, ดร.จตุพัฒน์ สมัปปิโต, อ.ชุลีพร บุ้งทอง และ อ.เพียรพรรณ สุภะโคตร มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ถึงแนวทางในการสร้างรายได้จากพริกแกง รวมถึงการเข้าตรวจสอบแบบเบื้องต้นในโรงเรือนการผลิตพริกแกงที่ได้ทำแล้วเสร็จ ได้แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือเพิ่มเติมที่ต้องใช้ในการผลิตพริกแกงเพื่อให้ได้มาตรฐาน

       

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่ได้ให้ความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพบ้านผักบุ้งให้ดียิ่งขึ้นไป

อื่นๆ

เมนู