ดิฉันชื่อ นางสาวสุรางคณา เข็มขัด เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้รับผิดชอบพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แผนการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคมจะจัดอบรมการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับชุมชน โดยมีกิจกรรม 3 กิจกรรมดังนี้

1.กิจกรรมจิตอาสา ร่วมกับชุมชนทำความดีพัฒนาชุมชนและการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด โดยจัดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564

2. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการสร้างสตอรี่แบรนด์ดิ้ง(Story branding) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนผ่านการเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าในสตอรี่แบรนด์ดิ้ง จัดขึ้นในวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564

3. การพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น จัดขึ้นในวันที่ 3-5 ธันวาคม 2564

          โดยในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เวลา 16.00 น. อาจารย์ผู้ดูแลตำบลและทีมงาน U2T ได้ร่วมกันประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google meets เพื่อวางแผนงานและแบ่งหน้าที่ในการทำงาน  ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ดิฉันและทีมงาน U2T ตำบลถลุงเหล็ก ได้ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับชุมชน โดยการทำความดีพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน และการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด ที่วัดโนนสำราญ-สำราญราษฎร์ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยช่วยกันทำความสะอาดทั้งกวาดพื้น ถูพื้น จัดโต๊ะ จับผ้า ล้างห้องน้ำ กวาดใบไม้บริเวณวัด ตกแต่งกิ่งไม้ และช่วยชาวบ้านจัดสถานที่เตรียมงานบุญกฐินสามัคคี ทีมงานทุกคนช่วยกันเป็นอย่างดี

          วันต่อมาทีมงาน U2T ตำบลถลุงเหล็ก ได้ร่วมงานทอดกฐินกับชุมชนที่วัดสำราญราษฎร์ โดยท่านอาจารย์ผู้ดูแลตำบลและทีมงาน U2T ก็ได้ร่วมบริจาคหลอดไฟ เสาไฟ และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ให้กับวัด พร้อมทั้งร่วมทำบุญต้นกฐินเพื่อมอบเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้กับวัด โดยในงานก็จะมีโรงทานของชาวบ้านมากมายมาร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งอาจารย์และทีมงาน U2T ตำบลถลุงเหล็กก็ได้ร่วมทำโรงทานด้วย ซึ่งมีน้ำส้ม ขนมโดนัท ขนมปัง และน้ำหวานต่าง ๆ มาร่วมแบ่งปันในงานทอดกฐิน

          ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ทีมงานU2T นัดกันจัดสถานที่ ณ วัดสำโรง เพื่อเตรียมสถานที่ในการตั้งบูธต่างๆและที่รับประทานอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวในชุมชนตำบลถลุงเหล็ก วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ทีมงาน U2T ได้นัดกันไปดูสถานที่ที่วัดสำโรง เพื่อเตรียมสถานที่ในการตั้งบูธสินค้าต่าง ๆ และพื้นที่รับประทานอาหารของนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวในชุมชนตำบลถลุงเหล็ก ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ในช่วงเช้าอาจารย์ผู้ดูแลตำบลก็ได้ลงพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก เป็นการทดลองท่องเที่ยวชุมชนก่อนจะมีการจัดท่องเที่ยวจริง อาจารย์มีการเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อตรวจตราความเรียบร้อยของแต่ละฐานว่ามีข้อบกพร่องตรงส่วนไหนและให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข เป็นการประเมินกิจกรรมว่าเหมาะแก่การต้อนรับนักท่องเที่ยวได้หรือไม่ การแบ่งหน้าที่การทำงานของทีมงาน U2T แบ่งออกเป็น 4 ทีมด้วยกัน ทีมละ 5 คน ได้แก่ 1) ทีมสำรวจพื้นที่ท่องเที่ยวและฐานการเรียนรู้ 2) ทีมอาหาร 3) ทีมโปสเตอร์ และ 4) ทีมอำนวยการ ซึ่งดิฉันได้อยู่ในทีมทำกระถาง ได้ลงพื้นที่ประสานงานติดต่อฐานกระถางไว้สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว

          ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00-09.20 น. นักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง ณ ศาลาหมู่ 16 บ้านโนนสำราญ Welcome drink(น้ำอ้อย) นักท่องเที่ยวเข้าห้องน้ำทำธุระส่วนตัวเสร็จ เวลา 09.20 น. เริ่มเดินทางไปที่ฐานการถางปูนซีเมนต์ เดินทางโดยการนั่งรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง จำนวน 3 คัน/3คน เข้าฐานกระถางปูนซีเมนต์ โดยคุณตาพรมมา เป็นผู้ที่คิดค้นลองผิดลองถูกทำมาตั้งแต่ปี 2547 ทำบ่อยๆ แล้วคุณตาเข้าใจจึงทำขาย มีตั้งแต่ขนาด 40-2 เมตร นักท่องเที่ยวเริ่มทำกระถางปูนซีเมนท์ โดยเริ่มจากการสวมถุงมือก่อนและใส่ผ้ากันเปื้อนแล้วนำแบบแกนมาวางไว้บนแผ่นไม้ที่จัดเตรียมไว้ และนำทรายมาใส่ให้ท่วมแบบแกนจากนั้นปั้นทรายให้พอดีกับแบบแกน ระหว่างปั้นให้ฉีดน้ำพรมทรายด้วย เพื่อป้องกันทรายแตก ทำแบบขึ้นรูปทรายวนให้เป็นทรงกระถาง ผสมปูนกับน้ำให้เข้ากันแล้วตักปูนใส่ถังนำปูนตักเทลงจากด้านบนและด้านข้างให้รอบนำปูนฉาบด้านข้างให้ทั่วแล้วนำแบบขึ้นรูปปูนวนให้รอบเสร็จแล้วผสมปูนโดยใช้ทรายละเอียด ให้เหลวพอประมาณตักราดบนกระถางที่เราทำไว้แล้วนำแบบขึ้นรูปปูนมาวนให้เรียบ เช็ดทำความสะอาดด้านข้าง ตั้งทิ้งไว้ให้แห้ง ค่อยๆแกะออกก็จะได้กระถางตามต้องการ ส่วนการลงสีคุณตาพรมมา ก็เลือกลงสีตามใจลูกค้าที่สั่งมาตามออร์เดอร์

          เวลา 10.00 น. นักท่องเที่ยวก็ได้เดินทางไปยังฐานทอผ้าไหมมัดหมี่  เวลา 11.35 น. เบรกดื่มน้ำอัญชัน ต่อมาเวลา 11.40 น. เดินทางชมวิถีชาวบ้านสายยาว โดยรถพ่วงข้างไปยังวัดสำโรง เดินทางถึงเวลา 12.00 น. ไหว้พระที่วัดสำโรงจากนั้นร่วมทอดกฐินประจำปีของชาวบ้าน ณ วัดสำโรง รับประทานอาหารท้องถิ่นจากชุมชนสายยาวเป็นอาหารท้องถิ่นของตำบลถลุงเหล็ก ได้แก่ แกงหยวกกล้วยใส่ไก่ แกงยอดอ้อย ห่อหมกหน่อไม้ใส่หมู น้ำพริกปลาทูผักสด ปลาส้มทอด ปูนานึ่ง ส้มตำ น้ำใบเตย และผลไม้คือ ฝรั่งสด แล้วเลือกชมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของดีประจำตำบลถลุงเหล็ก เวลา 13.30 น. ส่งนักท่องเที่ยวเดินทางกลับไปยังศาลาหมู่ 16 แล้วเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

           วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ได้รับหนังสือจากอาจารย์ แล้วนำไปส่งให้กับทางผู้ใหญ่บ้านให้ท่านประชาสัมพันธ์ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมการพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น จัดขึ้นในวันที่ 3-5 ธันวาคม 2564 ให้คนในชุมชนผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรม

          ในวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ทีมงานU2T นัดกันจัดสถานที่ ณ ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ช่วยกันจัดโต๊ะ เก้าอี้ เก็บกวาด เช็ดถู เตรียมพร้อมในการอบรมในวันต่อไป ในวันที่ 4-5 ธันวาคม 2564 เวลา 07.30 รถทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ออกเดินทางมารับผู้เข้าร่วมอบรม ณ ศาลา หมู่ 16 บ้านโนนสำราญ เพื่อเดินทางไปอบรม ณ ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เวลา 08.00-17.30 น. ร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม โดยมีหัวข้อการอบรมดังต่อไปนี้ 1.หลักสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอ 2.เทคนิคการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น 3.การเรียนรู้องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับจากสิ่งทอ 4.กระบวนการสร้างงานผ้าทอท้องถิ่น 5.ฝึกปฏิบัติการ การออกแบบและการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น โดยวิทยากร นางอมรรัตน์ สุขจิตต์ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี้

1.เตารีดและแผ่นรองรีด

2.ที่เลาะผ้า

3.ชอล์ก เพื่อทำจุดกำหนดบนผืนผ้า

4.การกรรไกร

5.กระดาษลอกลายสำหรับการทาบแพทเทิร์น

6.ไม้บรรทัดสำหรับวัดเวลาประกอบชิ้นส่วน

7.สายวัด 8.เข็มเพื่อปักตรึงผ้าให้อยู่ในตำแหน่งก่อนจะเริ่มเย็บ

9.จักรเย็บผ้า หลังจากเตรียมอุปกรณ์ต่างๆครบแล้วก็ทำการเย็บตามขั้นตอนต่างๆไม่ว่าจะเป็นการตัดเย็บเสื้อและกระเป๋าที่ออกแบบได้สมบูรณ์และสวยงาม

 

อื่นๆ

เมนู