ข้าพเจ้านางสาวสุภาลักษณ์ อ่อนรัมย์ ประเภทประชาชน
ผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมราบตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานที่ม.6 บ้านหนองเรือ ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ. บุรีรัมย์
ปฏิบัติงานประจำเดือน ธันวาคม ระหว่างวันที่ 7 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2564

 

          ในระหว่างวันที่ 7 – 9 พ.ย. ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานที่ มี. 6 บ้านหนองเรือ ต. ถลุงเหล็ก เพื่อเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม วันที่ 10 พ.ย. 2564 ทีมงานผู้ปฏิบัติงาน U2T. ต. ถลุงเหล็ก ได้ทำการประชุมเพื่อวางแผนการจัดโปรแกรมทัวร์ชุมชนสายยาวของตำบลถลุงเหล็ก วันที่ 11 พ.ย. 64 ได้ทำการแบ่งกลุ่มสายงานการรับผิดชอบการปฏิบัติงานดังนี้
1. ทีมงานกองอำนวยการ – ต้อนรับ
2.ทีมงานการสำรวจพื้นที่ – สถานที่
3. ทีมงานโปรโมท – ประชาสัมพันธ์
4. ทีมงานดูแลเรื่องอาหาร
ซึ่งข้าพเจ้าได้อยู่ในทีมงานรับผิดชอบเรื่องอาหารต้องทำการจัดเตรียมต่างๆดังนี้
1. เตรียมอาหารเบรค – น้ำอ้อย
2. อาหารกลางวัน
– แกงยอดอ้อย
– แกงหยวกกล้วย
– ห่อหมกหน่อไม้ไก่บ้าน
– น้ำพริกปลาทู ผักสดพื้นบ้าน
– ปลาส้มทอด
เสริมด้วย
– ส้มตำ
– ปูนานึ่ง

          วันที่ 17 พ.ย. 2564 คณะอาจารย์ผู้ดูแลโครงการและทีมงาน U2T. ผู้ปฏิบัติงาน ต. ถลุงเหล็ก ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับชุมชนโดยการทำความดีพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนและจัดการขยะให้ถูกที่ ให้ถูกสุขลักษณะ และจัดเตรียมสถานที่ทำบุญทอดกฐินประจำปี 2564 ณ วัดโนนสำราญ คณะอาจารย์ผู้ดูแลและทีมงานU2T. ได้ร่วมทำบุญประเพณีทอดกฐินประจำปีนี้และได้ร่วมกันทำโรงทาน ณวัดโนนสำราญ ม. 16 ต. ถลุงเหล็ก อ. เมือง จ. บุรีรัมย์

 

การจัดเตรียมสถานที่มีการมาจัดในวันที่ 18 พ.ย. 64 ทีมงาน U2T. ต. ถลุงเหล็กได้มาจัดสถานที่ ณ วัดสำโรง เพื่อเตรียมการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยี่ยมชมชุมชนต. ถลุงเหล็ก วันที่ 19-20 พ.ย. 64 คณะอาจารย์ผู้ควบคุมดูแลโครงการ และ ทีมงานผู้ปฏิบัติงาน ต. ถลุงเหล็ก ได้ลงพื้นที่เตรียมการ ซ้อมความพร้อมของการต้อนรับนักท่องเที่ยว การดำเนินการเสมือนจริงโดยการจำลองให้ทีมงานประจำจุดความรับผิดชอบที่ตนเองได้รับมอบหมาย

วันที่ 21 พ.ย. 64 เวลา 08.00น ข้าพเจ้าและทีมงานทุกคนประจำจุดที่ได้รับมอบหมายเพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่กำลังเดินทางมาเที่ชมชุม ต. ถลุงเหล็กตามโปรแกรมที่ทีมงานU2T. ผู้ปฏิบัติงานได้จัดทำขึ้นดังนี้

09.00น นักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงที่จุดต้อนรับ ณ ศาลาประชาคม ม. 16 บ้านโนนสำราญ ได้ให้ทุกท่านได้ เช้าห้องน้ำ ทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย

09.20 น. ทีมงานต้อนรับกล่าวต้อนรับและนำนักท่องเที่ยวขึ้นรถท่องเที่ยวโดยใช้รถมอเตอร์ไซด์พ่วงข้างไปยังฐานแรกคือการทำกระถางปูน ได้ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้ลงมือทำเอง

10.00 น. เดินทางไปยังฐานต่อไปคือการทอผ้าไหม ชมวิธีการทอผ้าไหม หลังจากนั้นทานเบรคที่ทีมงานเตรียมไว้ให้คือน้ำอัญชัน

10.50 น. เดินทางต่อไปเพื่อเยี่ยมชมวิถีชีวิตชาวบ้านชุมชนสายยาว ไร่อ้อยช้างทางกับการเดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง

11.15 น. มาถึงวัดสำโรง ทีมงานกล่าวต้อนรับและนำนักท่องเที่ยวเข้าไปไหว้พระประธานที่ศักดิ์สิทธิ์และร่วมสัมผัสบรรยากาศ ประเพณีทำบุญทอดกฐินประจำปี 2564

11.30 น. เดินทางเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์และเลือกซื้อสินค้าของดีประจำ ต. ถลุงเหล็ก

12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันเป็นอาหารประจำท้องถิ่น ที่ทีมงานได้จัดเตรียมไว้สำหรับนักท่องเที่ยวอาหารกลางวันที่จัดไว้มีดังนี้
– แกงยอดอ้อย
– แกงหยวกกล้วย
– ห่อหมกหน่อไม้ไก่บ้าน
– น้ำพริกปลาทู ผักสดพื้นบ้าน
– ปลาส้มทอด
เสริมด้วย
– ส้มตำ
– ปูนานึ่ง

13.30 น. หลังจากนั้นนักท่องเที่ยวทีมงานส่งนักท่องเที่ยวเดินทางกลับไปยังจุดรวมตัว และเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ จากการจัดกิจกรรมนี้ได้รับคำชมจากนักท่องเที่ยว

ในวันที่ 26 พ.ย. 2564 อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลโครงการได้นัดประชุมทีมงานU2T. ต. ถลุงเหล็ก เพื่อวางแผนและเตรียมงานการจัดอบรมครั้งต่อไปในหัวข้อเรื่องการพัฒนารูปแบบสินค้าผ้าท้องถิ่น ซึ่งจะมีการจัดอบรมในระหว่างวันที่ 3-5 ธ.ค. 2564 อาจารย์จึงได้ออกหนังสือเพื่อเชิญชวนชาวบ้านเข้าอบรม

สถานที่จัดอบรมนั้นจัดที่ ห้องปฏิบัติงาน 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อ.เมือง จ. บุรีรัมย์ หลังจากนี้ทีมงานU2T ต. ถลุงเหล็ก จึงนัดประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานเรื่องการจัดสถานที่, การลงพื้นที่เชิญชวนชาวบ้านที่สนใจเข้าอบรม,การเดินทางเข้าไปอบรม ในวันที่ 27- พ.ย.-2 ธ.ค. 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อนำส่งหนังสือให้กับผู้ชุมชนม.6 บ้านหนองเรือ เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมในกิจกรรมนี้ วันที่ 3 ธ.ค. 2564 อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลและทีมงานในโครงการร่วมกันจัดสถานที่ ณ ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อ. เมือง จ. บุรีรัมย์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมการอบรมในวันที่ 4-5 ธ.ค. 2564 ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย

วันที่ 4 ธ.ค. 2564 จัดการอบรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่นณ. ห้องปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
08.30 น. ผู้เข้าอบรมเริ่มลงทะเบียน
09.00 น. เริ่มอบรม ได้เชิญ อ. อมรรัตน์ สุขจิตต์มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆดังนี้
1. หลักสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอท้องถิ่น
2. เทคนิคการตัด เย็บผ้าทอท้องถิ่น
3. องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับจากสิ่งทอ
4. กระบวนการสร้างงานผ้าทอท้องถิ่น
ต่อมาในวันที่ 5 ธ.ค. 2564 ทำการอบรมต่อ
08.30 น. ผู้เข้าอบรมเริ่มลงทะเบียน
09.00นเริ่มอบรมโดยในวันนี้อาจารย์วิทยากรได้ให้ผู้เข้าอบรมได้ร่วมลงมือฝึกปฏิบัติการออกแบบ การตัด เย็บ ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์
วิทยากรได้มี pattern เสื้อให้มี size S , M, L และ XL และกระเป๋ามาให้ผู้เข้าอบรมได้ช่วยกันตัด เย็บชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ ผลงานออกมาเป็นเสื้อ 1 ตัว และกระเป๋าคนละ 2 ใบได้นำกลับบ้านด้วย ในการอบรมครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ และได้ลงมือปฏิบัติ ซึ่งสามารถทำได้และนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพเพื่อทำให้มีรายได้เสริมกับตนเองและครอบครัว

 

 

อื่นๆ

เมนู